ยังไม่ฟื้น ยอดขายรถ มีนาคม ร่วงต่อเนื่อง 29.8% EV ติดลบ 25% ไฮบริดขยายตัว
ยอดขายรถยนต์เดือน มีนาคม 2567 ยังหดตัวต่อเนื่อง ติดลบ 29.8% "อีวี" ร่วง ไฮบริด ขยายตัว โตโยต้า คาดเมษายน ค่อยๆ ฟื้นตัว รับปัจจัยบวกเทศกาลสงกรานต์ ดันเงินหมุนเวียน และยอดจองต่อเนื่องงาน บางกอก มอเตอร์โชว์
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์ไทยยังคงมีทิศทางชะลอตัว
โดยเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา มียอดขายรถยนต์ 56,099 คัน ลดลง 29.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว
โดยรถยนต์นั่งมียอดขาย 22,342 คัน ลดลง 25.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 33,757 คัน ลดลง 32.6% และเฉพาะรถปิกอัพ 1 ตัน มียอดขาย 19,648 คัน ลดลง 45.5%
ยอดขายที่ลดลง เป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงมีจำกัด รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
และหากแยกกลุ่มพลังงาน พบว่าเดือนมีนาคม รถในกลุ่มไฮบริด หรือ HEV มียอดขาย 12,689 คัน เพิ่มขึ้น 68.9% มีผลทำให้รถยนต์ที่ใช้พลังงานในการขับเคลื่อนหรือ xEV เติบโต 19.5%
ขณะที่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ EV มียอดขาย 5,167 คัน ลดลง 25.6% และรถปลั๊ก-อิน ไอบริด (PHEV) ยอดขาย 897 คัน ลดลง 27.1%
ส่วนแนวโน้มเดือนเมษายนมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เป็นผลมาจากกระแสการท่องเที่ยวในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ช่วยเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนภายในประเทศ และเป็นหนึ่งในปัจจัยบวกต่อเศรษฐกิจในภาพรวม
รวมถึงการเริ่มส่งมอบรถยนต์ที่จองในงาน บางกอก อินเตอร์เนชันแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 45 ที่ผ่านมา
สำหรับรายละเอียดประเภท และ 3 อันดับ ยอดขาย เดือนมีนาคม 2567
ตลาดรถยนต์รวม 56,099 คัน ลดลง 29.8%
- โตโยต้า 21,582 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
- อีซูซุ 8,861 คัน ลดลง 48.3 % ส่วนแบ่งตลาด 15.8%
- ฮอนด้า 8,219 คัน ลดลง 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
ตลาดรถยนต์นั่ง 22,342 คัน ลดลง 25.1%
- โตโยต้า 6,606 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.6%
- ฮอนด้า 4,869 คัน ลดลง 31% ส่วนแบ่งตลาด 21.8%
- มิตซูบิชิ 2,039 คัน เพิ่มขึ้น 14% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%
รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 33,757 คัน ลดลง 32.6%
- โตโยต้า 14,976 คัน ลดลง 5% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%
- อีซูซุ 8,861 คัน ลดลง 48.3% ส่วนแบ่งตลาด 26.2%
- ฮอนด้า 3,350 คัน เพิ่มขึ้น 7% ส่วนแบ่งตลาด 9.9%
รถปิกอัพ 16,212 คัน ลดลง 45.3%
- โตโยต้า 7,367 คัน ลดลง 31.5% ส่วนแบ่งตลาด 45.4%
- อีซูซุ 6,705 คัน ลดลง 50.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
- ฟอร์ด 1,062 คัน ลดลง 63.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.6%
ยอดขายรถพีพีวี 3,436 คัน ประกอบด้วย
- โตโยต้า 1,262 คัน
- อีซูซุ 1,160 คัน
- ฟอร์ด 682 คัน
- มิตซูบิชิ 298 คัน
- นิสสัน 34 คัน
ส่วนยอดขายรวมไตรมาสแรก ทำได้ทั้งสิ้น 163,756 คัน ลดลง 24.6% จากไตรมาสแรก 2566
- โตโยต้า 58,810 คัน ลดลง 21.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
- ฮอนด้า 25,104 คัน ลดลง 3.3% ส่วนแบ่งตลาด 15.3%
- อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
รถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 65,615 คัน ลดลง 15.4%
- โตโยต้า 16,631 คัน ลดลง 40.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.3%
- ฮอนด้า 14,198 คัน ลดลง 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 21.6%
- มิตซูบิชิ 4,954 คัน ลดลง 5.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%
รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 98,141 คัน ลดลง 29.7%
- โตโยต้า 42,179 คัน ลดลง 10.3% ส่วนแบ่งตลาด 43%
- อันดับที่ อีซูซุ 24,444 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
- ฮอนด้า 10,906 คัน เพิ่มขึ้น 33.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
รถปิกอัพ 1 ตัน ยอดขายรวม 46,611 คัน ลดลง 44%
- โตโยต้า 21,600 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 46.3%
- อีซูซุ 18,313 คัน ลดลง 50.9% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
- ฟอร์ด 3,792 คัน ลดลง 49.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
ส่วนรถยนต์พีพีวี มียอดขายรวม 9,814 คัน
- โตโยต้า 3,648 คัน
- อีซูซุ 3,168 คัน
- ฟอร์ด 2,139 คัน
- มิตซูบิชิ 732 คัน
- นิสสัน 127 คัน