เข้าใจพฤติกรรม Connected Consumers ชาวไทยในยุคสังคมดิจิทัล
ดิจิทัล (digital) เป็นคำที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวัน เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนวิถีของสังคมไทย
ห้วใจของดิจิทัล คือ เทคโนโลยีที่เชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน และเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของเรา
ผู้บริโภคสามารถใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย พวกเขามีอำนาจมากขึ้นทั้งการซื้อ การเลือกสินค้า การใช้ชีวิต รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ต่างๆ สังคมดิจิทัล ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจของผู้บริโภคในวันนี้และอนาคต
ในปี 2025 คาดว่า เทคโนโลยีดิจิทัล จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 10.8 ล้านล้านดอลลาร์ โดยส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของ emerging economy และ existing economy เศรษฐกิจดิจิทัลมีความเชื่อมโยงกับประชากรทั่วโลกมากกว่า 4,000 ล้านคน (Mckinsey Research Global Institute)
ที่ Kantar TNS เราจะเรียกผู้บริโภคในยุคดิจิทัว่า Connected Consumer เพราะไม่ว่าเขาจะเป็นชาติอะไร เพศอะไร อายุเท่าไหร่ สิ่งที่เหมือนกันคือ พวกเขามีความต้องการเชื่อมโยงกับผู้คนรอบข้างโดยผ่านทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา คาดการณ์ว่าภายในปี 2020 จะมี Connected Consumers มากกว่า 4,000 ล้านคนทั่วโลก
10 พฤติกรรมของ Connected Consumers ชาวไทยที่น่าสนใจ คือ
1.ต้องการอำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆด้วยตัวเอง พวกเขาต้องการเป็นผู้เลือก ไม่ใช่ผู้ถูกเลือกโดยแบรนด์ต่างๆ พวกเขาเชื่อในอำนาจในการกำหนดอนาคต และความสามารถของตัวเอง พวกเขาจึงมีความหวัง ความฝันที่เขาเชื่อว่าทำให้เป็นความจริงได้
2.พวกเขาจะรู้สึกอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์ต่างๆ ก็ต่อเมื่อพวกเขาได้ประโยชน์อะไรบางอย่าง มีประโยชน์ที่พูดถึงนี้อาจจะไม่ใช่แค่การได้รับส่วนลด หรือของฟรีเท่านั้น แต่เป็นการได้รับความรู้ ความใส่ใจ การให้เกียรติ และการมีส่วนร่วม
3.เชื่อเพื่อนมากกว่าแบรนด์ โดยเฉพาะข้อมูลจากประสบการณ์จริง ของเครือข่ายดิจิทัล โดยชอบที่จะค้นคว้าหาความรู้เอง
4.ผู้บริโภคในยุคนี้ชอบที่จะถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดเห็น และเรื่องราวของตัวเองให้ผู้อื่นทราบ โดยมีความภาคภูมิใจ เมื่อมีการตอบสนองจากผู้อื่น เช่นการได้ไลค์เยอะๆ
5.การมีความชอบที่เหมือนกัน เป็นตัวเชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าด้วยกัน ทำให้มีการขยายเครือข่ายเฉพาะกลุ่มออกไปอย่างออกไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว โดยมีความสนใจเฉพาะเรื่องเป็นศูนย์กลาง
6.ชอบวิจารณ์ประเด็นสังคม ที่กำลังเป็นที่สนใจ และจะหมดความสนใจอย่างรวดเร็วหากสิ่งนั้นไม่ใช่กระแสอีกต่อไป
7.ให้ความสำคัญกับคุณค่า และความสัมพันธ์ จึงมักจะมอบแบรนด์ที่คุณค่าที่แบรนด์นั้นนำเสนอ นอกเหนือจากสินค้า หรือ ราคาเพียงอย่างเดียว เขาจึงมักมองแบรนด์เปรียบเทียบเป็นคนที่มีความรู้สึกและอุดมการณ์
8.มีการเชื่อมโยงระหว่างชีวิตออฟไลน์และออนไลน์ อย่างแยกไม่ออก ทำให้ได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับแบรนด์ แบบรอบด้าน เช่นเริ่มจากออนไลน์และไปจบที่ออฟไลน์ หรือ เริ่มจากออฟไลน์และไปซื้อออนไลน์
9. โหยหาความเป็นตัวของตัวเอง (Unique) แม้ว่า Connected Consumers จะมีความสุขกับการเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์ แต่พวกยังคงโหยหาความเป็นตัวของตัวเอง พวกเขาต้องการความรู้สึกว่าเป็นคนสำคัญ เป็นคนพิเศษ มีความโดดเด่นแตกต่างจากคนอื่น (Connected but fragmented)
10.ต้องการ“Smart Products” คือสินค้าที่ทำงานอย่างฉลาดขึ้น ตอบสนองความต้องการได้รอบด้าน และรวดเร็วมากขึ้น เป็นสินค้าที่ทำได้มากกว่าที่คาดหวัง สร้างความแปลกใหม่ ทำให้ตื่นเต้นโดยผ่านทางเทคโนโลยีทันสมัย
ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล มีความต้องการที่ซับซ้อน และดูเหมือนจะขัดแย้งกันเอง แต่มีความกลมกล่อมลงตัว เช่น ต้องการทั้งความเป็นส่วนตัว และความเชื่อมโยง (Privacy vs Being connected) ต้องการความลึกแต่ครอบคลุม ต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้งแต่ก็เหมาะกับทุกสถานการณ์ แต่ที่สำคัญคือ ต้องโดดเด่นและทดแทนได้ยาก