แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70%

แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70%

เกษตรฯ ปี 67 ลดจุด Hotspot พื้นที่เกษตรได้ 12.70 % จัดการเศษวัสดุได้ 61% มูลค่ากว่า 3.3 พันล้านบาท ผลจากจัดชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังเข้ม เร่งเดินเครื่องระบบตรวจสอบย้อนกลับพื้นที่การเผารับมติ ครม. พร้อมดันเครือข่ายเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรต่อเนื่อง

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า  ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา และนำเสนอทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการเกษตรทดแทนการเผา สร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเผา รวมทั้งสร้างต้นแบบในการทำการเกษตรปลอดการเผาเพื่อสนับสนุนการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตรในระยะต่อไป

แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70% แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70%

โดยผลการดำเนินงานในปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จาก GISTDA ในการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การเผาในพื้นที่เกษตรของประเทศไทยจากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 28 เมษายน 2567 พบจุดความร้อน (Hotspot) พื้นที่เกษตรในประเทศไทย จำนวน 2,886 จุด (จากเดิม วันที่ 1 มกราคม ถึง 28 เมษายน 2566 จำนวน 3,306 จุด) พบว่า ลดลง จำนวน 420 จุด คิดเป็นร้อยละ 12.70

 

สำหรับผลการดำเนินงานบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ปี 2567 รายพืช 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และไม้ผล ไม้ยืนต้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2567 มีปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทั้งหมดประมาณ 48.6 ล้านตัน นำไปใช้แล้วประมาณ 29.7 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61 เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 3.3 พันล้านบาท

 

ผลการดำเนินงานตามแผนป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ประจำปี 2567 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ดำเนินการ 3 กิจกรรม ประกอบด้วย

 

1. กิจกรรมการศึกษา ทดสอบ เทคโนโลยี และรูปแบบการปรับตัวของเกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การไม่เผาในพื้นที่การเกษตร อาทิ การทดสอบเทคโนโลยี และรูปแบบการนำแนวทาง 3R Model มาใช้ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร และการทดสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าข้าวโพดอาหารสัตว์เพื่ออากาศสะอาดร่วมกับภาคเอกชนผู้รับซื้อ (Professional Partnerships Collaboration)

 

2. กิจกรรมการสื่อสารสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ผลกระทบจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วิถีการปรับตัว และการบรรเทาผลกระทบแก่เกษตรกร ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น Smart Farmer/Young Smart Farmer ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน เครือข่ายเกษตรกรแปลงใหญ่ และศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ดำเนินการแล้ว 121,569 ราย และการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเฝ้าระวังการเผาในพื้นที่การเกษตรระดับอำเภอ และระดับตำบล ดำเนินการแล้ว 4,857 ชุด ออกปฏิบัติการ 8,289 ครั้ง

แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70% แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70%

3. กิจกรรมประเมินความเสี่ยง เฝ้าระวังสถานการณ์ ติดตามผลตามแผนปฏิบัติการ เพื่อสนับสนุนการทบทวนแผน และประสานการปฏิบัติร่วมกับคณะกรรมการระดับชาติ และระดับกระทรวง

สำหรับผลการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2567 ได้ถ่ายทอดความรู้ และพัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้สามารถเป็นวิทยากรด้านการเกษตรปลอดการเผา จำนวน 16,500 ราย ในพื้นที่ 62 จังหวัด การสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุการเกษตร หรือส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกเพื่อแก้ปัญหาการเผาอย่างยั่งยืนนำร่องผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จำนวน 64 ครั้ง และมีแผนส่งเสริมการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายเกษตรปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 3-4

 

นอกจากนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้เตรียมดำเนินการตามแนวทางเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งสอดคล้องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567

ประกอบด้วยการตัดสิทธิในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากวิธีการเผาไปใช้วิธีอื่น และการพิจารณาตัดสิทธิการได้รับความช่วยเหลือชดเชยต่างๆ จากภาครัฐสำหรับเกษตรกรที่ไม่ให้ความร่วมมือ การกำหนดมาตรการลดหรือห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านที่พิสูจน์ได้ว่ามีกระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการเผา

แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70% แค่ ลดเผา พื้นที่การเกษตร ลดจุด Hotspot ได้ถึง 12.70%

 

“ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรยังคงมุ่งสร้างจิตสำนึกให้เกษตรกรในระยะยาวในการตระหนักถึงข้อดี และข้อเสียของการเผาในพื้นที่การเกษตร รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นเครือข่ายในการร่วมขับเคลื่อนการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร และการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์ทดแทนการเผาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์