ลดขยะพลาสติก

ลดขยะพลาสติก

หลังจากมีการผลิตพลาสติก มากว่า 65 ปี ปัจจุบันมีปัญหาขยะพลาสติกท่วมโลก ซึ่งส่วนมากเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ถุง-ขวดพลาสติก

ขยะพลาสติกดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหา เป็นมลพิษของสิ่งแวดล้อมโลก ขยะพลาสติกที่ท่วมโลก ลอยล่องอยู่ในทะเล มหาสมุทร เกลื่อนกลาดเต็มชายหาดหลายแห่ง อุดตันตามแม่น้ำลำคลอง ท่อระบายน้ำ ขยะพลาสติกเหล่านี้ ขจัดยาก กว่าจะย่อยสลายไปใช้เวลานานมากหลายสิบปี

ขยะพลาสติกที่เกลื่อนกลาดตามลำน้ำ ทะเล มหาสมุทร เป็นอันตราย ต่อสัตว์ที่มีชีวิตตามธรรมชาติที่อาศัยและหากินอยู่ตามลำน้ำ ทะเล มหาสมุทร เช่น นก และบรรดาสัตว์น้ำโดยเฉพาะสัตว์ทะเล ที่อาจติดกับดักอยู่ในกองขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ ตามลำน้ำ ทะเล มหาสมุทร หรือกลืนกินขยะพลาสติกเข้าไปเป็นอันตรายถึงตายได้

ในหลายประเทศมีการตรวจพบว่า บรรดานกทะเลและสัตว์น้ำ ได้รับอันตรายจากขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นมาก เช่น นกกระสาติดอยู่ในถุงพลาสติกบนกองขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในลำน้ำ ถ้าไม่มีผู้พบเห็นและช่วยมันออกมาจากถุง ก็คงจะตายอยู่กับกองขยะทะเลนั้น มีการพบเต่าทะเล ติดอยู่กับตาข่ายดักปลาที่ทิ้งแล้ว มีการวิจัยพบว่าสัตว์น้ำที่กลืนกินขยะพลาสติกเข้าไป ขยะพลาสติกจะแปรเปลี่ยนไปเป็นอนุภาคพลาสติกซึ่งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าอยู่ในตัวสัตว์ทะเลนั้น เมื่อคนบริโภคอาหารทะเล ที่มีอนุภาคพลาสติกอยู่ในตัวสัตว์ทะเลนั้น ผู้บริโภคอาหารทะเลก็จะบริโภคอนุภาคพลาสติกเข้าไปด้วย

สำหรับประเทศไทย ตามสถิติที่มีการเผยแพร่ ระบุว่ามีขยะพลาสติก เป็นลำดับที่6 ของโลก ผลกระทบที่เห็นอย่างขัดเจน คือขยะพลาสติก ล่องลอยอุดคันตามลำน้ำ คลอง และท่อระบายน้ำ ต้นเหตุที่เมื่อมีฝนตกในกรุงเทพมหานคร แม้เป็นฝนปานกลาง ก็ทำให้น้ำท่วมถนน ทำให้การจราจรติดขัด ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่การสัญจรของผู้คนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล นอกจากนี้ขยะพลาสติกที่ลอยเกลื่อนกลาดในทะเล ถูกคลื่นซัดขึ้นไปติดบนชายหาดเต็มไปหมด ทำให้เสียหายต่อการท่องเที่ยว ขยะพลาสติกเหล่านี้ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล และนกทะเล ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ เมื่อสัตว์หรือนกทะเลกลืนกินเข้าไป หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ ก็จะตายในเวลาต่อมา เช่นกรณีที่พบวาฬนำร่องลอยเข้ามาในคลองอย่างอ่อนแรงในหมู่บ้านชาวประมงในอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา ทีมสัตว์แพทย์ได้พยายามช่วยชีวิต ระหว่างนั้นวาฬได้สำรอกขยะพลาสติกออกมา หลายชิ้น ในที่สุดก็ไม่สามารถช่วยชีวิตได้ หลังจากนั้นทีมสัตว์แพทย์ได้ผ่าชันสูตรซากวาฬ พบว่าในกระเพาะอาหารมีขยะพลาสติก ถึง 8 กิโลกรัม จำนวนรวม 85 ชิ้น นี่เป็นสิ่งบ่งบอกว่าในทะเลไทย มีขยะพลาสติกลอยอยู่ขั้นวิกฤติ

ภาคราชการและเอกชน ในประเทศไทยตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก เริ่มรวมมือกันแก้ปัญหา ในชั้นนี้เป็นการใช้มาตรการในการรนณรงค์ให้ตระหนักรู้ถึงปัญหาและร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เช่น หน่วยราชการหลายแห่งร่วมกันรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติก และโฟมในสถานที่ราชการ สถานศึกษาบางแห่งเป็นต้นแบบนำร่อง งดใช้ภาชนะพลาสติก ที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ผู้ประกอบการขายเครื่องอุปโภคบริโภค เช่นร้านขายเครื่องอุปโภคบริโภค ร้านสะดวกซื้อ ให้แต้มที่ใช้ในการลดราคาสินค้า หรือลดราคาสินค้า ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าที่นำถุงผ้าหรือภาชนะอื่นใดมาใส่สินค้า โดยไม่ใช้ถุงพลาสติกของทางร้าน ล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบาย ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2561เป็นต้นไป ให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งเลิกใช้ถุงหิ้วและพลาสติกใส่ยาให้ผู้ป่วย

