Social Media กับปัญหาสังคมในเอเซีย
ผู้บริโภคในปัจจุบันสนใจเรื่องส่วนรวมมากขึ้นทั้งปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม พวกเขาต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
จากการศึกษาของ Kantar ใน 9 ประเทศแถบเอเซียแปซิฟิก (ออสเตรเลีย,อินเดีย,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,ฟิลลิปปินส์,สิงค์โปร์,เกาหลีใต้,ใต้หวันและไทย) พบว่า ปัญหาที่ผู้คนให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ ปัญหาสุขภาพความเป็นอยู่ และปัญหาความยากจน กลุ่มคนรุ่นใหม่มักสนใจเรื่องของสุขภาพ,ความยากจน,การศึกษาและปัญหาปากท้อง ในขณะที่กลุ่มคนที่มีอายุมักจะสนใจเรื่องของอาชีพ การเติบโตของเศรษฐกิจ การมีน้ำสะอาดใช้ และพลังงานทางเลือก สำหรับประเทศไทย หัวข้อที่คนให้ความสำคัญใน 3 อันดับแรก คือ ปัญหาความยากจน ปัญหาสุขภาพความเป็นอยู่ และปัญหาคุณภาพการศึกษา
รูปแบบการใช้ชีวิตและเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลต่อปัญหาในสังคมที่คนให้ความสำคัญ เช่น ไทยกับปัญหาเรื่องของสุขภาพ เห็นได้ว่า คนไทยกังวลกับเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีเป็นทั้งสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหา พฤติกรรมการใช้ device ต่างๆพร้อมกัน และใช้งานเป็นเวลานาน ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสายตา
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Office Syndrome ที่เป็นปัญหาของคนทำงานในเมือง ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตและความเครียดเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความสำคัญมากขึ้น ซึ่งคล้ายกับประเทศอื่นๆในเอเซีย เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร์ และเกาหลีใต้ จากการศึกษาเชิงคุณภาพในไทย เราพบว่า Social Media เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนไทยเกิดความเครียด ความเครียดที่ว่านี้เกิดจากการที่บางกลุ่มเห็นชีวิตของคนอื่นในเฟสบุค หรือ อินสตาแกรม และนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของตัวเอง และเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ บางคนกดดันว่าตัวเองต้องดี ต้อง perfect เพื่อที่จะให้เป็นที่ ชื่นชมชื่นชอบในกลุ่มเพื่อนออนไลน์ มีบางรายที่หมกมุ่นกับการสร้างภาพบน Social Media จนรู้สึกเครียดและกังวลกับภาพลักษณ์ของตัวเอง
ทั้งนี้ความเครียดเกิดจากปัญหาอื่นๆเช่น การโหยหาความสำเร็จ เนื่องจากเห็นความสุข ความสำเร็จของผู้อื่นผ่าน Social Media และยังกังวลกับการงานอาชีพ และรายได้ของตนเองว่าอาจไม่ทัดเทียมกับคนอื่นๆ ความกังวลเช่นนี้เป็นผลมาจากการที่นำตัวเองไปสู่ความกดดันมากขึ้นเมื่ออยู่ในสังคมที่ชีวิตอยู่กับออนไลน์ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม Social Media ไม่ได้เป็นผู้ร้ายเพียงอย่างเดียว ผู้บริโภคในไทยใช้ Social Media ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ หรือเคล็ดลับเรื่องของอาหารการกิน การออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือกันให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพและความงาน เรายังพบอีกว่าผู้บริโภคได้กำลังใจจากประสบการณ์ของผู้อื่นในเรื่องของการดูแลตัวเอง และยังได้รับกำลังใจจาก quote ต่างๆที่มีคน Post เอาไว้ในขณะที่มีความเครียดหรือท้อแท้
ในมาเลเซีย สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ และไทย มีการใช้ Social Media เพื่อรับมือกับความเครียด และการดูแลตัวเอง ในขณะที่ประเทศอินเดียยังมีปัญหาเรื่องของสุขภาพอนามัยพื้นฐาน เช่น ปัญหาที่ผู้หญิงไม่มีผ้าอนามัยใช้อย่างเพียงพอ นำไปสู่ปัญหาสุขภาพและเป็นหนึ่งในเหตุของการเสียชีวิตของผู้หญิงอินเดียมีการแชร์ปัญหานี้อย่างกว้างขวางผ่าน Social Media เพื่อรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้หญิงเรื่องของสุขอนามัยที่ถูกต้องเมื่อมีประจำเดือน
มีการแชร์เรื่องของ #padman ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าประทับใจของการพัฒนาผ้าอนามัยที่มีราคาถูกเพื่อผู้หญิงที่มีรายได้น้อย ซึ่งนำไปสู่การช่วยเหลือผู้หญิงที่ยากไร้ รวมถึงการเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้หญิงอินเดียเป็นการป้องกันความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตอันมาจากการขาดความรู้เรื่องสุขอนามัย ในปัจจุบันกลุ่มผู้สูงอายุในไทยและอีกหลายประเทศในเอเซียใช้ Social Media ในการหาข้อมูลเรื่องการดูแลตัวเองและการทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง
นอกจากเรื่องของสุขภาพแล้วปัญหาที่ผู้คนให้ความสำคัญคือปัญหาความยากจน พบว่า ผู้บริโภคในไทยและมาเลเซียใช้ Social Media ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาความยากจนและเชื่อมโยงปัญหาเรื่องการศึกษาว่า เป็นรากฐานของปัญหาความยากจน ในขณะที่ Social Media ของอินโดนีเซีย สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาความยากจนที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ในอินเดียมีการพูดถึงใน Social Media แพร่หลายมากเกี่ยวกับการลดปัญหาความยากจน ซึ่งทำให้อินเดียเป็นประเทศที่สามารถลดความยากจนได้รวดเร็วมากที่สุดในโลก เนื่องจากนโยบายของรัฐบาล Social Media ทำให้เกิดการพูดถึงและการสนับสนุนการแก้ปัญหาจากประชาชนส่วนใหญ่ รวมถึงการช่วยสร้างความภาคภูมิใจให้ประชาชนในการเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ด้วย
Social Media เป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้ผู้คนเห็นปัญหาชัดเจนและแพร่หลายมากขึ้น ทำให้ปัญหาของแต่ละประเทศได้รับการแก้ไขเหมือนกับการส่องสปอต์ไลท์ไปที่ปัญหาที่คนให้ความสำคัญ ผู้คนในเอเซียมักให้ความสำคัญกับปัญหาใกล้ตัวมากกว่าปัญหาระดับโลก Social Media กระตุ้นให้เกิดการพูดคุยและการแชร์ถึงปัญหาใกล้ตัวเหล่านี้ และช่วยประตุ้นให้ผู้คนอยากเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อจัดการกับปัญหา ปรากฎการณ์เช่นนี้จึงเปิดโอกาสให้แบรนด์ต่างๆสามารถเป็นสื่อกลางเพื่อให้ผู้คนได้แสดงพลัง ได้มีส่วนร่วม อันจะเป็นประโยชน์กับแบรนด์เองและสังคมโดยรวมอีกด้วยค่ะ