การกลับมาของ AMD
จริงอยู่ที่ตลาดของไมโครชิพ โดยเฉพาะในส่วนของอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน และ แท็บเล็ต อาจมีความน่าสนใจ
โดยเฉพาะเมื่อยักษ์ใหญ่ เช่นAppleได้ประกาศการปฏิรูปเข้าสู่สถาปัตยกรรมA.R.M.อย่างครบวงจร และเป็นที่มาของการเปิดตัว Apple M1 เมื่อเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา
แต่เราต้องอย่าลืมว่าตลาดของไมโครชิพนั้น ที่จริงแล้วได้ริเริ่มมาจากคอมพิวเตอร์ และในปัจุุบันไมโครชิพของคอมพิวเตอร์ ก็ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ และเป็นเจ้าของไมโครชิพที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ก็เป็นการแข่งขันระหว่างผู้เล่น 3 ราย ได้แก่ Intel ซึ่งเป็นผู้นำในตลาด CPU, NVIDIA ซึ่งเป็นผู้นำในตลาด GPU และ AMD ซึ่งเป็นสินค้าทางเลือกในทั้งสองตลาด
การที่Appleได้เปิดตัว สถาปัตยกรรม Apple M1 เมื่อเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ได้รวมไปถึงการยุติการใช้ CPU ของ Intel และ GPU ของ AMD โดย Apple ได้ริเริ่มที่จะผลิตทั้ง CPU และ GPU เป็นของตัวเองในระบบที่เรียกว่า System on Chip (SoC) คือการที่ ทุกวงจรอีเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมไปถึง CPU และ GPU ถูกบรรจุรวมอยู่ใน ไมโครชิพเดียวเลย และเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้ Apple ก็ได้ยุติการใช้ GPU ของ NVIDIA เพื่อเปลี่ยนมาใช้ของ AMD
กรณีของ Apple ได้สร้างกระแสที่โด่งดัง ที่ทำให้หลายคนอาจได้มองว่า ผู้ผลิตไมโครชิพรายเดิม ได้กลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่สำหรับผู้ที่ต้องใช้งานจริง และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ย่อมจะต้องรู้ดีดว่า ทั้งIntel, NVIDIAและAMDต่างไม่ได้หายไปไหน แต่กลับจะทวีการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม และกำลังเริ่มเข้าสู่จุดพลิกผัน เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่
1.CPU ของ AMD เริ่มมีรุ่นที่มีประสิทธิภาพในบางมิติที่เหนือกว่า Intel และกลายมาเป็นทางเลือกแรกของผู้ใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพ ที่จะเรียกหา AMD Ryzen 5000
2.GPU ของ AMD เริ่มมีประสิทธิภาพที่จะไล่ทันตลาดบนของ NVIDIA และได้กลายมาเป็นทางเลือกที่ไม่ได้ด้อยกว่าของNVIDIAเหมือนเมื่อครั้งในอดีต โดยเฉพาะการเปิดตัวของ AMD Radeon RX6800M ที่ผ่านมา ที่มีผลทดสอบที่สูสีกับ NVIDIA RTX 3080 Laptop
สิ่งที่น่าสนใจ คือการที่ AMD เข้าแข่งขันทั้งในตลาด CPU และ GPU ในขณะที่ INTEL และ NVIDIA ได้มุ่งเน้นตลาดเดียว ซึ่งเป็น CPU หรือ GPU เท่านั้น และ AMD ได้เริ่มจากสถานภาพที่ใกล้การล้มละลายเมื่อไม่กี่ปีก่อน และได้กลับมา จนกระทั่งปัจจุบัน ได้เข้าสู่การเป็นผู้นำทางเทคโนยีในด้านของ CPU แม้ในด้าน GPU จะยังเป็นรอง แต่ไม่ได้ด้อยกว่ามากแล้ว
สำหรับผู้ที่ติดตามวงการนี้มานาน เรื่องราวของ AMD คือผู้ที่เป็นรองในทุกการแข่งขัน ที่ในที่สุดสถานการณ์พลิกผัน และได้กลายมาเป็นผู้ที่ถือไพ่เหนือกว่า
และข้อมูลสุดรายงานว่า 30% ของ เกมเมอร์บน Steam ได้เปลี่ยนมาใช้ CPU ของ AMD แล้ว
สื่อต่างประเทศ ยกเครดิตให้กับความเป็นผู้นำของ ดร.ลิซา ซู ซีอีโอ คนปัจจุบัน ของ AMD ซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายไต้หวัน
แม้กระทั่ง Playstation 5 ที่กำลังขาดตลาด และ Xbox Series X และ S ที่เป็นคู่แข่ง ต่างก็ใช้ไมโครชิพของ AMD ทั้งในส่วนของ CPU และ GPU
ที่ผ่านมา จะเห็นว่าสื่อส่วนใหญ่ มักเปรียบเทียบ Apple กับ Intel ในด้านของ CPU แต่มักไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับ AMD ในด้านของ CPU และ GPU และ NVIDIA ในด้านของ GPU จึงทำให้เกิดกระแสในกรณีที่ Apple มีประสิทธิภาพสูงกว่า Intel แต่ได้หลงลืมผู้เล่นรายสำคัญรายอื่นไป
หากจะเปรียบเทียบกับ Apple สามารถเป็นการเทียบเคียงที่น่าสนใจ เพราะ AMD ทำทั้ง CPU และ GPU ซึ่งเหมือนกับ Apple ในปัจจุบัน เพียงแต่ Apple ทำรวมไปถึงระบบปฏิบัติการ และองค์ประกอบที่เหลือของเครื่อง ภายใต้แบรนด์ของ Apple ทั้งหมด
ซึ่งถึงแม้ว่า Apple จะเปิดตัว Apple M1 ได้ดี แต่ก็ต้องดูพัฒนาการในด้านของประสิทธิภาพต่อไป เพราะ Apple M1 รุ่นปัจจุบัน ก็ยังคงมีประสิทธิภาพในบางมิติที่ด้วยกว่า AMD ทั้งในด้านของ CPU และ GPU
การแข่งขันในตลาดไมโครชิพ ได้เข้ามาสู่จุดพลิกผันที่สำคัญ เมื่อผู้เล่นรายสำคัญอย่างIntelต้องมาอยู่ในสถานะของการเป็นเบอร์รองในบางกรณี อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่่วงหลายทศวรรษ และก็มีผู้เล่นรายอื่น ที่เริ่มบุกเบิกเทคโนโลยี CPU และ GPU ของตัวเอง เพียงแต่กระแสในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมใหม่ของ Apple เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เราต้องอย่าลืมความสำเร็จของ AMD ที่ไม่นานมานี้สามารถพลิกผันมาเป็นผู้เล่นเบอร์หนึ่งของวงการ CPU และกำลังตามทันในเทคโนโลยีของ GPU ซึ่งผู้ที่ติดตามตัวเลขของประสิทธิภาพที่แท้จริง ก็จะไม่หลงไปตามกระแส