ยูโอบี ผนึก ฉางอัน สนับสนุนการเงิน แผนรุก EV อาเซียน
ยูโอบี ลงนามบันทึกข้อตกลงกับบริษัท ฉางอัน อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชัน (CHANGAN International Corporation) บริษัทย่อยภายใต้ฉางอัน ออโตโมบิล (CHANGAN Automobile) เพื่อสนับสนุนการลงทุนและพัฒนาธุรกิจร อีวี (EV) ของฉางอานในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยธนาคาร ยูโอบี จรสนับสนุนด้านการเงินและบริการด้านการค้าระหว่างประเทศแก่ฉางอัน (Changan) ที่เลือกไทยเป็นสำนักงานภูมิภาคของบริษัทในการขยายธุรกิจรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
โดยธนาคารจะนำเสนอบริการทางเงินแบบครบวงจรเพื่อตอบโจทย์ตามความต้องการของฉางอัน เช่น
- Global Credit Services สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนในการขยายกิจการและดำเนินธุรกิจ
- บริการธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
- บริการบริหารความเสี่ยงที่หลากหลาย และการเข้าถึงสินเชื่อสีเขียวภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนของธนาคาร
ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ฉางอันที่ได้รับผลตอบรับที่ดีจากการเข้ามาบุกตลาดรถยนต์พลังงานฟ้าในไทยอย่างเป็นทางการ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของบริษัทที่จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอีวีของภูมิภาคนี้
ยูโอบีในฐานะที่เป็นธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคมีรากฐานที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและอาเซียน มีเครือข่ายที่เข็มแข็ง มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่พร้อมจะสนับสนุนฉางอัน ในการการขยายธุรกิจในต่างประเทศ
เฉิน เจี้ยนเฟิง รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการเงิน บริษัท ฉางอัน ออโต้โมบิล กล่าวว่า ยูโอบีมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งที่ช่วยสนับสนุนให้บริษัทเข้ามาทำตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยยูโอบีทั้งในประเทศไทยและประเทศจีนได้ให้คำแนะนำอันเป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งในด้านกฎหมาย ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านการตลาด รวมถึงการสนับสนุนทางด้านการเงิน
สำหรับฉางอันเปิดตัว อีวี 2 รุ่นแรกในไทยในงาน มหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 40 คือ รถยนต์นั่ง Deepal L07 และ เอสยูวี Deepal S07
นอกจากนี้บริษัทยังได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทีที่จังหวัดระยอง โดยโรงงานแห่งนี้จะมีการกระบวนการผลิตที่หลากหลายส่วนงาน ไม่ว่าจะเป็น งานพ่นสี ประกอบตัวรถยนต์ ประกอบเครื่องยนต์ และประกอบแบตเตอรี่ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ
คาดโรงงานจะเริ่มต้นการผลิตได้ในช่วงต้นปี 2568 โดยมีกำลังการผลิต 100,000 คันต่อปี รองรับทั้งตลาดในประเทศและส่งออกไปยังตลาดพวงมาลัยขวาทั่วโลก