กรมการท่องเที่ยว เยียวยาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก covid-19

รายละเอียดการคืนหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตามมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19
นายทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยมาตรการเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กล่าวว่า “เนื่องจากเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว เนื่องจากเหตุที่การเดินทางท่องเที่ยวเกิดความชะงักงันทั่วโลก ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดย่อม ไม่เว้นแม้แต่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อ การจ้างงานและความเป็นอยู่ของแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถึงประมาณ 4 ล้านคน ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระยะเร่งด่วน ให้มีสภาพคล่อง ลดภาระของ ผู้ประกอบการ ให้สามารถมีเงินสดมาหมุนเวียน หล่อเลี้ยงธุรกิจ และพนักงานในความดูแลในภาวะวิกฤต กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินหลักประกัน พ.ศ. 2563 โดยได้ลดจำนวนเงินหลักประกันที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ต้อง วางไว้กับนายทะเบียน ตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินหลักประกัน พ.ศ. 2555 ลงร้อยละ70 ของวงเงิน เดิม เพื่อคืนให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวนำไปเสริมสภาพคล่อง ให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและพนักงานใน ความดูแลได้ในระดับหนึ่ง”
รายละเอียดการคืนหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตามมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก covid-19 รายละเอียดตามตารางเปรียบเทียบ ดังนี้
กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินหลักประกัน พ.ศ. 2563 กำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว พ.ศ. 2563 ได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 มีผลใช้บังคับวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 โดยผู้ ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สามารถยื่นขอรับคืนเงินหลักประกันส่วนที่วางไว้เกินกว่าจำนวนที่กำหนดใน กฎกระทรวงดังกล่าวได้ ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา
ความคืบหน้าในการคืนเงินหลักประกัน
ความคืบหน้าในการคืนเงินหลักประกัน นับตั้งแต่ วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ถึงปัจจุบัน (ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2563) มีผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมียื่นขอรับคืนเงินหลักประกันส่วนที่ได้วางไว้เกินจากกฎกระทรวงฯ และได้รับเงินคืนไปแล้ว จำนวน 5,025 ราย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 381,591,000 บาท จากจำนวนผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งสิ้นจำนวน 13,391 ราย รวมจำนวนเงินหลักประกันทั้งสิ้น ๑,๔๑๔,๔๗๐,๐๐๐ บาท (ร้อย ละ ๗๐ = ๙๙๐,๑๒๙,๐๐๐ บาท
ขั้นตอนการขอคืนเงินหลักประกัน
ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ที่ประสงค์ขอรับคืนเงินหลักประกันส่วนที่ได้วางไว้เกินกว่าที่กำหนดใน กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว พ.ศ. 2563 สามารถยื่นคำขอรับคืน เงินหลักประกันฯ ได้ ณ สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขา ที่ที่ตั้งของผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวนั้น ๆ ตั้งอยู่ การขอรับเงินคืนจะแยกเป็นผู้ประกอบการที่ยื่นขอจดทะเบียนแบบนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา โดยเอกสารที่ขอรับเงินคืน มีดังนี้
โดย เงินหลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้ มี 2 ประเภท คือ เงินสด หรือหนังสือค้ำประกันของธนาคาร เมื่อเอกสารหลักฐานถูกต้อง ครบถ้วน กรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการส่งเรื่องไปยังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยในการดำเนินการคืนเงินหลักประกันฯ จะแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ (1) กรณีขอคืนเป็นเงินสด โดยให้โอนเข้าบัญชีธนาคาร จะได้รับเงิน ภายใน 3 วันทำการของธนาคาร (2) กรณี ให้สั่งจ่ายเป็น แคชเชียร์เช็คธนาคารกรุงไทย จะจัดทำแคชเชียร์เช็คให้ ภายใน 7 วันทำการ (3) กรณี วางเงินหลักประกันเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคาร กรมการท่องเที่ยวจะมีหนังสือ ยืนยันการปลดภาระผูกพันหนังสือค้ำประกันถึงธนาคาร ทั้งนี้ การโอนเงินหลักประกันส่วนที่เกินฯ คืนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้รับความ อนุเคราะห์จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอนเงินให้ ทุกราย สำหรับกรณี ประสงค์จะรับเงินเป็นแคชเชียร์เช็ค ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเสียค่าธรรมเนียมการจัดทำแคชเชียร์เช็ค จำนวน 20 บาท โดยผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ได้รับเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้ที่ www.dot.go.th
ที่มาและวัตถุประสงค์ของการประกาศกำหนดอัตราค่าบริการขั้นต่ำ
เนื่องด้วยพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 31 กำหนด “ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยว โดยไม่เรียกเก็บค่าบริการ หรือเรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่เห็นได้ว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างน้อยให้กำหนดอัตราค่าบริการขั้นต่ำและกำหนดให้มีการจัดทำ เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงค่าบริการที่เรียกเก็บ”
ประกอบกับ ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเป็นที่นิยมทั่วโลก ธุรกิจท่องเที่ยวมีการแข่งขันกันสูง จึงเกิดปัญหา การขายทัวร์ในลักษณะ “โปรไฟไหม้” หรือการขายรายการนำเที่ยว (ทัวร์) ต่ำกว่าทุน ด้วยประสงค์ที่จะขายให้ ได้ปริมาณมาก ๆ และขายทัวร์ล่วงหน้าเป็นระยะเวลานาน มีการนำเงินในอนาคตไปใช้ล่วงหน้า เมื่อถึงกำหนด เดินทางท่องเที่ยวจริง ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่สามารถจัดรายการนำเที่ยว (จัดทัวร์) ได้ ส่งผลให้นักท่องเที่ยว ไม่สามารถเดินทางได้ เกิดปัญหาการทิ้งทัวร์ หรือบางครั้งจัดทัวร์ได้ แต่ก็ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการนักท่องเที่ยวในการนำเที่ยวดังกล่าว หรือเกิดปัญหาที่ผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามรายการนำเที่ยว เกิดความเสียหายกับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวของไทย ดังที่ได้เห็นเป็นข่าวที่ผ่านมา
ดังนั้น คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยกรมการท่องเที่ยว จึงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวข้างต้น และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย จึงได้ร่วมหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในแต่ละตลาดการนำเที่ยว ร่วมกันกำหนดราคาขั้นต่ำสำหรับการนำเที่ยวใน 3 ตลาด และ คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ได้พิจารณากำหนด เป็น “ประกาศคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ เรื่อง กำหนดอัตราค่าบริการขั้นต่ำ พ.ศ. 2563” ด้วยเจตนาให้เป็นอัตรากลาง สำหรับผู้ประกอบ ธุรกิจนำเที่ยว ในการขายรายการนำเที่ยว (ทัวร์) และให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อบริการนำเที่ยว จากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เพื่อลดปัญหากับดักราคาต่ำ ปัญหาการขาดคุณภาพ หรือการขาดมาตรฐานการ บริการที่ดี รวมถึงปัญหาการขายทัวร์ต่ำกว่าทุนแล้วไม่สามารถจัดให้นักท่องเที่ยวเดินทางได้ และเพื่อให้เป็นไป ตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมีเจตนารมณ์หลักในการคุ้มครองนักท่องเที่ยว โดย สาระสำคัญ ของประกาศฉบับนี้ เป็นการกำหนดอัตราค่าบริการขั้นต่ำ ในกลุ่มการนำเที่ยว 3 ตลาด ดังนี้
(1) อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
(2) อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
(3) อัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยว เฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทย
รายละเอียดอัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ
เป็นการจัดบริการนำเที่ยว ที่พานักท่องเที่ยวชาวไทยไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ (outbound) โดย อัตราที่ประกาศ เป็นอัตราสำหรับการเดินทางแบบหมู่คณะ (กรุ๊ปทัวร์) สำหรับอัตรา 3 วัน 2 คืน ไม่รวมค่าตั๋ว เครื่องบิน โดยแบ่งอัตราค่าบริการ เป็นโซนทวีป หรือประเทศที่เดินทางไปท่องเที่ยว เช่น จีน, ฮ่องกง, มาเก๊า, ไต้หวัน 2,000 บาท หรือ รัสเซียและกลุ่มประเทศอื่น ๆ ในโซนทวีปยุโรป รวมถึงประเทศในโซนแอฟริกาใต้ 5,000 บาท เป็นต้น โดยอัตราที่ประกาศดังกล่าว ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย ได้แก่
