สำรวจกองทุนกลุ่มไหนมีการลงทุนในรัสเซีย และมีมากหรือน้อยขนาดไหน
ช่วงนี้อาจจะเป็นช่วงที่ไม่น่าอภิรมย์เท่าไรนักในการเปิดพอร์ตกองทุนต่างประเทศเพื่อติดตามฐานะการลงทุน เนื่องจากมองไปทางไหนก็มีแต่ปัจจัยลบรุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อ นโยบายการเงิน รวมถึงประเด็นความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ปะทุรุนแรงขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว
ให้ตลาดการเงินเกิดความผันผวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในวันที่มีการเริ่มใช้กำลังทางทหาร แม้นักวิเคราะห์หลายๆ แห่งจากสถาบันการเงินชั้นน้ำมีการหยิบยกเหตุการณ์ในอดีตเพื่อเทียบให้ดูว่าผลกระทบในระยะยาวอาจจะมีไม่มากนัก แต่ประเด็นดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถไว้วางใจได้ โดยวันนี้เราลองมาสำรวจตลาดกองทุนในบ้านเราว่ากองทุนในกลุ่มใดมีความเสี่ยงต่อประเด็นดังกล่าวกันครับ .....
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของรัสเซียกันครับ ดัชนีหลักที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆ ของรัสเซีย ได้แก่ ดัชนี Moscow Exchange (MOEX) ซึ่งรวมหุ้นขนาดใหญ่ 50 ตัวแรกตามขนาดของบริษัท (Market Capitalization Weight) โดยมีหุ้นหลักๆ ที่เราอาจจะเคยได้ยินชื่อกันมาบ้าง เช่น Gazprom บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ที่ผลิตและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก
รัฐบาลยังคงถือใหญ่ โดยมีน้ำหนักประมาณ 11.8% เป็นต้น นอกจากนั้นกลุ่มธุรกิจหลักอื่นๆ ของดัชนีก็เป็นกลุ่มพลังงานและสถาบันการเงินอื่นๆ โดยดัชนี MOEX ปรับลดลง 33.3% ในวันที่มีการใช้กำลังทางการทหารเกิดขึ้น ก่อนจะฟื้นตัวกลับมา 20.0% ในวันถัดไป แต่โดยรวมรับตั้งแต่ต้นปีดัชนีปรับลดลงไปแล้ว 34.8% เป็นการสะท้อนความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นค่าเงินรูเบิลก็ปรับอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วกว่า 47% ในช่วงไม่ถึงสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนกลุ่มตราสารหนี้แม้น้ำหนักของพันธบัตรรัฐรัสเซียทั้งพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนสกุลเงินท้องถิ่นอาจจะมีน้ำหนักไม่เยอะเมื่อเทียบกับตลาดตราสารหนี้โลก (0.2% ตามน้ำหนักของดัชนี Bloomberg Barclays Global Aggregate Bond) แต่บทบาทหลักจะอยู่ในพันธบัตรที่เราเรียกว่าเป็น Hard Currency หรือการออกพันธบัตรที่ไม่ได้อยู่ในรูปสกุลเงินท้องถิ่น โดยส่วนใหญ่จะเป็นสกุลเงินดอลลาร์ (2.7% ตามน้ำหนักของดัชนี Bloomberg Barclays Emerging Market Hard Currency Bond) โดยนับเป็นส่วนการลงทุนที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมเนื่องจากให้ผลตอบแทนดี โดยดัชนีดังกล่าวปรับลดลงราว 2.5% นับตั้งแต่เกิดการบุกรุกยูเครนของรัสเซีย
ทำโดยมีน้ำหนักประมาณ 19.2% ของดัชนี หรือ Sherbank ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ ซึ่งในส่วนของความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สะท้อนจาก Credit Default Swap (CDS) อายุ 5 ปีของพันธบัตรรัฐบาลรัสเซีย (เหมือนการซื้อประกันการผิดนัดชำระหนี้ของตราสารหนี้) ก็เพิ่มสูงขึ้นมาก โดยจากต้นทุน 0.80% โดยเฉลี่ยในช่วงปี 2021 เพิ่มเป็นราว 5.5% ในปัจจุบัน และดูเหมือนว่าความเสี่ยงด้านการชำระหนี้ก็จะสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามมาตรการ Sanction ประเทศอื่นๆ เช่น การโดนแบบออกจากระบบ SWIFT ที่อาจทำให้รัสเซียไม่สามารถมีส่วนร่วมต่อระบบการชำระเงินหรือเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศได้ และท้ายที่สุดย่อมส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจที่อาศัยการส่งออกพลังงานเป็นหลัก
ความเกี่ยวข้องกับกองทุนจะเกิดผ่านกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา (Emerging Market) ซึ่งรวมประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ยุโรป เอเชีย และอเมริกา โดยส่วนใหญ่มักใช้ดัชนี MSCI Emerging Market เป็นดัชนีอ้างอิง (Benchmark) ซึ่งรวมรัสเซียเข้าไปด้วย โดยรัสเซียถูกจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนาในยุโรป และมีน้ำหนักในดัชนีอ้างอิงราว 3.3% (ประเทศที่มีน้ำหนักเยอะสุดที่สุด 3 ลำดับแรก ในกลุ่มนี้เป็น จีน 29.9% ไต้หวัน 15.7% และอินเดีย 12.1% ข้อมูลอ้างอิงจาก Bloomberg ณ สิ้นวันที่ 18 ก.ย. 2022)
หรือกลุ่มกองทุนที่เน้นลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC ได้แก่ บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) และ จีน (China) โดยรัสเซียมีน้ำหนักประมาณ 6.3% (ข้อมูลจาก MSCI) โดยแม้ตราสารทุนของรัสเซียจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ อย่างก็ตาม การที่ตลาดปรับลดลงอย่างมากก็อาจทำให้กองทุนได้รับผลกระทบในระดับที่มีนัยสำคัญได้ หรืออาจทำให้กองทุนมีความผันผวนสูงขึ้นในช่วงนี้ โดยมีหลายกองทุนที่มีการลงทุนในสองลักษณะนี้
ในทำนองเดียวกัน การลงทุนในตราสารหนี้ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในหลายๆ กองทุนก็จะมีการลงทุนในประเทศรัสเซียด้วยเช่นกัน ทั้งในกลุ่มที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชนในระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และรวมถึงหุ้นกู้ในรูปสกุล Hard Currency ด้วย ซึ่งเป็นการลงทุนหลักของกองทุนต่างประเทศส่วนใหญ่ของ Feeder Fund ในเมืองไทย ซึ่งจากการสำรวจ Master Fund ของกองทุนต่างๆ พบว่ามีลักษณะคล้ายๆ กลุ่มตราสารทุน ที่การลงทุนตราสารในรัสเซียมีไม่ถึง 10% ของขนาดของกองทุน แต่หากเกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลายขึ้นจากปัจจุบัน ก็อาจส่งผลกระทบโดยรวมต่อกองทุนอย่างมีนัยสำคัญได้เช่นกัน
นอกจากนั้นผลกระทบยังขึ้นอยู่กับมุมมองการลงทุนของผู้จัดการกองทุน โดยอาจจะมีการปรับเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนตามการคาดการณ์ของผู้จัดการกองทุนได้ ซึ่งประเด็นเรื่องรัสเซียและยูเครนก็มีมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจมีการปรับลดความเสี่ยงลงไปแล้วล่วงหน้าก็ได้ขึ้นอยู่กับกองทุนที่เป็น Master Fund ของกองทุนในบ้านเราอีกทีหนึ่ง ซึ่งอาจจะช่วยลดทอนผลกระทบลงไปได้เพิ่มเติม
ดังนั้น ในฐานะนักลงุทน นอกจากเอาใจช่วงให้สถานการณ์คลี่คลายและตกลงกันได้โดยเร็ว เราจำเป็นจะต้องสำรวจพอร์ตการลงทุนเพิ่มเติม ว่าเรายังมีกองทุนในกลุ่มเหล่านี้อยู่ในมือหรือไม่ และเราจะปรับพอร์ตการลงทุนของเราอย่างไรดีให้สอดคล้องกับมุมมองของเรา ... แต่ที่แน่ๆ คือเรายังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไปครับ
หมายเหตุ หากมีข้อสงสัยประกาศใดโปรดติดต่อ บลจ. หรือตัวแทนการจัดจำหน่ายเพิ่มเติม บทความนี้ไม่ได้เป็นคำแนะนำการในการซื้อหรือขายกองทุนแต่อย่างใด และบทวิเคราะห์นี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานต้นสังกัดแต่อย่างใด