เอเปค (APEC) เวทีสร้าง soft power ของไทย อย่างไร?

เอเปค (APEC) เวทีสร้าง soft power ของไทย อย่างไร?

อยากกล่าวถึง เอเปค (APEC 2022) เวทีสร้าง soft power ของไทย ซึ่งหลากหลายประเด็นที่ควรแสดงทัศนะ และอภิปรายด้วยข้อมูลและมุมมองสร้างสรรค์

ถกถามความคุ้มค่ากับการจัดประชุมเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่งต้องรู้ก่อนว่า เวทีนี้การส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนา

เอเปค มีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ รัสเซีย เป็นต้น และไทยเราเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง 

  • ประชากรรวมกว่า 2,900 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของโลก 
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) รวมกันกว่า 53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 ล้านล้านบาท เกินครึ่งของ GDP โลกและมีมูลค่าการค้ารวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของการค้าโลก

ความความคุ้มค่า คือ ทั่วทุกมุมโลกจับจ้องประเทศไทยกลายเป็นที่พูดถึงและค้นหาข้อมูลด้านต่าง ๆ และยิ่งถ้าประเทศของเราเป็นเวทีที่ผลักดันให้เป็นรูปธรรมและเป็นผลลัพธ์ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้

- การส่งเสริมการค้าการลงทุนเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเอเปค ผ่านการขับเคลื่อนการเจรจาเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of Asia-Pacific: FTAAP) ในบริบทของการเจริญเติบโตหลังโควิด ที่จะต้องยั่งยืนและสมดุล และเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน

- ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย ผ่านการจัดตั้งกลไก APEC Safe Passage Taskforce เพื่อหารือแนวทางที่ส่งเสริมการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย อาทิ การอำนวยความสะดวกอาชีพสำคัญ เช่น ลูกเรือ การส่งเสริมการใช้ Public Key Infrastructure ในการแชร์ข้อมูลด้านสุขภาพในภูมิภาค และการขยายคุณสมบัติของบัตรเดินทางสำหรับนักธุรกิจเอเปค (APEC Business Travel Card: ABTC) ให้ครอบคลุมผู้เดินทางกว้างขึ้น

 

 

- การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในเอเปค ด้วยการจัดทำเอกสารผลลัพธ์ระดับผู้นำเพื่อเร่งการพัฒนาตามแผนงานของเอเปคไปสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็ง ยืดหยุ่น ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุลในยุคหลังโควิด ตามแนวคิด BCG Economy (เอเปคคืออะไร? , www.apec2022.go.th/th/what-is-apec-th, 2565)

ประโยชน์ที่ประเทศไทย และประชาชนไทย จะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2022

  • ส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ทำให้ธุรกิจทั้งรายเล็กรายใหญ่ได้เข้าถึงประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างเต็มที่ การเร่งฟื้นฟูการเดินทางภายหลังวิกฤตโควิด-19 เพื่อประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นหัวใจของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การส่งเสริมเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้เศรษฐกิจไทยในระยะยาว
  • ไทยได้แสดงศักยภาพ และความพร้อมให้โลกได้เห็นผ่านความสำเร็จในการจัดประชุมตลอดทั้งปี การประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ที่จะเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่จัดแบบพบหน้า เป็นโอกาสให้ผู้นำเอเปคได้เดินทางมาพบหน้ากัน
  • โอกาสและช่องทางในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยในสัปดาห์การประชุมเอเปคจะมีผู้นำ และผู้แทนจากต่างประเทศเดินทางมาเยือนไทยประมาณ 3,000 คน และสื่อต่างชาติอีกกว่า 2,000 คน ซึ่งทุกคนจะได้เห็นศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน นำไปสู่โอกาสการค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น

 