- ค่าบริการที่พัก ระดับ 3 – 4 ดาว
- ค่ายานพาหนะในการเดินทางภายในประเทศนั้น ๆ
- ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
- ค่าตอบแทนผู้นำเที่ยว
- ค่าบริการอาหาร
- ค่าประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
รายละเอียดอัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดนำเที่ยวนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเที่ยวในไทย
เป็นการจัดบริการนำเที่ยว ที่พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย (Inbound) โดยอัตราที่ประกาศ ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน โดยแบ่งอัตราค่าบริการได้แก่
- เดินทางมาจากประเทศในกลุ่มอาเซียน กำหนดไว้ให้ขายไม่ต่ำกว่า 800 บาท/คน/คืน
- เดินทางมาจากประเทศในทวีปเอเชียอื่นที่ไม่ใช่จากกลุ่มอาเซียน กำหนดไว้ให้ขายไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/ คน/คืน
- เดินทางมาจากประเทศอื่นซึ่งไม่ใช่ทวีปเอเชีย กำหนดไว้ให้ขายไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท/คน/คืน ซึ่งอัตราดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายได้แก่
- ค่าบริการที่พัก ระดับ 3 - 4 ดาว
- ค่ายานพาหนะในการเดินทางภายในประเทศนั้น ๆ
- ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
- ค่าตอบแทนมัคคุเทศก์
- ค่าบริการอาหาร
- ค่าประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
รายละเอียดอัตราค่าบริการขั้นต่ำสำหรับจัดบริการนำเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยว เฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทย
เป็นการจัดบริการนำเที่ยว เฉพาะการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศไทย (Domestic) โดยอัตราที่ประกาศ ไม่รวมค่าตั๋วเครื่องบิน โดยแบ่งอัตราค่าบริการ ได้แก่
(1) กรณีนำเที่ยวโดยไม่ค้างคืน เฉพาะการนำเที่ยวภายในประเทศ 300 บาท/วัน/คน
(2) กรณีนำเที่ยวโดยมีการพักค้างคืน เฉพาะการนำเที่ยวภายในประเทศ 600 บาท/คืน/คน ซึ่งอัตราดังกล่าวข้างต้น ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย ได้แก่
- ค่าบริการที่พัก
- ค่ายานพาหนะในการเดินทางภายในประเทศ
- ค่าบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ
- ค่าตอบแทนมัคคุเทศก์
- ค่าประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
ผลของประกาศฉบับนี้
ประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 เป็นต้นมา มีผลให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ที่จะขายรายการนำเที่ยว ในตลาดต่าง ๆ ต้องไม่กำหนดอัตราค่าบริการนำเที่ยว ไม่ต่ำกว่าราคาที่กำหนดในประกาศฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค (นักท่องเที่ยว) และเพื่อปกป้องความเสียหาย มิให้เกิดกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาพรวม รวมถึงนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในการเตรียมการเดินทางท่องเที่ยวตามที่คาดหวังไว้ ทั้งนี้ ขอประชาสัมพันธ์มายังผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในทุกตลาดให้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งการฝ่าฝืนประกาศดังกล่าว เป็นการกระทำผิด ซึ่งมีระวางโทษตามกฎหมาย
กรมการท่องเที่ยวฝากประชาสัมพันธ์
สถานการณ์โควิด-19 เริ่มมีการผ่อนปรน หลายประเทศเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยว ทำให้บริษัทนำเที่ยวเปิดขายทัวร์ต่าง ๆ กรมการท่องเที่ยว ขอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการซื้อทัวร์ในช่วงเวลาดังกล่าว ว่าให้นักท่องเที่ยวตระหนักหรือพิจารณาในหัวข้อ ดังนี้ เป็นเบื้องต้น
(1) ตรวจสอบการอนุญาตเดินทางระหว่างประเทศไทย และประเทศปลายทาง ว่าสามารถเดินทางได้ หรือไม่ มีเงื่อนไขในการเดินทางอย่างไร และมีมาตรการกักตัวหลังเดินทางกลับอย่างไร
(2) ตรวจสอบใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ได้ที่ www.dot.go.th ว่ามีใบอนุญาตถูกต้องหรือไม่
(3) ตรวจสอบประวัติการร้องเรียนบริษัทนำเที่ยว ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2141 3171
(4) การซื้อทัวร์เป็นการจ่ายเงินซื้อบริการล่วงหน้า ผู้ซื้อควรพิจารณาความเป็นไปได้ของการเดินทางทุกครั้ง และไม่ซื้อทัวร์ราคาต่ำกว่าทุน
(5) ให้เก็บหลักฐานต่าง ๆ ไว้ เช่น ใบเสร็จรับเงิน รายการนำเที่ยวที่บริษัททัวร์เสนอขาย เป็นต้น เพื่อ เป็นหลักฐาน กรณีเกิดข้อร้องเรียนขึ้น