แม่ให้นมบุตรเสี่ยงสูญเสียแคลเซียม

แม่ให้นมบุตรเสี่ยงสูญเสียแคลเซียม

นักวิจัย ระบุ คุณแม่กำลังให้นมบุตรเสี่ยงสูญเสียแคลเซียม สามารถแก้ไขได้ได้ด้วยการออกกำลังกาย กิจกรรมกลางแจ้ง

นักวิจัย ระบุ คุณแม่กำลังให้นมบุตรเสี่ยงสูญเสียแคลเซียม สามารถแก้ไขได้ได้ด้วยการออกกำลังกาย กิจกรรมกลางแจ้งและรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

แคลเซียมจำเป็นกับใครบ้าง ?ทำอย่างไรให้ได้รับแคลเซียมสูงสุด? เอ่ยถึง “แคลเซียม” หลายคนคงหันไปมองคนชรา และเหมากันว่าเป็นกลุ่มที่สมควรได้รับแคลเซียมมากที่สุด และสำคัญกว่านั้นหากถามต่อว่าต้องการแคลเซียมเพื่ออะไร หาได้จากไหน หลายคนก็คงมีคำตอบว่า ต้องการแคลเซียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก และหาได้จากการบริโภคนม

ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ จากหน่ายวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ความจริงแล้วแคลเซียมมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบไหลเวียนโลหิต การทำงานของสมอง และสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก คนไทยควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 –1,000 มิลลิกรัม/วัน หรือคิดเป็นปริมาณการดื่มนมต่อวันประมาณ 3 แก้ว ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันมีประชากรที่ดื่มนมเกิน 3 แก้ว/ วัน เนื่องจากต้องยอมรับว่าวัฒนธรรมไทยไม่ได้นิยมดื่มนมเป็นอาหารหลัก และมีนมเป็นส่วนประกอบในอาหาร และปัจจัยสำคัญอีกอย่างคือปัญหาของระบบการดูดซึมและการย่อยนมนั่นเอง

ดังนั้นทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกทานอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน โดยอาหารที่มีแคลเซียมสูงนั้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงนมเปรี้ยวและชีส กุ้งแห้งตัวเล็ก ปลาเล็กปลาน้อย ถั่วแดง และงาดำ เป็นต้น

แหล่งแคลเซียมในร่างกายของมนุษย์ราว 99% สะสมอยู่ในกระดูก ร่างกายจะนำแคลเซียมที่ดูดซึมจากแคลเซียมที่ดูดซึมจากทางเดินอาหาร ไปใช้งานบางส่วนใช้สร้างกระดูก และแคลเซียมส่วนเกินขับออกทางไต การสูญเสียแคลเซียมของคนปกตินั้นมักจะสูญเสียทางปัสสาวะ ในขณะที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องใช้แคลเซียมในปริมาณมากเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการสร้างน้ำนม ทำให้คุณแม่

มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก และบางรายอาจเกิดภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้หากรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะของร่างกายที่เราทราบกันว่า กระดูกเป็นแหล่งแคลเซียมเมื่อร่างกายต้องการแคลเซียมในประมาณมาก ก็จะไปดึงแคลเซียมที่กระดูกออกมาใช้ แคลเซียมจากนมแม่ดีที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกายและกระดูกของลูก ส่วนแม่ก็ต้องรับประทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมเช่นกัน และควรงดชา กาแฟ ตลอดจนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถทำให้สูญเสียแคลเซียมได้

โรคกระดูกพรุน ซึ่งมีสาเหตุจากความเสื่อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากปัจจัยทางพันธุกรรมและการขาดฮอร์โมนเพศหญิงหลังหมดประจำเดือน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอีกมากมายที่เป็นตัวเสริมเร่งให้เกิดกระดูกพรุนได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำโดยทั่วไปการรักษาโรคกระดูกพรุนสามารถทำได้ด้วยการใช้ยาหรือฮอร์โมน แต่การชะลอการเกิดหรือการป้องกันดูจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการ รักษาหลังเกิดโรคแล้ว ปัจจุบันมีอยู่หลายวิธีที่มีรายงานทางวิชาการว่าสามารถชะลอหรือลดความรุนแรง ของโรคนี้ได้ อาทิเช่น การออกกำลังกายที่มีความแรงเหมาะสม การผ่อนคลายเพื่อลดความเครียด และการให้แคลเซียมเพื่อรับประทานเสริม

ศ.ดร.นพ.นรัตถพล กล่าวอีกว่า สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ และคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ร่างกายควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1,200 – 1,500 มิลิกรัม/วัน ซึ่งจากการทดลองยังพบว่านอกเหนือจากอาหารที่มีแคลเซียม และอาหารเสริมแคลเซียมแล้ว การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ เช่น การว่ายน้ำ และ กิจกรรมกลางแจ้งซึ่งต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ ? ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยเพิ่มการดูดแคลเซี่ยมที่ทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี