เก็บเงินสดรอสถานการณ์สงบ

เก็บเงินสดรอสถานการณ์สงบ

เดือนสุดท้ายของไตรมาสที่ 1 ยังเป็นอีกเดือนที่เศรษฐกิจและการลงทุนเผชิญกับวิกฤตการระบาดของไวรัส CIVID-19

ซึ่งรุนแรงขึ้นจนเป็นการระบาดระดับโลกและยังไม่มีน่าทีว่าจะจบลงเมื่อใด  ซึ่งในตอนที่แล้วผมได้ชี้ให้ว่าสถานการณ์จะยืดเยื้อกินเวลาไปอีก 2-3 เดือน ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดไว้ เพราะจะได้ว่าในเดือน ก.พ. ตลาดหุ้นทั่วโลกเผชิญแรงขายอย่างหนักจากเรื่องดังกล่าว หุ้นไทยเอง SET Index ร่วงลงมากกว่า 20จากช่วงสูงสุดของปีนี้ ถือว่าหนักสุดในรอบหลายปี จนนักลงทุนหลายคนปรับตัวรับมือกันไม่ทันเลยทีเดียว

ผลกระทบที่เห็นได้ชัดในตอนนี้คือเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 จะกระทบหนักแน่นอนและอาจต่อเนื่องไปถึงช่วงไตรมาสที่ 2 โดยหลายกลุ่มธุรกิจจะได้รับผลกระทบที่นานขึ้นไปอีกทั้ง สายการบิน การท่องเที่ยว โรงแรม อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ รวมทั้งภาคอุปโภคบริโภคภายในประเทศ เพราะผู้บริโภคจะเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น

ทั้งนี้เราเริ่มเห็นข่าวในเชิงบวกขึ้นมาบ้าง นั่นคือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม G7 ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมรับมือผลกระทบจากการระบาดไวรัส ด้วยการใช้มาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดดอกเบี้ย  การอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นการผลิตและการบริโภค รวมไปถึงการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค ซึ่งต้องจับตาดูจากนี้ว่าจะได้ผลบวกมากน้อยเพียงใด  

ดังนั้นถามว่าสถานการณ์เรื่องไวรัสจะกินเวลายาวไปถึงเมื่อไรนั้น ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่ชัด แต่ประเมินในเบื้องต้นว่า 2-3 สัปดาห์นี้จากนี้น่าจะเห็นความชัดเจนขึ้นบ้างว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นหรือจะแย่ลงไปอีก เพราะเกิดภาวะการติดเชื้อนอกประเทศจีน ที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปสหรัฐฯ

ทั้งนี้สถานการณ์ที่รุนแรงขึ้นนั้น ทำให้การลงทุนมีความยากขึ้น และทำให้ความเสี่ยงในการปรับตัวลงของสินทรัพย์ยังมีอยู่สูง ด้วยภาพรวมที่ไม่ดีนัก ในยามนี้ นักลงทุนอาจจะคำถามว่า “เราควรชะลอการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์ไปก่อนหรือเป็นจังหวะให้เข้าลงทุนได้เพื่อรอโอกาสรับข่าวดี”

ผมแนะนำว่าเราควรวางแผนทั้ง 2 แบบ ครับ ในแบบแรก คือชะลอการลงทุน สำหรับนักลงทุนที่ชอบลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่นหุ้น หากยังไม่มั่นใจอาจพิจารณาชะลอการลงทุนและใช้ความระมัดระวังในการลงทุน แต่แบบที่ 2 คือ ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเหมาะสมกับภาวะตลาดปัจจุบัน เช่น 1.) กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกองทุนอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ (US REIT) ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการที่ธนาคารกลางต่างๆ มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ 2.) ทองคำ สินทรัพย์ที่นักลงทุนทยอยเข้ามาพักเงินเพราะมองว่าปลอดภัยและได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยขาลง คาดว่าราคาทองคำจะปรับตัวขึ้นไปถึงทดสอบระดับ 1,700-1,750 เหรียญฯได้หากสถานการณ์วิกฤตเพิ่มขึ้น  3.) กองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ ที่มีนโยบายลงทุนในเชิงรุกเพื่อสร้างผลตอบแทนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน 4.) ตราสารประเภทหุ้กู้อนุพันธ์ (Structure Note) ต่างประเทศ สำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก และต้องการลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนที่สูงพร้อมกับการคุ้มครองเงินต้น ก็เป็นอีกการลงทุนน่าสนใจครับ

สำหรับสินทรัพย์ประเภทหุ้น ในยามนี้ ถามว่าน่าลงทุนหรือยัง ?? หุ้นจะปรับลงไปอีกหรือไม่ ??  หากนักลงทุนมองว่าหุ้นไทยนั้นลงมามากน่าเป็นจังหวะซื้อเพราะกลัวตกขบวนรถ ผมขอแนะนำว่า ให้เลือกทยอยสะสมในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคาปรับตัวลงเกินปัจจัยพื้นฐาน แต่ก็ต้องหาจังหวะขายทำบ้างนะครับเมื่อมีการดีดขึ้นในช่วงสั้น เพราะตลาดยังความผันผวนมาก KTBST SEC ประเมินว่าหากดัชนีปรับลงแถวๆระดับ 1,280-1,320 จุดเป็นจังหวะที่ทยอยสะสมได้ครับ  

ส่วนสินทรัพย์อื่นๆ ที่ผมได้แนะนำจัดพอร์ตลงทุนไปเมื่อตอนที่แล้ว ควรปรับสัดส่วนลงทุนในเดือน มี.ค.ยังอย่างไรดี ผมแนะนำดังนี้ครับ..

  158373477073

สำหรับ KTBST SEC นั้นปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์การลงทุนให้เลือกหลากหลาย นอกจากการลงทุนในหุ้น ยังมีผลิตภัณฑ์จาก บลจ.วี ที่มีกองทุนรวมต่างประเทศที่น่าสนใจ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ และ ทองคำ โดยมีที่ปรึกษาการลงทุนคอยให้คำแนะนำในทุกผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้จากทาง www.ktbst.co.th หรือ ทาง www.facebook.com/ktbst.th ครับ

 

ติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST SCE ได้ที่ “มุมมองความรู้” ทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th หรือ ทางwww.facebook.com/ktbst.th และสามารถขอคำปรึกษาการลงทุนได้ที่ KTBST SEC 02-648-1111