เบื่องาน-หมดไฟ-หมดใจ Bore-out > Burn-out > Brown-out

เบื่องาน-หมดไฟ-หมดใจ Bore-out > Burn-out > Brown-out

ตอนเข้าทำงานแรกๆ มันก็ดี...แต่ทำมาไม่กี่ปีก็เริ่ม เบื่องาน-หมดไฟ-หมดใจ...ทำยังไงดี?

เริ่มต้นจาก “เบื่องาน Bore-out” อาการที่เรียกว่า “เบื่องาน” พอใกล้ถึงวันจันทร์ทีไรกลับรู้สึกหดหู่และเบื่อหน่าย แต่พอถึงวันศุกร์หรือช่วงใกล้วันหยุดนักขัตฤกษ์ กลับมีความกระดี๊กระด๊าขึ้นมาอย่างทันตาเห็น นานไปสักพัก จาก “เบื่องาน” ก็กลายเป็น “หมดไฟ Burn-out”  แล้วสะสมพอกพูนโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะ “หมดใจ Brown-out” ในที่สุด!

หากเปรียบการทำงานเหมือนความรัก ช่วงเบื่อก็คงจะเทียบได้กับรักที่หมดโปรโมชัน ช่วงแรกๆ อะไรๆ มันก็ดี มีปัญหาอะไรก็พยายามที่จะอดทนฝ่าฟัน งานที่ได้รับมอบหมายก็ยังน่าตื่นเต้นอยู่บ้าง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าก็ยังดีอยู่ แต่พอเริ่มเจอปัญหาในแต่ละวันจากการทำงาน ไม่ว่าจะงานมากไป งานน้อยไป งานไม่ท้าทาย หรือเพื่อนร่วมงานน่าเบื่อ ก็เริ่มสะสมความเครียดเอาไว้ทีละเล็กละน้อย ถ้าความเครียดไม่ได้รับการจัดการหรือปัญหาที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการแก้ไขก็จะนำไปสู่อาการเบื่องานแบบต่าง ๆ

ภาวะเบื่องาน (Bore-out)

อาการนี้ก็ตรงไปตรงมาตามชื่อเรียก ก็คือ เบื่องานนั่นเอง สาเหตุของการเบื่องานนั้นแทบจะตรงข้ามกับสาเหตุของ Burn-out เลยก็ว่าได้ คือเป็นการเบื่อกับงานที่ทำเพราะมันไม่ท้าทายความสามารถ หรือรู้สึกไม่พึงพอใจกับลักษณะของงานที่ได้รับมอบหมายเพราะมันดูไม่มีอะไรเลย 

ซึ่ง Bore-out มักจะเกิดขึ้นกับคนทำงานที่มีโปรไฟล์ดี หรือมีศักยภาพสูงกว่าตำแหน่งงานของตัวเอง หรือแวดล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมทีมรวมไปถึงหัวหน้าที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ขาดโอกาสในการได้แสดงศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ นำไปสู่ความรู้สึกว่าตัวเองถูกลดทอนคุณค่าความสามารถ และเกิดอาการเบื่องานในที่สุด เพราะสำหรับคนทำงานบางคนแล้ว การได้ตำแหน่งงานที่ไม่ค่อยมีงานให้ทำมากนัก หรือ เป็นงานแบบเรื่อยๆ ไม่ค่อยมีอะไรให้ต้องแก้ปัญหาก็เป็นความทรมานอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันงานที่ทำก็เป็นเหมือนกรงทองที่ให้เงินเดือนดี มีความมั่นคงสูง ทำให้ไม่อยากลาออกจากงานแต่ก็เบื่องานที่ทำ

ภาวะหมดไฟ (Burn-out)

ภาวะ Burn-out มักเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตกอยู่ในสภาวะการทำงานที่เคร่งเครียดและกดดันเป็นเวลานานจนเกินไป ต้องรับผิดชอบทำงานในส่วนที่ตนเองไม่ได้มีความรักและปรารถนาที่จะทำ (Passion) ขาดความถนัด หรืองานมีลักษณะน่าเบื่อ ขาดความท้าทาย ไม่ได้รับความใส่ใจ การยอมรับ หรือ ได้รับค่าตอบแทนน้อย ไม่เหมาะสมกับงานที่ทำงานมีปริมาณมากแต่อัตราคนน้อย หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานขาดแคลน 

องค์กรขาดความมั่นคง ความชัดเจนในนโยบายการบริหาร หรือมีค่านิยมองค์กรที่ขัดแย้งกับค่านิยมในใจของบุคคลระบบการทำงานขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัดสินใจหรือไม่มีอำนาจในการสั่งการ แต่มีความรับผิดชอบมากความไม่ยุติธรรมในองค์กร ความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมงานหรือระหว่างลูกน้องกับเจ้านาย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของบุคคล ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอนอกเหนือจากการทำงานแล้ว ยังมีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบครอบครัวหรือสิ่งอื่นๆ โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ เช่น ต้องดูแลพ่อแม่สูงอายุและลูกเพียงลำพังอยู่ในสัมพันธภาพกับคู่สมรสหรือครอบครัวที่มีปัญหาความขัดแย้ง ไม่รู้สึกปลอดภัย ค่านิยมการทำงานหนักโดยไม่จำเป็น และเมื่อไรที่พบว่า 

Burn-out แนะนำให้ “หยุดพัก” แล้วมาคิดใคร่ครวญกับตัวเองดู ซึ่งจึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดี ที่เราจะได้ตัดสินว่าพร้อมจะปลดอะไรที่ไม่จำเป็นออกไปจากชีวิตการทำงานบ้าง

ภาวะหมดใจ (Brown-out)

Brown-out เป็นภาวะหมดใจ เกิดขึ้นกับคนทำงาน ที่รู้สึกไม่มีความสุข เบื่อหน่าย และทุกข์ทรมาน กับเงื่อนไขและระบบบางอย่างขององค์กร ซึ่งคนที่มีอาการ Brown-out ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันของพนักงานกับองค์กรจะค่อยๆ ลดน้อยลง เกิดการถอยห่างจนกระทั่งลาออกจากองค์กรไปในที่สุด 

Burn-out คือ ภาวะหมดไฟ เหนื่อยล้าจากการทำงานที่มีความเครียดหรือกดดันเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเป็นอาการชั่วคราวที่สามารถเยียวยาให้หายได้อันเนื่องมาจากตัวบุคคลเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ Brown-out เป็นภาวะของความเหนื่อยหน่ายกับเงื่อนไขและระบบขององค์กร โดยมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นและยังคงทำงานได้เหมือนเดิม แต่ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อบริษัทจะค่อยๆ ลดลงจนลาออกไปในที่สุด

กล่าวโดยสรุป...ทั้งภาวะเบื่องาน หมดไฟ และหมดใจ ต่างก็เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในช่วงเวลาการทำงาน ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ดังนั้น อย่าปล่อยให้ภัยเงียบเหล่านี้มาทำลายชีวิตและความสุขของเรา ต้องรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนและหาวิธีรับมืออย่างเหมาะสม เพื่อให้ชีวิตและการทำงานมีความสุขและสมดุล