ชาวเทพา จับมือคนชายแดนใต้ ต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ชาวเทพา จับมือคนชายแดนใต้ ต้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เครือข่ายภาคประชาชนเทพา จับมือคนชายแดนใต้ เตรียมเคลื่อนไหวต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ชี้เป็นภัยแทรกซ้อนต่อเนื่องจากความมั่นคง

เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2559 ที่อาคารวิชาการชุมชน ริมทะเล ต.ตันหยงเปา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี .เครือข่ายประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ นำโดย ตูแวดานียา ตูแวแมแง ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายา เพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) ในฐานะผู้ประสานงานเครือข่าย โดยมีตัวแทนเอ็นจีโอ ตัวแทนนักศึกษา มอ.ปัตตานี อาจารย์ มอ.ปัตตานี ตัวแทนของเครือข่ายชาวอำเภอเทพา นายเกื้อ ฤทธิบูรณ์ นางรอหีมม๊ะ บือราเฮง และนายฮาหมิด ชายเค็ม ผู้ประสาน เครือข่ายร่วมอภิปรายบนเวที

ทั้งนี้ มีชาวบ้านต.ตันหยงเปา อ.หนองจิก ชาวบ้าน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี และ ต.เทพพา ต.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ตัวแทนยะลา ร่วมประมาณ 200 คน เข้าร่วมรับฟังพร้อมทั้งแจกเอกสาร ผลเสียของการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งในเรื่องสุขภาพ วิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนไป เป็นต้น นอกจากนั้นปักธงเครือข่าย และปักธงต่อต้านโรงไฟฟ้าด้วยตามเต็นส์ที่ประชุม

ที่ประชุม อธิบายผลเสียที่เกิดขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เทพาและบางช่วงมีการพูดถึงพอสรุปได้ว่า

 การสร้างโรงไฟฟ้าที่เทพาเป็นเงื่อนไขภัยแทรกซ้อนใหม่ของปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้วในเรื่องของสถานการณ์ใต้ ที่มีผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิต กว่า 6 พันคน มีเด็กกำพร้าและที่ถูกจับ และที่เสียชีวิตในห้องขัง และที่หายไปซึ่งเป้นภัยแทรกซ้อน โหมไฟใต้มากขึ้น เช่นเดียวกับเงื่อนไขการติดอาวุธ เพราะรัฐกระทำการใดๆคิดว่าถูก ส่วนประชาชนนั้นผิด หาจุดสมดุลไม่ได้รัฐไม่เปิดพื้นที่อย่างตรงไปตรงมา และประชาชนไม่มีความปลอดภัย รัฐใช้ความรุนแรงตอบโต้คนที่ให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา การสร้างเงื่อนไขใหม่ต่อการสร้างโรงไฟฟ้า ขณะที่เงื่อนไขเดิมยังมีอยู่ ถือเป็นการขยายใหม่ท้าทายความสันติภาพและสันติสุข ที่รัฐพยายามที่จะสร้างให้เกิดขึ้น

หลังจากนั้น เปิดตัวเครือข่ายเครือข่ายประชาชนจชต.ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ PERMATAMAS-Persekutuan rakyat mempertahankan hak masyarakat dan sumber daya alam untuk kedamaianและเปิดตัวคณะทำงานุประสานงานประจำจังหวัดสงขลาและผู้ประสานงานประจำพื้นที่3จังหวัดชายแดนใต้ อย่างเป็นทางการ

จากนั้น ที่ประชุมล้อมวงกันคุย คณะประสานงานPERMATAMAS-เครือข่ายประชาชนจชต.ปกป้องสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อสันติภาพ เพื่อกำหนดจังหวะก้าวการเคลื่อนไหวโดยมีกลุ่มเอ็นจีโอ เป็นผู้ให้แนวทาง และการเคลื่อนไหว โดยแนะนำให้มีการจัดเวทีสาธารณให้มากที่สุด ต่อเนื่อง เพราะถ้ามีมาก ก็สามารถที่จะต่อต้านการก่อสร้างได้ ต้องใช้พลังของประชาชนเป็นหลัก โดยต้องเกาะกลุ่มกัน ทำงานเป็นทีม โดยมีผู้ประสานงานของแต่ละพื้นที่ ต้องประสานการทำงานอย่างต่อเนื่อง

