"ทางร่วม ทางแยก" อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

"ทางร่วม ทางแยก"  อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

อุตสาหกรรมยานยนต์ปีนี้ ถดถอยค่อนข้างรุนแรง  ซึ่งประเมินกันหลากหลายมุมมอง แน่นอนที่หนี่ไม่พ้นคือ ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา ก่อให้เกิดภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูง หนี้เสียที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ แต่จริง ๆ แล้วยังมีเหตุผลที่มากกว่านี้

อีกเหตุผลหนึ่งในการถดถอยของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่อาจจะไม่ใครค่อยพูดถึงกันนัก ทั้ง ๆ ที่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นมาสักพัก และเกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ คือ แรงจูงใจในการเป็นเจ้าของรถที่ลดลง ทั้งเหตุผลจากการที่ผู้บริโภคยุคใหม่มองรถยนต์เป็นภาระ และความสะดวกสบายในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นจากระบบขนส่งสาธารณะ โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ ๆ 

แต่ประเด็นที่สร้างความสนใจให้ผู้คนมากกว่า คือ โครงสร้างอุตสาหกรรมและตลาดรถยนต์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเติบโตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) ที่เชื่อว่าเป็นตัวดิสรัป รถยนต์พลังงานดั้งเดิม ส่งผลให้ยอดขายลดลง และบางแบรนด์ก็ได้รับผลกระทบถึงความแข็งแกร่งของบริษัท

หากจะบอกว่ามีผลก็ใช่ แต่อย่าลืมหากตลาดทดแทนกันจริง ภาพรวมตลาดจะต้องไม่ติดลบ 

แต่หากมองกันในรายละเอียดลงไป ก็ต้องยอมรับว่า อีวี ก็มีผลจริง เพราะดูจากการตัดสินใจเลือกซื้อของลูกค้า หลายคนก็เปลี่ยนไปทาง อีวี จริง ๆ ด้วยข้อได้เปรียบหลายอย่าง ทั้งด้านราคาที่ต่ำกว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันที่ต่ำกว่า

แต่หากจะวิเคราะห์กันจริงจัง หากดูองค์ประกอบอื่น ๆ อย่างละเอียด หลายคนก็อาจจะมีคำถามว่า ตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง หรือเป็นเพราะสิ่งอื่น เช่น ภาษี ทั้งภาษีรถ ภาษีอีวี ภาษีน้ำมัน และการส่งเสริมสนับสนุน เช่น สนับสนุนการใช้งาน อีวี การสนับสนุนค่าไฟ เป็นต้น 

เมื่ออยู่บนคนละกติกากัน แน่นอนว่าก็ทำให้หลายคนมองว่าควรจะต้องมีการเขย่ากันใหม่หรือไม่ โดยก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการหลายรายก็ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ เช่น เรื่องของรถอีโค คาร์ โปรดักท์  แชมเปี้ยน ตัวที่ 2 ของไทยที่เกิดจากการนับสนุนจากภาครัฐ ก็เตรียมที่จะถูกลดบทบาทลงจากโครงสร้างภาษีใหม่ที่จะเริ่มต้นใช้ในปี 2569 ซึ่งจะทำให้มีภาระภาษีที่สูงขึ้น เป็นต้น 

อีกสิ่งหนึ่งที่อุตสาหกรรมกังวลก็คือ เครือข่ายธุรกิจ อุตสหกรรม เช่น ชิ้นส่วนที่จะหายไปไม่น้อย หากเปลี่ยนเป็นการผลิต อีวี ซึ่งประเมินว่าค่อนข้่างรุนแรง

เพราะไม่เพียงแต่ชิ้นส่วนจะลดลงเท่านั้น แต่สัดส่วนความต้องการก็ลดลงไปด้วย โดยช่วงแรกของการประกอบอีวีในไทย โรงงานต่าง ๆ เริ่มต้นด้วยการพยายามหาชิ้นส่วนในประเทศให้ตรงกับที่รัฐกำหนดคือ 40% 

ขณะที่การประกอบของผู้ประกอบการเริ่มเดิมนั้น ใช้ชิ้นส่วนในประเทศสูงกว่ามาก โดยเฉพาะกลุ่มปิกอัพที่บางรุ่นใช้เกือบจะ 100% ไปแล้ว 

พูดถึงช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างผู้มาใหม่กับรายเดิม ระหว่างอีวี กับ เครื่องยนต์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมากมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเมื่อ อากิโอะ โตโยดะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น เยือนไทยและได้เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีของไทย 

โดยบิ๊กโตโยต้า ระบุว่าดำเนินธุรกิจในไทยมาแล้วกว่า 60 ปี และไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญ ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นในชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ของไทย ที่มีคุณภาพ 

ทั้ง 2 ฝ่ายยังหารือถึงแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเห็นพ้องถึงการจัดทำนโยบาย และมาตรการต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะรถกลุ่มไฮบริด (Hybrid) พร้อมระบุว่ามีแผนที่จะลงทุนด้านนี้เพิ่มเติมอีกราว 5.5 หมื่นล้านบาท

แม้จะคุยกันไม่นาน แต่ก็เชือว่ามีการพูดคุยกันระหว่างทีมงานและหน่วยงานต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว

จริง ๆ แล้วก่อนหน้านี้ โตโยต้า ประเทศไทย ก็มีการเคลื่อนไหวแล้ว จากการนำเสนอภาครัฐให้สนับสนุนอุตสหกรรม 3 มาตรการ คือ

  • มาตรการระสั้น คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และกระตุ้นตลาดรถยนต์ เช่น การทำให้สถาบันการเงินผ่อนคลายเงื่อนไขปล่อยสินเชื่อ
  • การสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นปิกอัพ พีพีวี และอีโคคาร์
  •  มาตการสนับสนุนพลังงานทางเลือกทีไม่ควรมีเฉพาะ อีวี แต่ต้องมีทางเลือกที่ครอบคลุมไม่ว่าจะเป็น ไฮบริด, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด หรือว่าเซลล์พลังงาน (fuel cell) ควบคู่ไปด้วยเช่นกัน 

 ซึ่งต้องรอดูทีท่าและแนวโนบายของรัฐจากนี้ไปว่าจะออกมาในรูปแบบใด จะหนุนไปทิศทางเดียว หรือยังมีทางหลักทางรองเป็นตัวเลือกให้ได้ใช้งาน