Bottom-Up SPACE :การเติบโตสู่ CLMV กรณีศึกษา KRUNGSRI

Bottom-Up SPACE :การเติบโตสู่ CLMV กรณีศึกษา KRUNGSRI

CLMV คือประเทศ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนามซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่นักลงทุนจำนวนมากให้ความสนใจ เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีระดับค

 บริษัทจดทะเบียนบ้านเราก็มีไม่น้อยที่สนใจในตลาด CLMV และใช้เป็นกลยุทธ์หลักสำหรับการเติบโตของบริษัทในอนาคตวันนี้ผมขอยกตัวอย่าง อย่างกรณีศึกษาหุ้น BAYหรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)ที่ทำวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจโดย SPACER รุ่น 1 คุณ SorawisChatunart (ชื่อเฟสบุ๊ค) ซึ่งได้ทำไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา การวิเคราะห์ชุดเต็มนั้น ท่านที่สนใจไปติดตามต่อใน Facebook Group ที่http://bit.ly/SPACE-FINNOMENAครับ Bottom-up SPACE คือแนวคิดการสร้างพื้นที่ด้านการลงทุนด้วยตัวคุณเอง เราเชื่อว่า การวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง ตัดสินใจซื้อขายด้วยตัวเองเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการลงทุนได้ โครงการนี้มีจุดประสงค์ในเรื่องของการศึกษา ไม่ได้เป็นการชี้นำ หรือเป็นการกำหนดมุมมองที่มีต่อหุ้น เราเชื่อว่าการการลงมือทำจริง ฝึกจริง วิเคราะห์จริงจะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการลงทุนได้อย่างแท้จริง 

 

BAY ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (KRUNGSRI) ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายธนาคารใหญ่อันดับ 4 ของโลก MUFG (Mitsubishi UFJ Financial Group โดย BTMU ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ MUFG ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในวันที่ 18 ธันวาคม 2556 และทำการควบรวมสาขาของ BTMU ประจำกรุงเทพฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ KRUNGSRIสำเร็จในวันที่ 5 มกราคม 2558 ทำให้สินทรัพย์ของธนาคารฯ เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ปัจจุบันถือเป็นธนาคารใหญ่ลำดับที่ 5 ของประเทศไทยตามขนาดสินทรัพย์

KRUNGSRIมีแผนธุรกิจในระยะกลางในช่วง 3 ปี ระหว่างปี 2558-2560 โดยกำหนดกลยุทธ์หลักในการมุ่งสู่การเป็นสถาบันการเงินชั้นนำระดับภูมิภาค และเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2559 ได้ขยายธุรกิจเข้าไปยังประเทศกัมพูชา โดยซื้อ HatthaKaksekar Limited (HKL) ซึ่งเป็นสถาบันไมโครไฟแนนซ์รายใหญ่ในประเทศกัมพูชาที่มีใบอนุญาตรับฝากเงินจากประชาชนได้ นอกจากนี้ BTMU ซึ่งเป็นบริษัทแม่มีหุ้นจำนวน 20% อยู่ในธนาคาร VietinBankของเวียดนาม และ KRUNGSRIก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน VietinBankบ้างแล้ว นอกจากนี้ธนาคารฯ ยังได้รับความช่วยเหลือจาก BTMU ในการเข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทนในประเทศพม่าอีกด้วย

 

กลยุทธ์ของหลัก KRUNGSRIจะเน้นสินเชื่อรายย่อยได้แก่

1) บัตรเครดิต: มีจำนวน 7.5 ล้านบัญชี โดยรวมที่รับบริหารให้ Central Credit Card ด้วย ครองมาร์เก็ตแชร์ 14% เป็นอันดับ 1 ของตลาดบัตรเครดิต

2) สินเชื่อส่วนบุคคล: อาทิ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” Car 4 Cash ฯลฯ แต่เดิมจะเน้นสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ ภายหลังได้เพิ่มบริการหลากหลายมากขึ้น อาทิ ประกันวินาศภัย และมีสินเชื่อตลาดสดอีกด้วย ครองมาร์เกตแชร์อันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 27

3) สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มีมาร์เกตแชร์อันดับ 2 ร้อยละ 22

พอร์ตสินเชื่อมีสัดส่วนดังนี้ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 41% สินเชื่อ SMEs 15% และสินเชื่อเพื่อรายย่อย 44%

 

นอกจากนี้ facebookยังได้ยกให้ KRUNGSRIเป็น Case Study ของธนาคารที่ใช้เพจในการทำตลาดได้อย่างยอดเยี่ยม (อ้างอิง: marketeer) จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์ในการเข้าถึงลูกค้ารายย่อยนั้นน่าจะมาถูกทางแล้ว

การเติบโตของกรุงศรีในอนาคตจะเป็นการเติบโตจากทั้งภายในประเทศไทย และจาก CLMV ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ธนาคารและ BTMU ให้ความสนใจและเป็นกลยุทธ์หลักในการขยายงาน กลยุทธ์หนึ่งที่ธนาคารใช้กับกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ จะเป็นการเข้าไปจับมือกับโรงงาน/บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ทำการเสนอสินค้า/บริการ จูงใจให้เปลี่ยนมาใช้บริการจากธนาคารและนอกเหนือจากการจับลูกค้ารายใหญ่แล้วยังมีการทำสินเชื่อทั้ง Supply Chain อีกด้วย นั่นหมายความว่าจะได้ธุรกิจ SMEs เพิ่มเข้ามาด้วย ทั้งนี้คาดว่าธนาคารจะใช้กลยุทธ์นี้กับทั้งกลุ่ม CLMV เนื่องจากกลุ่มธุรกิจสัญชาติญี่ปุ่นมีการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมที่ประเทศเวียดนามและพม่าจำนวนมาก ทั้งหมดเป็นบางส่วนของการวิเคราะห์ “การเติบโต” ของKRUNGSRIที่ทำให้เห็นภาพทั้งธุรกิจปัจจุบันที่มีแนวโน้มเติบโต รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่เปิดกว้างจากการขยายธุรกิจไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งคุณ SorawisChatunart (ชื่อเฟสบุ๊ค) ได้แชร์ไว้ใน SPACE ครับสนใจไปอ่านดูต่อแบบเต็ม ๆ ได้ที่ http://bit.ly/SPACE-FINNOMENA ติดตามข้อมูลการลงทุนดี ๆ ได้ทาง LINE Official เพียงค้นหาไอดี @FundTalk(มีเครื่องหมาย @ ด้วย) หรือ Facebook Page ค้นหาคำว่า “FundTalk” สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