ในต่างประเทศก็มีการณรงค์ลดขยะพลาสติกอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ ให้ลดการใช้ภาชนะพลาสติกครั้งเดียวแล้วทิ้ง ที่จริงจังมากคือ สหภาพยุโรป ที่กำลังจะออกเป็นข้อกำหนดในการใช้ภาชนะพลาสติกครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อลดขยะพลาสติก จากเอกสารข่าวแถลงของสหภาพยุโรป เมื่อปลายเดือน พ.ค.2561 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้ภาชนะพลาสติกครั้งเดียวทิ้ง จะมีขอบเขตดังนี้

อันเนื่องมาจากขยะพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ในทะเลและมหาสมุทรเพิ่มปริมาณมากขึ้น คณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป กำลังเสนอให้มีการตราข้อกำหนดของสหภาพยุโรป เป้าหมายอยู่ที่การลดการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้ง จำนวน 10 รายการ ที่พบเป็นขยะอยู่เกลื่อนหาดในสหภาพยุโปและในทะเล ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์การทำประมงที่ไม่ใช้แล้วที่ทิ้งอยู่ในทะเล นอกเหนือจากมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกในสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2558 ที่สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 72 % ตอนนี้พุ่งเป้าหมายไป ที่ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 10 รายการ

ข้อกำหนดใหม่ของสหภาพยุโรป จะประกอบด้วยมาตรการดังนี้

ห้ามใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์บางอย่างที่มีสิ่งทดแทนได้คือ ก้านสำลีเช็ดหู ด้ามมีด หลอดดูด ที่คนกาแฟและก้านลูกโป่ง

กำหนดเป้าหมายลดการใช้  ประเทศสมาชิกจะต้องลดการใช้ สิ่งเหล่านี้ที่ทำจากพลาสติก คือ กล่องบรรจุอาหารและถ้วยเครื่องดื่ม โดยให้มีการใช้สิ่งทดแทนอื่น หรือบวกค่าภาชนะเหล่านั้นในราคาอาหารและเครื่องดื่ม

  กำหนดความรับผิดชอบของผู้ผลิต  จะต้องมีส่วนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะพลาสติกและการทำความสะอาด รวมถึงให้ตระหนักถึง มาตรการทีกำหดขึ้น ในการลดใช้พลาสติก สำหรับกล่องบรรจุอาหาร บรรจุภัณฑ์และสิ่งที่ใช้ห่อสินค้า ก้นกรองบุหรี่ ทิชชูเปียก ลูกโป่ง ถุงพลาสติกบางเบา โดย จะมีสิ่งตอบจูงใจให้ผู้ผลิต พัฒนาใช้สิ่งที่มีปัญหาเป็นมลพิษน้อยกว่าทดแทน

กำหนดเป้าหมายในการเก็บรวบรวม  ประเทศสมาชิกจะต้องรับผิดชอบในการเก็บรวบรวมขวดพลาสติกเครื่องดื่มที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งให้ได้ 90% ภายในปี 2568 ผ่านโครงการแลกคืนขวด

กำหนดให้มีการติดฉลาก ผลิตภัณฑ์บางชนิดจะต้องมีการติดฉลากระบุว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เช่นกระดาษทิชชูเปียก ลูกโป่ง

  สร้างการรับรู้ ประเทศสมาชิกมีหน้าที่ต้องสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคถึงผลกระทบต่อสิงอวดล้อมของ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง และอุปกรณ์การประมง รวมทั้งให้เข้าใจถึงมาตรการนำกลับมาใช้ใหม่ และช่องทางในการบริหารจัดการกับขยะพลาสติกดังกล่าว

สำหรับเครื่องมือการทำประมงอุปกรณ์ตกปลาที่ปรากฏว่ามีถึง 27% ของขยะพลาสติกตามชายหาด ผู้ผลิตอุปกรณ์การประมงที่ประกอบด้วยพลาสติก จะต้องรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรวบรวมรรมอุปกรณ์การประมงที่ทิ้งแล้ว รวมทั้งค่าขนส่งและการขจัดขยะเหล่านั้น ในการสร้างการรับรู้ถึงผลกระทบเสียหายของขยะเหล่านั้นรวมทั้งค่าใช้จ่าย

การดำเนินการของสหภาพยุโรปในขั้นต่อไป คือนำข้อเสนอนี้ เสนอต่อรัฐสภาและ คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป พิจารณาให้ความเห็นชอบตราออกเป็นข้อกำหนดของสหภาพยุโรปใช้บังคับต่อไป

แนวทางในการลดขยะพลาสติกของสหภาพยุโรปดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผลิตผู้ส่งออกสินค้าที่มีส่วนประกอบเป็นพลาสติกไปยังสหภาพยุโรปต้องเตรียมปรับตัวปรับการผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสหภาพยุโรปที่จะออกบังคับใช้ต่อไป