กรมพินิจฯ เร่งปฏิรูปการศึกษาเด็กเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึก หวังลดจำนวนผู้กระทำผิดซ้ำ พบเด็กส่วนใหญ่เรียนจบแค่ชั้นประถม วางเป้าฝึกอาชีพให้ออกไปแล้วทำมาหากินเป็น เลี้ยงตัวได้
มล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงโครงการปฏิรูปการศึกษาของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนว่า ปัจจุบันมีตัวเลขของเยาวชนในหลายประเทศที่พ้นออกไปจากสถานพินิจฯแล้วกระทำผิดซ้ำ ถูกส่งกลับเข้ามาสู่สถานพินิจฯและเรือนจำสูงถึงร้อยละ 50 -60 ในส่วนของประเทศไทยมีการจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อติดตามผู้กระทำผิดซ้ำเชื่อมโยงจากสถานพินิจฯ ศูนย์ฝึกฯและเรือนจำ ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน. พบตัวเลขการกระทำผิดซ้ำอยู่ที่ร้อยละ 40 จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาว่าหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันถูกต้องหรือไม่ หรือสามารถที่จะทำให้เยาวชน ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนไม่ต้องกลับไปทำผิดซ้ำอีก
มล.ปนัดดา กล่าวอีกว่า เบื้องต้นเห็นว่า การศึกษาที่ให้เรียนเฉพาะหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ สังคม และวิชาทั่วไปไม่เพียงพอแล้ว จะต้องเพิ่มวิชาจริยธรรมและคุณธรรม ที่ยังมีน้อยมาก ควรเพิ่มสัดส่วนขึ้นอีก โดยจะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ไม่น่าเบื่อเพราะมีตัวชี้วัดว่าเด็กและเยาวชนสมาธิสั้น รวมทั้งจะต้องมีการเพิ่มบุคลากรด้านสังคมและจิตวิทยาซึ่งยังมีไม่เพียงพอให้มากขึ้นด้วย. ทั้งนี้ปัจจุบันเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกร้อยละ 48 กระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่พบว่าเด็ก ถูกใช้เป็นผู้ส่งยา บางรายโชคร้ายเป็นทั้งผู้ลำเลียงและผู้เสพจนต้องถูกส่งตัวไปบำบัดรักษาอาการติดยา โดยปัญหายาเสพติดจะแก้แก้เฉพาะภายในศูนย์ฝึกและสถานพินิจไม่ได้สังคมภายนอกก็ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อไม่ให้เด็กและเยาวชนถูกชี้นำและครอบงำในทางที่ผิด
มล.ปนัดดา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมพินิจฯได้มีการจัดการศึกษาให้กับเยาวชน ทั้งในระบบการศึกษานอกโรงเรียนและการส่งเยาวชนในสถานพินิจไปเรียนร่วมกับนักเรียนปกติในโรงเรียน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีความร่วมมือกับสถานศึกษาต่างๆในจังหวัดดำเนินโครงการ 1 โรงเรียน 1 สถานศึกษา. โดยเฉลี่ยระดับการศึกษาของเยาวชนท่ีเข้าสู่สถานพินิจฯ อยู่ที่ระดับประถมศึกษา ขณะที่เด็กและเยาวชนมีความต่างกันของช่วงอายุและพฤติกรรม จึงต้องจัดแบ่งระดับการศึกษาให้เหมาะสม และสอดคล้องกับระยะเวลาที่ศาลสั่งควบคุม
ด้านนายมีชัย. วีระไวทยะ กล่าวว่า รูปแบบการศึกษาของเยาวชนในสถานพินิจฯ ควรทำให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ไม่ใบ่ให้ผอ.เป็นศูนย์กลางโรงเรียนส่วนใหญ่มีอาการสถานที่แต่ยังใช้ไม่คุ้มค่า. ดึงชุมชนและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา พบว่า. 70% ของเด็กที่เรียนจบออกมามักไปเป็นลูกจ้าง เด็กในระบบการศึกษาประมาณ 6 ล้านคน ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นเด็กกำพร้า เด็กที่อาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย เด็กในสถานพินิจฯ และเด็กตั้งท้องวัยใส. ซึ่งส่วนใหญ่โรงเรียนไม่ได้เน้นสอนให้เด็กทำมาหาเลี้ยงชีพได้. ดังนั้นโรงเรียนจึงต้องเตรียมความพร้อมให้กับเด็กตั้งแต่มัธยม
สำหรับการจัดการศึกษาของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและศูนย์ฝึกฯ พบว่าเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับการศึกษาเลย 576 คน จบระดับประถมศึกษา 2,070 คน มัธยมต้น 951 คน มัธยมปลาย 79 คน ปวช.15 คนและการศึกษาอื่นๆ 95 คน. ในส่วนของช่วงอายุพบว่าเยาวชนอายุ 18 ปีถูกส่งตัวเข้าศูนย์ฝึกสูงสุดกว่า 35% จำนวน 1,337คน รองลงมาอายุ 17 ปีจำนวน 852 คน.ระยะเวลาที่ศาลสั่งฝึกอบรมตั้งแต่1-3เดือนไปจนถึง2ปี. โดยครูหนึ่งคนต้องดูแลเด็ก50ถึง 80 คนเนื่องจากบุคลากรของกรมพินิจฯยังมีหน้าที่อื่น เช่น ต้องรายงานพฤติกรรมเด็กส่วศาล ซึ่งในส่วนนี้จะมีผลต่อการลดวันควบคุมตัวเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กกระตือรือร้นในการศึกษาและกลับตัวเป็นคนดี. ในส่วนของวิชาชีพที่ศูนย์ฝึกจัดอบรมให้เยาวชนได้แก่ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ช่างไม้ ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างทำผม คอมพิวเตอร์ เกษตรกรรม ศิลปะหัตถกรรมคหกรรม และอื่นๆ