นายตูแวดานียา ตูแวแมแง’ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา (LEMPAR) เป็นผู้ประสานงานเครือข่าย เผยว่า การเสวนาครั้งนี้เพื่อมาทำความเข้าใจข้อมูลโรงไฟฟ้าถ่านหินผลกระทบ 3 จังหวัด 4 อำเภอสงขลาการสร้างโรงไฟฟ้าที่เทพาจะกระทบปัตตานี และชายแดนภาคใต้ทั้งหมดประชุมเพื่อความชัดเจน โดยใช้นักวิชาการ ที่รู้ถึงผลกระทบที่ติดทะเล กระทบทั้งเทพา และสะบ้าย้อยมาทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อให้ชะลอหรือยับยั้ง ขณะนี้ทุกฝ่ายมัวแต่สนใจ เรื่องสถานการณ์ใต้ จนทำให้เรื่องนี้ไม่มีใครสนใจจึงจัดเวที เพื่อให้ประชาชน 3 จังหวัด มีส่วนร่วม เพื่อ ไม่ให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินไปได้

    อย่างไรก็ตาม ตัวหลักที่เสียคือ สุขภาพ และทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เกิดจากมลพิษควัน 200 เมตร 10 กว่าชั้นมีสารเคมีโลหะหนักเช่น ปรอท ตัวอย่าง แค่ควันอินโดยังมาถึงที่ชายแดนใต้ และ ควันของถ่านหิน ซึ่งมีมวลสารเล็กกว่า ย่อมถึง 3 ชายแดนใต้แน่นอนและอีกสิ่งหนึ่งคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตกับรัฐ ยังหมกเม็ดและให้ข้อมูลแลไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านรับรู้เรื่องดังกล่าวเช่นกระบี่ใช้เวลาเกือย 4 ปี แต่ ที่เทพาใช้เวลาศึกษาแต่ 9เดือน เป็นการไม่ให้โอกาส ไม่เปิดเผยรอบด้าน

    ทั้งนี้  สิ่งที่เคลื่อนไหว เรื่องไฟฟ้าถ่านหินไม่ใช่ของเทพา แต่เป็นเรื่องคน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอสงขลา ที่เป็นพื้นที่ประกาศใช้กฎหมายพิเศษ ที่พื้นที่มีปัญหากระทบความมั่นคงชาติที่มี กอรมน ภาค 4 เป็นเจ้าภาพแต่เรื่องนี้ไม่ได้บรรจุเป็นวาระของฝ่ายความมั่นคง เพราะไม่ได้ให้ความสำคัญทั้งๆที่ภาคปฏิบัติมีผลกระทบคุณภาพชีวิต และความไว้เนื้อเชื้อใจ ของชาวบ้านต่อการพัฒนาโครงสร้างของรัฐถ้าฝืนทำ จะเกิดความไม่พอใจ และความไม่ไว้ใจของชาวบ้านที่มีต้นทุนในเรื่องของเงื่อนไขในเรื่องประวัติศาสตร์ปัญหาชนชาติเดิมอยู่แล้ว ที่ไม่พอใจต่อรัฐ

นายตูแวดานียา กล่าวว่า หากโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นจริง ความมั่นคงไม่ได้สนใจไม่ระบุเป็นวาระความมั่นคงในขบวนการสร้างสันติภาพ คิดว่าอาจจะเกิดบานปลายทำให้เกิดความขัดแย้งใหม่ อาจจะต้องประกาศ พรบ.ฉุกเฉินอีกในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของสงขลา ดังนั้น จะต้องให้กอ.รมน. ตระหนักเห็นความสำคัญผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตและสันติภาพต้องทำให้เกิดการตื่นตัวในพื้นที่อื่นๆ ที่ติดทะเล ปัตตานี นราธิวาสที่มีสารพิษตกทะเล ส่วนยะลา ไม่ติดทะเลแต่ทางอากาศ ดังนั้นการเคลื่อนไหวสรุปคือ ต้องมีเวทีสาธารณะ ขยายเครือข่ายให้มากที่สุดในพื้นที่ที่มีผลกระทบ โดยเฉพาะใน ชายแดนใต้ และ 4 อำเภอสงขลา