เงินบาทอ่อนส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยอย่างไร
ปัจจุบันหลายประเทศพบปัญหาสถานการณ์เงินเฟ้อรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ที่มีการอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสงครามระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายเดือน
รวมถึงการล็อคดาวน์ในจีน ทำให้ห่วงโซ่อุปทานและการค้าระหว่างประเทศถูกกระทบ ต้นทุนพลังงานและอาหารปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ที่กังวลว่าอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยจากอัตราเงินเฟ้อและราคาพลังงานที่อาจสูงต่อเนื่อง ทำให้สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักเช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯปรับดอกเบี้ยขึ้นเรื่อยๆ เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์เงินเฟ้อ
สำหรับเงินสกุลอื่น ๆ รวมถึงเงินบาทของประเทศไทยก็มีแนวโน้มอ่อนค่าด้วย ล่าสุดเงินบาทอ่อนค่าทำระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปี อยู่ที่ 36.65 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มจะแข็งค่าจนกว่าสภาพเศรษฐกิจในประเทศไทยจะดีขึ้น
ข้อดีของเงินบาทอ่อน ถึงแม้ปัจจุบันค่าเงินบาทจะอ่อนแต่ก็มีข้อดีต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแลกเงินบาทได้เยอะขึ้นมีผลให้ผู้คนเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยหลังจากผ่อนคลายมาตรการและเปิดประเทศเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ก.ค. 2565
ส่งผลให้เดือนส.ค. 2565 มีนักเที่ยวเที่ยวต่างชาติพากันตบเท้าเดินทางเข้าประเทศไทยกันอย่างคึกคัก สูงขึ้นกว่า 2.24 ล้านคน เมื่อเทียบกับการเดินทางของผู้โดยสารในระบบขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศใน 7 เดือนที่ผ่านมา
ข้อเสียของเงินบาทอ่อน สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนจะมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศโดยตรง เมื่อแลกเงินต่างประเทศจะต้องใช้จำนวนเงินบาทจำนวนมากขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในต่างประเทศแพงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันแม้เงินบาทอาจจะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับบางสกุลเงินหลัก
แต่เงินบาทก็แข็งค่าเมื่อเทียบกับบางประเทศ ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยใช้จ่ายในการท่องเที่ยวในต่างประเทศได้ถูกลง และคุ้มค่ามากขึ้น ในช่วงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวอีกด้วย
ประเทศญี่ปุ่น มีค่าเงินอ่อนกว่าค่าเงินบาทอัตราแลกเปลี่ยนต่ำสุดในรอบ 25 ปี ทำให้คุณแลกเงินได้ประมาณ 1 เยนต่อ 0.2523 บาท บวกกับสัญญาณที่ดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ของประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยหลายคนตัดสินใจแลกเงินมากขึ้น
โดยรายงานสถิติจาก YouTrip ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล (Multi-currency wallet) ในเดือนสิงหาคม 2565 มีอัตราแลกเงินเยนสูงขึ้น 313 % เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2565 และเมื่อค่าเงินเยนอ่อนตัวมากขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2565 เป็นต้นมา เราพบว่ามีการแลกเงินมากขึ้นเกิน 5 เท่าจากการซื้อขายเฉลี่ยรายวันในช่วงต้นเดือนกันยายน ตอกย้ำการเป็นประเทศอันดับ 1 ในใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการไปเที่ยวหากมีการเปิดประเทศอย่างแท้จริง
ประเทศเกาหลีใต้ มีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 วอนต่อ 0.2650 บาท ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดในรอบปีควรค่าแก่การไปท่องเที่ยวเกาหลีที่สุด โดยรายงานสถิติจาก YouTrip มียอดใช้จ่ายในร้านค้า ในเกาหลีใต้ 8 เดือนที่ผ่านมา สูงขึ้น 3,086% เมื่อเทียบกับยอดใช้จ่ายทั้งหมดในปีที่แล้ว โดยร้านค้ายอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย 3 อันดับแรก ก็คือ ห้างสรรพสินค้า Galleria, ห้างสรรพสินค้า Hyundai และร้านค้าขายรองเท้า ABC ตามลำดับ
ประเทศในแถบยุโรป สำหรับสกุลเงินยูโรมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 1 ยูโร 35.5- 36 บาท เป็นช่วงเวลาที่เหมาะแก่การไปเที่ยวประเทศในแถบยุโรปมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีช่วงหนึ่งในรอบปี อาทิ ฝรั่งเศส, เยอรมนี , อิตาลี
โดยรายงานสถิติจาก YouTrip มียอดใช้จ่ายในร้านค้าในแถบยุโรป 8 เดือนที่ผ่านมา สูงขึ้น 605% เมื่อเทียบกับยอดใช้จ่ายทั้งหมดในปีที่แล้ว โดยร้านค้ายอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย 3 อันดับแรก ก็คือ ร้านค้าแบรนด์เนม Chanel, ห้างสรรพสินค้า Galeries Lafayette Paris Haussmann และห้างสรรพสินค้า Printemps ตามลำดับ
นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวต่างประเทศและอัดอั้นมานานจากการแพร่ระบาดโควิด-19 มาอย่างยาวนาน ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศในแถบยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโร หรือหากใครยังไม่มีแพลนเที่ยวต่างประเทศ ก็สามารถแลกเงินเก็บไว้ก่อนได้เช่นเดียวกัน สามารถใช้จ่ายและแลกเงินล่วงหน้าได้ง่าย ๆ ผ่าน YouTrip ผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับหลายสกุล ให้อัตราแลกเปลี่ยนด้วยเรทที่ดีกว่าและไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