Nowcasting 101
ท่านผู้อ่านอาจเคยได้ยินคำว่า Nowcasting มาบ้าง คำๆ นี้มีความหมายและน่าสนใจอย่างไร
จะขอนำมาเล่าให้ฟังในบทความนี้ค่ะ
Nowcasting มาจากคำว่า Now+Forecasting ซึ่งปกติแล้วการทำ Forecasting จะเป็นการนำข้อมูล ในช่วงเวลาก่อนหน้ามาใช้คาดการณ์ Economic Indicator ในช่วงเวลาถัดไป แต่การทำ Nowcasting เป็นการใช้ข้อมูลในช่วงเวลาปัจจุบันมาใช้คาดการณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน โดย Choi and Varian (2009) อธิบายว่ามันคือการ “Predicting the Present” หรือคือการ “คาดการณ์ปัจจุบัน”
จะขอยกตัวอย่างการทำ GDP Nowcasting มาอธิบายปกติตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น GDP ซึ่งปกติแล้วตัวเลข GDP จะมีองค์ประกอบหรือมีความเกี่ยวพันกับ Economic Activities เช่น ตัวเลขด้านการผลิต ตัวเลขการค้าต่างประเทศ หรือที่เกี่ยวกับตลาดแรงงานซึ่งตัวเลขเหล่านี้อาจถูกจัดเก็บในช่วงเวลาที่ถี่กว่า เช่น เป็นรายเดือน หรืออาจถูกรวบรวมและประกาศออกมาได้ก่อนตัวเลข GDP ของไตรมาสนั้นๆ เพราะฉะนั้นหากอยากรู้ตัวเลข GDP ของไตรมาสนี้ในตอนนี้ (ก่อนที่ตัวเลขจริงจะออกมา) ก็สามารถนำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ซึ่งเป็นข้อมูลของไตรมาสนี้ มาช่วยในการคาดการณ์ GDP ของไตรมาสนี้ได้
โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา Federal Reserve Bank of Atlanta ได้คิด Nowcasting Model ของ GDP เรียกว่า GDPNow(https://www.frbatlanta.org/cqer/research/gdpnow.aspx) โดยใช้หลักการของ Nowcasting ตามที่อธิบายข้างบนมาคาดการณ์ GDP ในไตรมาสปัจจุบัน และจะทำการ Update เรื่อยๆ เมื่อ Economic Data ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องถูกทยอยประกาศออกมา
เมื่อไม่นานนี้ Federal Reserve Bank of New York ก็ได้คิด Nowcasting Model ของ GDP เรียกว่า FRBNY Nowcast (https://www.newyorkfed.org/research/policy/nowcast) ออกมาแข่ง โดยยังใช้หลักการของ Nowcasting แต่มีรายละเอียดที่ต่างออกไปจาก Model ของ Federal Reserve Bank of Atlanta โดย FRBNY Nowcast นี้จะถูก Update ทุกๆ วันศุกร์
นอกจากตัวเลข GDP แล้ว ยังมีตัวเลขอื่นๆ ที่ถูกนำมา Nowcast เช่น อัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ข้อมูลการ Search Internet ของคนทั่วไปยังสามารถถูกนำมาใช้เป็น Input ของ Nowcasting Model ได้ด้วย เช่น ใช้ Google Trends หรือการนำข้อมูล Public Mood จาก Twitter มาช่วยในการคาดการณ์ Index ในตลาดหุ้น
ทำให้ได้เห็น Nowcasting Model ซึ่งต่อไปอาจถูกพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้นเรื่อยๆ หรือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ที่หลากหลายมากขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม
----------------------
ดร.วรประภา นาควัชระ
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย