ตลาดรถยนต์ ต่ำสุดรอบ 15 ปี ไม่ถึง 6 แสนคัน ขอรัฐออก 3 มาตรการกระตุ้น
ค่ายรถทำใจ ตลาดรถยนต์ ปีนี้ไม่ถึง 6 แสนคัน หลังหลายปัญหารุมเร้า ทั้งภาวะเศรษฐกิจ สถาบันการเงินเข้มปล่อยสินเชื่อ หลังหนี้ครัวเรือน หนี้เสียพุ่ง ส่งผลอัตราปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 70%
ตลาดรถยนต์ปี 2567 มีทิศทางที่ชะลอตัวตั้งแต่ต้นปี และล่าสุดเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา มียอด 37,691 คัน ทำสถิติต่ำสุดในรอบกว่า 4 ปี หลากที่เคยเกิดขึ้นในเดือนเม.ย. 2563 ซึ่งมียอด 30,109 คัน เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มรุนแรงในช่วงเวลานั้น
ส่วนการที่ตลาดปีนี้หดตัวอย่างต่อเนื่องมาจากหลายปัญหา ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะตัวอย่างรุนแรง ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง รวมถึงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
ธวัชชัย จึงสงวนพรสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท พระนครยนตรการ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าอัตราการปฎิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินสูงมากระดับ 70%
และหากเป็นกลุ่มรถปิกอัพ โดยเฉพาะกลุ่มซิงเกิลแค็บ และแบบแค็บ จะมีอัตรรส่วนสูงยิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาหนี้เสีย หรือ เอ็นพีแอล ที่อยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินต้องป้องกันความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของตนเอง
ดังนั้นเมื่อรวมกับภาวะเศรษฐกิจที่ละลอตัวจึงส่งผลต่อภาพรวมตลาดทีหดตัวอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตามคาดว่าการพยายามแก้ปัญหาของผู้ประกอบการ และการออกมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐจะทำให้สถานการณ์ค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลา โดยประเมินว่าปี 2568 ตลาดจะใกล้เคียงกับปีนี้ และจะเริ่มดีขึ้นในปี 2569
รถมือสองราคาร่วงส่งผลสินเชื่อเข้ม
ธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อนอกจากเป็นผลจากภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงแล้วทำให้ต้องปล่อยสินเชื่อแบบระมัดระวังแล้ว ยังเป็นผลมาจากการเกิดสงครามราคาในตลาดรถยนต์ที่ทำให้ตลาดรถมือสองมีระดับราคาที่ลดลง เนื่องจากรถใหม่ที่ซื้อทีหลังราคาลดลง
“เช่นรถใหม่ขาย 1 ล้านบาท ผ่านไปสักระยะราคารถใหม่ลดลง 2 แสนบาท ทำให้ราคารถล็อตแรกเมื่อเป็นมือสองหากลดตามปกติดอาจแพงกว่ารถป้ายแดงรุ่นเดียวกันแต่ขายทีหลัง ทำให้ไฟแนนซ์มีความเสี่ยงในการบริหารสินเชื่อ และการจัดการกับรถที่ลูกค้าเลิกผ่อนต่อ”
ทั้งนี้ความเข้มงวดของสถาบันการเงินบวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจทำให้ตลาดรถยนต์ติดลบชัดเจน โดยเฉพาะรถปิกอัพที่ติดลบประมาณ 40% สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาดรวม ทำให้มีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภค เนื่องจากปิกอัพเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่
ในด้านภาพรวมตลาดปีนี้ประเมินว่าจะอยู้ในระดับประมาณ 5.8 แสนคัน ลดลง 26% จากปีที่ผ่านมา แม้ว่าปีนี้จะมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรืออีวี (EV) เข้ามาเปิดตัวใหม่หลายแบรนด์และหลายรุ่น นั่นเป็นเพราะตลาดอีวีก็ลดลงเช่นกัน
โตโยต้ามอง 6 แสนคัน ผิดปกติ หวังรัฐกระตุ้น
โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์ปีนี้ประเมินว่าจะทำได้ประมาณ 6 แสนคัน ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ที่ผิดปกติของตลาดรถยนต์ไทย ส่วนตัวเลขที่เหมาะสมน่าจะอยู่ในระดับ 8 แสน- 1 ล้านคัน หรือ 1.1 ล้านคัน/ปี ซึ่งคาดหวังว่าจะกลับไปสู่ระดับนั้นหลังจากนี้
