พัฒนาเกษตรไทยสู่ยุคใหม่

พัฒนาเกษตรไทยสู่ยุคใหม่

ในโลกยุคใหม่แบบ knowledge-based และการเข้าสู่ digital economy เรามักจะนึกถึงการคิดค้น การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม

หรือไม่ก็การนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการบริการ อย่างเรื่อง financial technology ล่าสุด รัฐบาลได้มีการตั้งเป้าเพื่อเดินหน้าผลักดันการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และมีการมองแนวทางปรับปรุงนโยบายทางการเงิน อาทิ ด้านภาคบริการทางการเงิน ให้สอดรับและเตรียมรับการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

แต่ที่สำคัญ เราไม่ควรลืมการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรและเกษตรกรไทยให้ปรับตัวและสามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบ knowledge-based และ digital economy ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

เพราะภาคการเกษตร (ซึ่งรวมถึงปศุสัตว์ การประมง และเพาะปลูก) เป็นเสมือนกระดูกสันของชาติ ที่ต้องสร้างให้เข้มแข็ง และจะเป็นหลักในการผลักดันการฟื้นฟูและเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยแบบยั่งยืนและไม่กระจุกตัว (เฉพาะที่ศูนย์กลาง) และภาคเกษตรเข้มแข็มจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาโครงการสังคมไทยในปัจจุบัน

การพัฒนาเกษตรยุคใหม่ให้ก้าวผ่านความท้าทายในยุคโลกาภิวัติและใช้ประโยชน์จากยุค digital economy ได้อย่างไร ขอวิเคราะห์มาให้อ่านกันในลักษณะเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของยุโรป

ภาคการเกษตรต้องเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่รากหญ้าให้ได้

คิดว่า ประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนศักยภาพในการทำวิจัยหรือคิดค้นวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร แต่ปัญหาดูเหมือนจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่คิดค้นแล้วเหล่านั้นมา commercialize หรือสร้างมูลค่าทางการค้า เพื่อให้กลายเป็นผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ก็คือสินค้าเกษตรใหม่ที่ขายได้ดี ติดตลาด ส่งออก ทำเงินและสร้างงานให้เกษตรกรในระดับรากหญ้า นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น และพัฒนาผลผลิตให้คุ้มทุนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารด้วย ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้เงินลงทุนและการลงทุนสูง เพื่อหวังผลในระยะยาว ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องนี้

การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรผ่านเครื่องมือสารสนเทศน์ใหม่ๆ และตลาดดิจิตอล

น่ายินดีที่เห็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พัฒนาการให้ข้อมูลข่าวสารในลักษณะนี้ไปมากแล้ว ที่น่าจะมีการพัฒนาต่อไป อาจเป็นการมีตลาดดิจิตอลหรือการซื้อขายออนไลน์ ที่สามารถเช็คราคาและซื้อขายพืชผลทางการเกษตรแบบออนไลน์ได้

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ต้องเน้นย้ำสิ่งที่ไทยยังขาดเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร คิดว่าประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เป็นแบบ สองมาตรฐานเหมือนที่เป็นอยู่ กล่าวคือ สินค้าเกษตรและอาหารที่ขายในประเทศก็มาตรฐานหนึ่ง และที่ส่งออกกลับได้รับการควบคุมและมีมาตรฐานที่สูงกว่า หากยังเป็นเช่นนี้การพัฒนาภาคเกษตรก็จะขยับตัวไปแบบไม่เท่าเทียม

การพาภาคเกษตรไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอล ต้องการเกษตรกรรุ่นใหม่ ดังนั้น ปัญหาทัศนคติเกี่ยวกับการเป็น “เกษตรกร” ก็สำคัญ ที่ศึกษาดูเห็นว่าภาคเกษตรมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรมานาน และคนรุ่นใหม่เลิกอาชีพทำการเกษตร เพราะทัศนคติของคนรุ่นใหม่มองว่าอาชีพเกษตรกรเป็นงานหนัก รายได้ไม่แน่นอน จึงไม่มีแรงดึงดูดให้ประกอบอาชีพเกษตรกร

------------------------------------

ภาคการเกษตรของไทยแม้มีสัดส่วนมูลค่าเพียงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ที่เหลือเป็นภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ) และมีแนวโน้มลดลง แต่การทำเกษตรกรรมเป็นบ่อนำเลี้ยงชีวิตของเกษตรกรกว่า 16.7 ล้านคนหรือประมาณ 25.9 % ของประชากรทั้งประเทศ

แต่ผลสารวจสถานการณ์ชาวนาไทย ปี 2555 ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังพบว่า เกษตรกรทานากว่าร้อยละ 80.5 ไม่อยากให้ลูกหลานทำนาเช่นเดียวกับตน และผลสารวจข้อมูลของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2555 พบว่า จำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรมีจานวนลดลงประมาณร้อยละ 5-8 ต่อปี และในการเลือกอันดับในการศึกษาต่อส่วนใหญ่เลือกคณะเกษตรอยู่ในอันดับ 3 หรืออันดับ 4 ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยไม่ได้สนใจที่จะเรียนด้านการเกษตร แม้ว่าจะสาเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงเลือกทำงานเป็นลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่าที่จะมาทาอาชีพการเกษตรโดยตรง

*ข้อมูลจาก บทความ แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทยโดยนายกรวิทย์ ตันศรีเศรษฐกรอาวุโส ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อยากให้มองภาคการเกษตรในยุโรปเป็นตัวอย่าง เกษตรกรในยุโรปเป็นอาชีพที่รวย มีที่ดิน มีรายได้สูง และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในระบบการผลิต ที่สำคัญ สินค้าเกษตรในยุโรปได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร สิ่งแวดล้อม หรือแรงงาน และผู้บริโภคก็พร้อมจะซื้อในราคาที่สูงขึ้น ที่น่าสนใจคือในยุโรป เวลาเราซื้อสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรจากตลาด ที่เป็น “สินค้าพื้นบ้าน” ที่ปลูกและผลิตเองในภูมิภาคหรือหมู่บ้านนั้นๆ มีราคาแพงกว่าการซื้อสินค้าเกษตรและอาหารในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าเกษตรนำเข้าจากประเทศที่สาม เสียด้วยซ้ำ

ยุคดิจิตอลเป็นยุคที่เราต้องไม่ปล่อยให้เกษตรกร และการทำเกษตรกรรมกลายเป็นเรื่องล้าหลังหรือตกยุค แต่ภาคเกษตรต้องเร่งการปรับตัวและตอบรับเข้าสู่การเกษตรยุคใหม่ให้ได้ โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า ในขณะที่ภาคธุรกิจใหญ่ๆ และภาคอุตสาหกรรมการเกษตรน่าจะปรับตัวได้ง่ายและรวดเร็วกว่า แต่ภาคการเกษตรชนบทคงยังต้องพึ่งภาครัฐในการพัฒนาให้ก้าวทัน และก้าวไปพร้อมๆ กัน ไม่เช่นนั้นช่องว่างในการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งมากขึ้น

ต้องถือว่าประเทศไทยโชคดีที่ “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” เพราะมีภาคการเกษตรเป็นฐานการผลิตอาหารและด้านพลังงานทดแทนให้กับประเทศ แต่อย่านิ่งนอนใจ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคการเกษตรต้องได้รับการพัฒนาและปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

-------------------------

ดร.อาจารี ถาวรมาศ เป็นผู้บริหารบริษัท Access-Europe บริษัทที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และนโยบายเกี่ยวกับสหภาพยุโรปสำหรับภาครัฐและเอกชนไทยที่สนใจเปิดตลาดยุโรป www.access-europe.eu หรือติดตามได้ที่ www.facebook.com/AccessEuropeCoLtd