เวลาสะท้อนบุคลิก

เวลาสะท้อนบุคลิก

รูปแบบการใช้เวลาจะสะท้อนตัวตนเราได้มากขึ้น

ประเด็นที่สร้างความแตกแยกให้คนอเมริกันในเวลานี้คือปัญหา เชื้อชาติและผิวสี ซึ่งไม่ว่าจะผ่านมานับร้อยๆปี สิทธิของคนผิวดำก็ยังคงไม่เท่าเทียมคนผิวขาวซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนเชื้อสายอื่น ๆ ทั้งฮิสแปนิค ทั้งเอเชีย ก็ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ไม่น้อยเช่นกัน นอกจากปัญหาเชื้อชาติแล้วความแตกต่างของประชากรในประเทศต่าง ๆ ก็ยังถูกแบ่งตามวรรณะ ตามฐานะทางการเงิน ตามการศึกษา เพราะต้นทุนของคนแต่ละคนไม่เท่ากันทำให้เกิดมามีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นมากมายในแต่ละประเทศ

โดย “Think out of The Box” ฉบับที่แล้วได้เกริ่นถึงการบริหารเวลาข้อแรกนั่นคือความสำคัญของการบริหารจัดการเวลาของคนเรานั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดตารางเวลาให้เหมาะสมในแต่ละวัน แต่ในความเป็นจริงแล้วก็คือการจัดการ “บริหารชีวิต” เพราะเราจะใช้เวลาที่มีจำกัดทำอะไรบ้างนั้นมันก็จะสะท้อนออกมาเป็นตัวตนของเรา เป็นวิถีชีวิต เป็นอุปนิสัยที่จะติดตัวเราไปตลอด

ประการที่สอง แม้ทุกคนจะมีเวลาเท่ากันแต่คนที่บริหารจัดการเวลาได้ดีจะมีเวลามากกว่าคนอื่นเสมอ ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะได้เวลาเพิ่มขึ้นมาจริง ๆ แต่เป็นเพราะการจัดสรรช่วงเวลาที่เหมาะสมจะทำให้ได้ผลสัมฤทธิ์ของงานเพิ่มขึ้นจนดูเหมือนมีเวลามากกว่าคนอื่น การจัดสรรเวลาที่เหมาะสมง่าย ๆ คือการเริ่มวันใหม่โดยตั้งเป้าหมายว่าวันนี้จะต้องทำอะไรบ้าง แล้วจึงจัดลำดับความสำคัญว่าเรื่องใดสำคัญก่อนหลัง ซึ่งจะทำให้เราวางแผนจัดการช่วงเวลาของแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม และได้ลงมือทำเรื่องสำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก

ประการที่สาม หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรอาจทดลองทำ “บัญชีเวลา” ก่อนเป็นอย่างแรก โดยทำเป็นบันทึกการใช้เวลาในแต่ละวันว่าเราใช้ไปกับเรื่องใดบ้าง และใช้เป็นเวลาเท่าไร ไม่ต่างกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวัน การทำบัญชีเวลาจะทำให้เราเห็นว่าแต่ละวันเราใช้เวลาไปกับเรื่องใดมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เรามีโอกาสทบทวนการใช้เวลาของตัวเองว่าหมดเวลาไปกับเรื่องสำคัญและจำเป็นหรือไม่ ยิ่งเก็บข้อมูลได้นานก็ยิ่งเห็นรูปแบบการใช้เวลาที่สะท้อนตัวตนเรามากขึ้น เปิดโอกาสให้เราปรับตัวเพื่อใช้เวลาให้ดียิ่งขึ้นได้

ประการที่สี่ ต้องแยกแยะให้ออกระหว่างเรื่องด่วนและเรื่องสำคัญ โดยคนจำนวนมากมักจะหมดเวลาไปกับ “เรื่องด่วน” แทนที่จะเป็นเรื่องสำคัญเพราะไม่มั่นใจว่าเรื่องไหนคือเรื่องสำคัญและเรื่องไหนคือเรื่องด่วน โดยคิดว่าเรื่องด่วนที่เข้ามามานั้นเป็นเรื่องสำคัญแต่ในความเป็นจริงแล้วอาจเป็นเพราะบริหารจัดการเวลาไม่ดีจนทำให้ทุกอย่างล่าช้ากว่ากำหนดจนกลายเป็นเรื่องด่วนไปเสียหมด การใช้เวลากับเรื่องด่วนมากเกินไปหมายถึงเราจะมีเวลาเตรียมการทำเรื่องนั้น ๆ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เราอาจต้องตัดสินใจทำบางเรื่องบางอย่างไปโดยไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรแต่จำเป็นต้องทำเพราะไม่มีทางเลือก ไม่ต่างอะไรกับการดับไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงอาจมีคนเคยเตือนแล้วแต่เราเพิกเฉยเพราะไม่ให้ความสำคัญจนเกิดเพลิงไหม้ขึ้นจริง ๆ

ในสังคมการทำงานทุกวันนี้เราจึงเจอคนจำนวนมากที่ “ยุ่งตลอดเวลา” คือมีแต่งานด่วนเต็มไปหมด เพราะทุกเรื่องที่เข้ามาล้วนเร่งด่วนจนต้องทำงานแบบเร่ง ๆ รีบ ๆ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันเลยเพราะรีบไปหมด การตั้งเป้าหมายในแต่ละวันให้ถูกต้อง แล้วจัดลำดับความสำคัญให้ดีจึงเป็นการวางแผนแบบง่าย ๆ และทำให้เราไม่ต้องจมอยู่กับเรื่องด่วนที่ถาโถมเข้ามาในแต่ละวัน 

ในขณะที่บางเรื่องอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงก็อาจลดความสำคัญลงไปเพื่อให้มั่นใจว่าเราใช้เวลาได้เหมาะสมแน่นอน การจัดการเวลาให้มีประสิทธิภาพไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการทำงานเท่านั้น แต่ยังสะท้อนไปถึงชีวิตประจำวันเช่นการใช้เวลากับพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ที่หลาย ๆ คนมักบ่นว่าเสียดายที่ไม่ได้ดูแลผู้มีพระคุณได้ดีเท่าที่ควรในยามที่ท่านมีชีวิตอยู่

หากบริหารจัดการเวลาได้ดีแล้วความรู้สึกเสียดายคงไม่เกิดขึ้นเพราะเราย่อมใช้เวลาที่จำกัดดูแลท่านได้อย่างเต็มที่ก่อนที่ท่านจะจากไป เช่นเดียวกับการจัดสรรเวลาเพื่อดูแลตัวเองด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งจำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ หรือจะเป็นเรื่องสังคมที่ต้องการเวลาเพื่อเป็นอาสาสมัครในชุมชน หรือทำกิจกรรมเพื่อสังคมใด ๆ ก็ล้วนมีส่วนช่วยให้สังคมน่าอยู่ขึ้น ยิ่งเราใช้เวลาเพื่อสังคมได้มากเท่าไรก็ยิ่งทำให้มีเวลาเพื่อตัวเองได้มีคุณภาพมากขึ้น ส่งผลต่อมายังหน้าที่การงานในท้ายที่สุด