การที่ตลาดหดตัวแรง ส่วนหนึ่งมาจากตลาดปิกอัพที่เป็นตลาดใหญ่ของไทย ติดลบอย่างมาก ทำให้ฉุดตลาดรวมลงไปด้วย และที่สำคัญกว่านั้นคือฉุดระบบเศรษฐกิจลงไปด้วยเช่นกัน เพราะปิกอัพมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และที่สำคัญเป็นรถที่ใช้ชิ้นส่วนในประเทศที่สูงระดับ 80-90%
ส่วนสิ่งที่ต้องการเห็นจากภาครัฐคือ การออกมาตรการกระตุ้นในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น
มาตการกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์ระยะกลาง และระยะยาว ทั้งด้นรถยนต์ และชิ้นส่วน โดยเฉพาะรถในกลุ่มปิกอัพ พีพีวี ซึ่งมีพื้นฐานจากปิกอัพ และรถอีโค คาร์
การสนับสนุนการพัฒนาพลังงานใหม่รองรับยานยนต์แห่งอนาคตทั้งรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (xEV) และพลังงานหมุนเวียน
ทั้งนี้มองว่าปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังมุ่งไปที่พลังงานใหม่ตามกระแสโลก และการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่รัฐควรสนับสนุนหลายรูปแบบเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทั้ง อีวี ไฮบริด และปลั๊ก-อิน ไฮบริด
ซึ่งปัจจุบัน ไฮบริด ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ฝดดยช่วง 10 เดือนที่มา ขยายตัว 40% ขณะที่อีวีเติบโต 1%
เมินสงครามราคา ชี้ลดแรงสะท้อนกำไรสูง
ยามาชิตะกล่าวว่า สำหรับการเข้ามาของรถจากจีนเพิ่มขึ้น ทั้ง อีวี และ ไฮบริด ทั้งรถยนต์นั่ง เอสยูวี และเริ่มเห็นตลาดปิกอัพเพิ่มขึ้น โตโยต้ามั่นใจว่าจะสามารถแข่งขันได้ และขณะเดียวกันโตโยต้าก็กำลังพัฒนาพลังงานใหม่ ๆ เช่นกัน และจะพยายามมีทางเลือกที่หลากหลายเช่น ไม่ว่าจะเป็นอีวี ไฮบริด หรือ พลังงานหมุนเวียน
ส่วนการแข่งขันด้านราคาที่กำลังเป็นประเด็นที่ตลาดสนใจขณะนี้ โตโยต้าจะไม่มีแนวคิดที่ลงไปเล่นในเกมดังกล่าว เพราะเห็นว่าจะมีผลกระทบระยะยาวต่อธุกิจ และลูกค้าจากการที่โครงสร้งราคาไม่แน่นอน แต่จะเน้นการให้บริการหลังการขายเพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้รถได้ยาวนานด้วยความมั่นใจมากกว่า
“เราไม่ลดราคาแบบไม่สมเหตุสมผล ซึ่งการที่มีใครลดราคา 2 แสนบาทแล้วยังมีกำไร นั่นแสดงว่าเขาเป็นบริษัทที่มีความสามารถในการทำกำไรได้สูง”
ฟอร์ดหวังเห็นมาตรการด้านภาษี
รัฐการ จูตะเสน กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่าตลาดรถยนต์ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมามียอดขายประมาณ 4.7 แสนคัน จากภาวะเศรษฐกิจและการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวด โดยเฉพาะตลาดปิกอัพ
อย่างไรก็ตามการกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปี น่าจะทำให้เดือน ธ.ค. มียอดขายขยับขึ้นเป็น 5 หมื่นคัน และทำให้ตลาดรวมทั้งปีอยู่ที่ 5.67 แสนคัน ซึ่งต่ำสุดในรอบ 15 ปี
อย่างไรก็ตามฟอร์ดยังเชื่อมั่นในตลาดและอุตสาหกรรมประเทศไทย เพราะการทำธุรกิจเป็นการมองและวางแผนระยะยาว และในอนาคต ทุกอย่างจะปรับตัวดีขึ้น
ส่วนสิ่งที่อยากเห็นจากภาครัฐ คือ การออกมาตรการกระตุ้นที่หลากหลาย เช่น มาตรการด้านภาษีเช่นการลดหย่อนภาษีการซื้อรถ เช่นเดียวกับมาตรการในตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ส่วนมาตรการที่รัฐจะหนนให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อ ทั้งรถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ และเอสเอ็มอี ขณะนี้ยังไม่ออกมา แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะนำมาใช้ ซึ่งน่าจะช่วยได้อีกทางหนึ่ง
หวังมหกรรมยานยานยนต์กระตุ้นยอด
และสำหรับตลาดรถยนต์ช่วงนี้คาดหวังว่าการจัดงานมหกรรมยานยนต์ซึ่งเริ่มต้นขึ้นวานนี้ (28 พ.ย.) สำหรับรอบสื่อมวลชน จะมีส่วนกระตุ้นตลาดช่วงปลายปี จากกาที่หลายค่ายมีแคมเปญส่งเสริมการขาย และมีรถใหม่มาเป็นทางเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น