  • โอกาสในการนำเสนอภาพความโดดเด่นทางวัฒนธรรม อาหาร การแสดง และเอกลักษณ์ความสวยงามของไทยจะถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งในการประชุมผู้นำเอเปคครั้งนี้ ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องอีกหลายรายการ อาทิ APEC CEO summit, ABAC, APEC SME ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ไทยได้ต้อนรับผู้นำจากหลายประเทศ ทั้งที่เป็นผู้นำเขตเศรษฐกิจ และเป็นแขกพิเศษ

การลงนามความตกลงทวิภาคีที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยอีกหลายฉบับ เป็นโอกาสให้รัฐบาลได้นำเสนอวิสัยทัศน์ และความมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมความยั่งยืน นวัตกรรม ควบคู่ไปกับศิลปวัฒนธรรมที่งดงาม โดยการประชุมนี้จะจัดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ green meeting เช่น รถยนต์ที่ใช้รับรองผู้นำก็จะเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในส่วนของการประชุมจะลดการใช้กระดาษให้มากที่สุด นำวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการตกแต่งสถานที่ และขยะพลาสติกในงานจะถูกนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิล (โฆษกรัฐบาลเปิดเผยถึงเนื้อหาและประโยชน์ที่ประเทศ และประชาชนไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค 2022, 2565, https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/61687)

เอเปค (APEC) สร้าง soft power ของไทย

การจัดประชุม เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ถือเป็นการแสดงศักยภาพ "พลังอำนาจอ่อน" ซอฟท์ พาวเวอร์ (soft power) ด้านต่าง ๆ ตามหลัก  5F ประกอบด้วย อาหารไทย (Food) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัวของไทย (Fighting) และเทศกาลประเพณีไทย (Festival) 

เริ่มที่ เทศกาลประเพณีไทย (Festival) 

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดกิจกรรม “VIJIT CHAO PHRAYA” ปรากฎการณ์แห่งแสงสีริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค  ตั้งแต่ 17-27 พ.ย. 2565 บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยารวมเป็น 6 จุด ประชาชนรับชมการแสดงแสงสีเสียงในจุดต่างๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 แสงสีได้สวยงามที่สุดจะเป็นการล่องเรือในเส้นทางท่องเที่ยวแม่น้ำเจ้าพระยา และริมแม่น้ำฝั่งตรงข้ามจุดที่ทำการแสดง โดยกิจกรรมครั้งนี้ ททท. ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการสร้างสีสันตลอดริม 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ต้อนรับการประชุมผู้นำเอเปค สร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ และยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการเรืออาหาร เรือนำเที่ยว โรงแรม ที่พัก ตลอดจนร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ทำการแสดง

ชุดการแสดงและกำหนดเวลาการแสดงใน 6 พื้นที่ริมน้ำเจ้าพระยาในกิจกรรม “VIJIT CHAO PHRAYA” มีดังนี้

1. สะพานพระราม 8 “ทอแสง วิจิตร ตระการ”  เป็นการแสดง Light Show & Laser เพื่อต้อนรับการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค ตามแนวคิด Open. Connect. Balance.และเป็นการเฉลิมฉลองการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวกลับมาโดยมีการย้อมไฟกับเส้นสายของสะพานพระราม 8 เกิดเป็นสีสันบรรยากาศ และฉายแสงเลเซอร์เป็นลวดลายและข้อความ ประกอบกับเสียงเพลงที่ผสมผสานความเป็นไทยเข้ากับดนตรีสากล จากศิลปิน The Sound of Siam จัดแสดงทุกวัน ๆ ละ 6 รอบ เวลา 19.00 น. 19.30 น. 20.00 น. 20.30 น. 21.00 น. และ 21.30 น.

2. ป้อมวิไชยประสิทธิ์ “วิจิตร ปราการ ธารธารา” เป็นการแสดง Projection Mapping ประกอบแสงสี และ Effect พิเศษ ถ่ายทอดเรื่องราวความรุ่งเรืองวิถีแห่งสายน้ำตราบอดีตจวบปัจจุบัน ที่มีการเดินเรือค้าขาย การเดินทางติดต่อทางการทูต วิถีชีวิตของคนไทยกับสายน้ำ และการต่อสู้เพื่อความสุขสงบสันติของแผ่นดินโดยใช้กำแพงป้อมที่งดงามเป็นพื้นที่ฉายภาพ จัดแสดงทุกวัน ๆ ละ 6 รอบ เวลา 19.00น. -19.06 น. 19.20- 19.26 น.20.00-20.06 น.20.06-20.26น.21.10-21.16น.และ 21.30-21.36 น. การแสดงมีเอฟเฟค ในวันที่ 19-20 พ.ย. ,24-27 พ.ย.65

3.วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร "นฤมิต วิจิตร นาฏกรรม" การแสดงทางวัฒนธรรมประยุกต์ ผสมผสานระบบเทคนิคพิเศษ   บอกเล่าเรื่องราวของประเพณีอันเรืองงามคู่สายน้ำเจ้าพระยา โดยมีหนังใหญ่และการแสดงทางวัฒนธรรม  ที่สืบเนื่องกับแม่น้ำร่วมแสดง สื่อถึงความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย ตลอดจนความสุข ที่เปี่ยมมิตรไมตรีและรอยยิ้ม จัดแสดงในช่วงวันที่ 18-20 พ.ย. ,25-27 พ.ย. 65 เวลา 19.30 -19.40 น. 20.30 -30.40 น. และ 21.30-21.10 น. มีการแสดงวัฒนธรรมและพลุ

4.สะพานพระพุทธยอดฟ้า "วิจิตร เรืองรอง ท้องนที" การแสดง Illumination Light Show ประกอบดนตรีที่สื่อถึงประสบการณ์การเดินทางแห่งความสุขในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย ถ่ายทอดออกมาเป็นการเล่นแสงไฟตามจังหวะเพลงที่น่าตื่นตาตื่นใจสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทย กระตุ้นให้เกิดการเดินทางออกไปค้นหา จัดแสดงทุกวัน ๆ ละ 6 รอบเวลา 19.15 น. 19.45 น. 20.15 น. 20.45 น. 21.15 น. และ 21.45 น. และมีการเพิ่มรอบการแสดงพลุ รับชมฟรี ในวันที่  19-20 และ 24-27 พ.ย. 65 เวลา 20.45-20.52 น.

5. ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก วิจิตรไทยแลนด์" การฉาย Projection Mapping ไปยังพื้นผิวอาคาร เป็นถ่ายทอดเรื่องราวของเสน่ห์แห่งแม่น้ำเจ้าพระยา และนำเสนอ SOFT POWER สำคัญในเมืองไทย   เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาสัมผัสประสบการณ์อันมหัศจรรย์ ทั้ง FOOD FILM FASHION FIGHT FESTIVAL จัดแสดงทุกวัน ๆ ละ 6 รอบ เวลา 19.00 น. 19.30 น. 20.00 น. 20.30 น. 21.00 น. และ 21.30 น. 

6.ไอคอนสยาม “วิจิตรธารา มหาปรากฏการณ์” การประดับไฟตกแต่งไอคอนสยามแบงคอกอิลูมิเนชั่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ด้วยพลังงานสะอาดจาก Solar Cell นวัตกรรมใหม่ที่สอดรับกับนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  สู่ชั้นบรรยากาศ และการแสดง The ICONIC Multimedia Water Feature การแสดงระบำสายน้ำประกอบแสงสีเสียงที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดแสดงทุกวัน ๆ ละ 4 รอบ เวลา 18.15 น. 19.15 น.  20.15 น. และ 21.15 น.

 มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัวของไทย (Fighting)

การสาธิตมวยไทยและ workshop จากยอดมวยไทย บัวขาว บัญชาเมฆ โชว์ที่ศูนย์สื่อมวลชน ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้สื่อข่าวทั้งไทยและต่างประเทศ โดยในงานนี้มี Arieh Smith ยูทูเบอร์ที่มีผู้ติดตามกว่า 5 ล้านคน ได้ร่วมแสดงแม่ไม้มวยไทยบทเวทีด้วย

อาหารไทย (Food)

จัดขึ้นในงาน Plate to Planet Festival จานนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม “เมนูอาหารอนาคต” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ภายใต้โครงการ APEC Future Food for Sustainability เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนไทยทั่วประเทศ ในวาระที่ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม APEC 2022 ผ่านการประกวดสตาร์ทอัพด้านอาหารอนาคต

แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพด้านซอฟต์พาวเวอร์ อาหารไทย ภายใต้แนวคิด BCG โมเดล ผ่านการจัดกิจกรรมเฟ้นหาเมนูอาหารอนาคตจากผู้ประกวดกว่า 2,000 ทีม และได้คัดเหลือเพียง 21 ทีมสุดท้าย เมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา ผ่านการแข่งขันประลองฝีมือทำอาหาร ตัดสินโดยเชฟ และนักชิมระดับมิชลิน โดย 21 ทีมที่ผ่านเข้ารอบมาในครั้งนี้ จะได้มาประชันแนวคิดเชิงธุรกิจ พร้อมพิชชิ่งไอเดียให้กับคณะกรรมการจากองค์กรชั้นนำด้านอาหารของไทย เช่น เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด NRF บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) PTT OR ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป และ PTTGC เป็นต้น ที่จะร่วมค้นหาสุดยอดเมนูอาหารอนาคตไปต่อยอดทางธุรกิจ และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านอาหารอนาคตของไทยให้ไปสู่ตลาดโลกด้วยกัน

เมนูอาหารอนาคตของผู้เข้ารอบทั้ง 21 ทีมมาให้คนทั่วไปได้กิน อาทิ ขนมไข่ผำชูกำลัง ขนมชั้นสูตรลดน้ำตาลเสริมใยอาหารและโพรไบโอติกส์ คาโบนารา Vegan ครอกเก็ตพะแนงแพลนต์เบส ซาชิมิคอลลาเจนสกัดจากเกล็ดปลา เสริมคุณค่าไฮยารูรอนิคจากเห็ดหูขาว ปูไร้เนื้อ ข้าวถั่วลูกไก่ยำปักษ์ใต้ผัก 5 สี ข้าวเขียวหวานแห้งโปรไบโอติกส์ ไอติมจากแมลง ให้ทุกคนได้เลือกกินและตื่นเต้นไปกับความแปลกใหม่ของวัตถุดิบและนวัตกรรม และได้รักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

การผลักดันอาหารอนาคตประเทศไทยโดยการร่วมโหวตเมนูที่ชื่นชอบผ่าน www.futurefoodapec.com ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายนนี้เท่านั้น (มีของรางวัล) เข้าไปติดตามได้ใน facebook : APEC พร้อม ไทยพร้อม ร่วมลุ้น 21 ทีมใครจะได้ไปต่อเพื่อคว้ารางวัลมูลค่า 1 ล้านบาท พร้อมโอกาสในการเป็นตัวแทนนำเสนอเมนูอาหารอนาคตต้อนรับผู้นำ APEC ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในการเป็นครัวแห่งอนาคตของโลก

ขณะที่ 2F อย่าง ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) และภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) ถือเป็นโจทย์ยากในการที่สร้างความโดดเด่น

ท่ามกลางคำถามความคุ้มค่าจากฝ่ายไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล เกี่ยวกับงบประมาณทุ่มจัดงานนี้ด้านดูแลความปลอดภัย งานอีเว่นท์ต่าง ๆ และกระทบการคำเนินชีวิตของชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องถกเถียงสิ่งที่ได้รับกลับมานั้น จะคุ้มค่าหรือสมดุลหรือ แต่หากพูดความสำคัญด้านพลังอำนาจอ่อน ซอฟท์ soft power เป็นผลดีทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการแสดงศักยภาพของประเทศอย่างแน่นอน

...

อ้างอิง

- ทำเนียบรัฐบาล

apec 2022

- บทความเกี่ยวข้อง soft power ของไทย

- บทความเกี่ยวกับนิติราษฎร์ บุญโย