ความเร็วของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน
การวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่ทำง่ายเหมือนอดีต
การวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่ทำง่ายเหมือนเมื่อครั้งในอดีตอีกต่อไป ที่อาศัยเพียงตัวเลขเดียวก็สามารถเป็นมาตรฐานบ่งชี้ความเร็วของคอมพิวเตอร์ได้อย่างแม่นยำ เพราะในอดีต คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้มีความสลับซับซ้อนเช่นในปัจจุบัน และรูปแบบของการใช้งาน ก็ยังไม่ได้หลากหลายมาก
ความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock Speed) ได้เคยเป็นมาตรฐานของความเร็วมาหลายปี จากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop PC) รุ่นแรกของ IBM (IBM PC) ที่ใช้ CPU ของ Intel รุ่น 8088 และมี Clock Speed ที่ 4.77 MHz ซึ่งหมายความว่า IBM PC รุ่นนั้น สามารถประมวลผลได้ 4.77 ล้านรอบต่อวินาที (Mega หมายถึง หนึ่งล้าน และ Hertz หมายถึงรอบต่อวินาที)
และหลายปีต่อมาที่พัฒนามาเป็น CPU ของ Intel รุ่น 80386 และมี Clock Speed ที่ 12 MHz ซึ่งก็หมายความว่า 80386 นั้น เร็วกว่า 8088 เกือบ 3 เท่า เพราะ Clock Speed ที่12 MHz เร็วกว่า Clock Speed ที่ 4.77 MHz เกือบ 3 เท่า
การขายคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นจึงมุ่งเน้นการโปรโมท Clock Speed เสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถบ่งชี้ความเร็วของคอมพิวเตอร์ได้อย่างแม่นย้ำ ซึ่งไม่ต่างกับการขายกล้องดิจิทัลในยุกแรก ที่เน้นการโปรโมทจำนวนพิกเซ็ล เพราะบ่งชี้คุณภาพของภาพได้ ในยุคที่ยังไม่มีความสลับซับซ้อน
แต่ในปัจจุบัน Clock Speed ของ CPU ส่วนใหญ่ อยู่ในระยะของ 3-5 GHz มากว่าทศวรรษแล้ว เนื่องจากข้อจำกัดทางพิสิกส์ (ความร้อน) ที่ทำให้ CPU ส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถมี Clock Speed ที่สูงกว่า 5 GHz ได้ การขายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงไม่ได้มุ่งเน้นการโปรโมท Clock Speed อีกต่อไป
ไม่เพียงเท่านั้น เทคโนโลยีของ CPU ได้พัฒนาไปมาก และในแต่ละรอบของสัญญาณนาฬิกา CPU สมัยใหม่มีความสามารถในการประมวลผลอย่างคู่ขนาดตามจำนวนของแกนซีพียู (CPU Core) เราจึงอาจได้เคยเห็นการโปรโมทจำนวนของ CPU Core อยู่ช่วงระยะหนึ่ง นอกจากนี้ ยังได้มีพัฒนาการทางเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาอย่างมากมายในยุคหลัง
ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การโปรโมทตัวเลขเพียงตัวเดียว มิสามารถบ่งชี้ความเร็วหรือคุณภาพของคอมพิวเตอร์ได้อย่างแม่นยำ และการโปรโมทตัวเลขหลายตัว กลับยังสร้างความสับสน สำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาหรือเข้าใจอย่างถ่องแท้
จึงเป็นที่มาของวิธีการใหม่สำหรับการขายความเร็วของคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้พูดถึงตัวเลขใดๆ แต่อาศัยเพียงการโปรโมทชื่อรุ่นของ CPU เช่น Apple M1 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ และรุ่นต่อไปๆ ที่จะเป็น Apple M2, Apple M3 ฯลฯ
Apple เป็นบริษัทพิเศษ มีคุณค่าของแบรนด์ที่เปี่ยมล้น Apple จึงไม่ต้องอาศัยมาตรฐานบ่งชี้ที่วัดผลเป็นตัวเลข แต่ก็ยังสามารถขายของได้ และลูกค้าของ Apple ส่วนมาก ก็ไม่ได้ต้องการตัวเลข แต่มีความเชื่อในแบรนด์ของ Apple อยู่แล้ว ก็มีความพร้อมที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของAppleโดยที่ไม่ต้องศึกษาอะไรในเชิงลึก
แต่ผลเสียคือ ลูกค้าที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วและประสิทธิภาพที่เพียงพอต่อรูปแบบของการใช้งาน ก็จะไม่สามารถหาข้อมูลเปรียบเทียบได้อย่างง่ายได้
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือความสำคัญของ GPU (การ์ดจอสำหรับเล่นเกมส์)ต่อการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น บิ๊กดาต้า เอไอ หรือกระทั่งภาพ และ วีดีโอ ที่ในหลายกรณี กลับมีความคัญยิ่งกว่าCPUซึ่งGPUก็ได้ใช้การคำนวนเลขทศนิยมต่อวินาที(FLOPS)เป็นมาตรฐานสำหรับการวัดความเร็วมาหลายปีแล้ว
Apple ได้ประกาศว่า GPU ของ Apple M1 มี 2.6 TFLOPS ซึ่งหมายความว่า สามารถคำนวณเลขทศนิยมได้2.6ล้านล้านครั้งต่อวินาที แต่ในขณะเดียวกัน RTX 3090 ของ NVIDIA ผู้ครองตลาดอันดับหนึ่งในด้าน GPU มีถึง 35.58 TFLOPS หรือมากกว่าของ Apple M1 ถึงสิบกว่าเท่า ซึ่งหมายความว่า หากเป็นการประมวลผล บิ๊กดาต้า เอไอ หรือกระทั่งภาพ และ วีดีโอ ที่อาศัย GPU RTX 3090 ของ NVIDIA ก็จะเร็วกว่า Apple M1 อยู่หลายเท่าตัว
แต่ข้อมูลดังกล่าว กลับไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ความสนใจในการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์
การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานในปัจจุบัน จึงไม่ได้ง่ายเหมือนเมื่อครั้งในอดีต และมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ให้ลึกกว่าสิ่งที่แบรนด์ต่างๆ กำลังพยายามโปรโมท