ตลาดรถยนต์กุมภาพันธ์ ร่วง 6% ลุ้น 'กระบะพี่ มีคลังค้ำ' ฟื้นปิกอัพ

โตโยต้า รายงานตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 49,313 คัน ประเมินเดือนมีสคม ทรงตัว จากภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ลุ้นมาตรการหนุน เอสเอ็มอี ซื้อปิกอัพ ช่วยฟื้นตลาด
ศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 49,313 คัน ลดลง 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา แบ่งเป็น
- ตลาดรถยนต์นั่งมียอดขาย 18,937 คัน ลดลง 4.7%
- รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) ยอดขาย 30,376 คัน ลดลง 7.9%
- และรถกระบะขนาด 1 ตัน (รวมพีพีวี) ยอดขาย 16,144 คัน ลดลง 14.3%
และหากแยกประเภทพลังงาน พบว่าตลาด xEV มียอดขาย 20,850 คัน คิดเป็นสัดส่วน 42.3% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด
และหากเทียบกับยอดขายรวมระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ของปีที่แล้ว พบว่ายอดขายรถ HEV ลดลง 2% ด้วยยอด 22,913 คัน ขณะที่รถพลังงานไฟฟ้า หรือ EV ลดลง 2% ด้วยยอดขาย 15,172 คัน
ส่วนแนวโน้มตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม มีแนวโน้มทรงตัว เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
อย่างไรก็ตามในส่วนของตลาดรถปิกอัพปีนี้ มีลุ้นปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการใหม่ “กระบะพี่ มีคลังค้ำ” โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ภายใต้โครงการค้ำประกันสินเชื่อเช่าซื้อ “บสย. SMEs PICK-UP” ซึ่งจะเปิดรับคำขอค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน
รวมถึงกรที่ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ ออกเงื่อนไขและข้อเสนอพิเศษรองรับการใช้งานของลูกค้าในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs ซึ่งอาจช่วยผลักดันให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อลงทุนในยานพาหนะ สำหรับนำไปใช้ในธุรกิจมากขึ้น
นอกจากนี้ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ การจัดโปรโมชันการขาย และแพ็กเกจที่น่าสนใจจากหลากหลายแบรนด์ ที่นำเสนอในงาน “บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46” วันที่ 26 มีนาคม-6 เมษายนนี้ อาจเป็นปัจจัยบวกในการช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อีกด้วย
สำหรับยอดจำหน่ายเดือนกุมภาพันธ์ 3 อันดับแรกประกอบด้วย
ตลาดรวม 49,313 คัน ลดลง 6.7% 3
- โตโยต้า 18,729 คัน ลดลง 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 38%
- อีซูซุ 6,832 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.9%
- ฮอนด้า 6,398 คัน ลดลง 25.5% ส่วนแบ่งตลาด 13%
รถยนต์นั่ง 18,937 คัน ลดลง 4.7%
- โตโยต้า 6,622 คัน เพิ่มขึ้น 35.7% ส่วนแบ่งตลาด 35%
- ฮอนด้า 3,066 คัน ลดลง 35.1% ส่วนแบ่งตลาด 16.2%
- มิตซูบิชิ 1,044 คัน ลดลง 38.8% ส่วนแบ่งตลาด 5.5%
รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 30,376 คัน ลดลง 7.9%
- โตโยต้า 12,107 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
- อีซูซุ 6,832 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 22.5%
- ฮอนด้า 3,332 คัน ลดลง 13.8% ส่วนแบ่งตลาด 11%
รถปิกอัพ 13,219 คัน ลดลง14.9%
- โตโยต้า 5,946 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 45%
- อีซูซุ 4,984 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
- มิตซูบิชิ 982 คัน เพิ่มขึ้น 40.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.4%
รถพีพีวี 2,925 คัน
- อีซูซุ 1,123 คัน -
- โตโยต้า 1,048 คัน
- ฟอร์ด 579 คัน
- มิตซูบิชิ 142 คัน
- นิสสัน 33 คัน
ส่วนสถิติการขายช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 3 อันดับแรก ประกอบด้วย
ตลาดรถยนต์รวม 97,395 คัน ลดลง 9.5%
- โตโยต้า 36,108 คัน ลดลง 3% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
- ฮอนด้า 13,460 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.8%
- อีซูซุ 12,969 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%
รถยนต์นั่ง 37,180 คัน ลดลง 14.1%
- โตโยต้า 12,466 คัน เพิ่มขึ้น 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
- ฮอนด้า 6,855 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
- มิตซูบิชิ 1,992 คัน ลดลง 31.7% ส่วนแบ่งตลาด 5.4%
รถเพื่อการพาณิชย์ (รวมปิกอัพ) 60,215 คัน ลดลง 6.5%
- โตโยต้า 23,642 คัน ลดลง 13.1% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
- อีซูซุ 12,969 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 21.5%
- ฮอนด้า 6,605 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งตลาด 11%
รถปิกอัพ 25,480 คัน ลดลง 16.2%
- โตโยต้า 11,462 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งตลาด 45%
- อีซูซุ 9,373 คันลดลง 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
- มิตซูบิชิ 1,964 คัน เพิ่มขึ้น 61.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
รถพีพีวี 6,027 คัน
- อีซูซุ 2,232 คัน
- โตโยต้า 2,116 คัน
- ฟอร์ด 1,283 คัน
- มิตซูบิชิ 320 คัน
- นิสสัน 76 คัน