ทุนจากต่างประเทศมาแน่ ขอแค่การเมืองนิ่ง

ทุนจากต่างประเทศมาแน่ ขอแค่การเมืองนิ่ง

ทุกคนกำลังใจจดจ่อรอผลการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เพื่อมารับหน้าที่สำคัญช่วงครึ่งหลังของปีพ.ศ. 2566 

หวังอย่างยิ่งว่าจะมีทางออกที่ดีที่สุดซึ่งทุกคนยอมรับได้ ถึงแม้จะไม่ใช่เป็นสิ่งที่สมหวังดังที่ตั้งใจไว้ แต่ประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีที่สุด ความลำบากยากเข็ญในการประนีประนอม แต่ละประเด็น ในคนหมู่มากนั้น เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน ความอดทนและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จากทุกฝ่าย

ทั่วโลกกำลังจับตาการเมืองไทยตอนนี้ว่า จะออกมาในรูปใดหลังจากการติดตั้งวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ผู้นำหลายประเทศและสื่อมวลชนก็ออกมาส่งสัญญาณเตรียมพร้อม ที่จะรับไทยเข้าสู่ประชาคมแบบประชาธิปไตยเต็มใบ ซึ่งระเบียบโลกปัจจุบันทางประเทศที่พัฒนาแล้วคือต้นฉบับและผู้จัดการ 

แต่หากการต่อรองทางการเมืองหรือชั้นเชิงการช่วงชิงอำนาจ ส่งให้ผลออกมาเป็นการผสมระหว่างอำนาจเดิม และเปิดทางให้บางพรรคการเมืองฝ่ายค้านเดิมเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เศรษฐกิจไทยก็คงจะเดินต่อไปได้เช่นปัจจุบัน หรือหวังอย่างยิ่งว่าจะปรับปรุงสถานะให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาได้

ในอนาคตอันใกล้นี้การเมืองไทยก็อาจจะเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ ตามเสียงเรียกร้องของประชาชนส่วนใหญ่ ซึ่งส่งสัญญาณว่าฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยนั้นได้รับความนิยมและเชื่อมั่นจากประชาชน

และการเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งจะเกิดขึ้นอีกสี่ปีหรือเร็วกว่านั้น ก็ไม่แปลกใจเลยว่าฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยจะมีโอกาสชนะการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก มาจัดตั้งรัฐบาลค่อนข้างแน่นอน และเมื่อวันนั้นมาถึง การลงทุนจากกลุ่มผู้นำของประเทศพัฒนา จะหลั่งไหลเข้ามาในไทยแน่นอน

ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจมีความหวังอย่างยิ่งว่าไทยจะเป็นฐานที่สำคัญแห่งหนึ่งในการผลิตวิจัยและให้บริการสินค้าชั้นสูงของเขา ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีและโครงสร้างสังคมของไทยนั้น เอื้ออำนวยต่อการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเหล่านี้ เช่นการส่งเสริมความเสมอภาคในสังคม การให้เกียรติเพศทางเลือก การต้อนรับขับสู้ชาวต่างประเทศโดยไม่รังเกียจผิวพรรณและศาสนา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ไทยโดดเด่น

ยุคหลังโควิดนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในไทยเพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อนหน้า (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์) ดังนั้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของไทยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.6% ในปี 2565 เป็นระดับสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.7% ในปี 2566

การลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยในปีที่แล้วมาจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเ ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน (ภาคอิเล็กทรอนิกส์ EV และรถยนต์ และภาคดิจิทัลมีอัตราการเติบโตสูงสุดในปี 2565)

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไทยน่าสนใจสำหรับการลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรงงานที่มีทักษะ แรงจูงใจของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และการออกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติ ในเดือน พ.ย.2565 บีโอไอได้เสนอสิ่งจูงใจเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษี หมวดหมู่อุตสาหกรรมใหม่ และเขตการลงทุนพิเศษ 

ในความพยายามที่จะดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ นักออกแบบ และแรงงานฝีมืออื่น ๆ ที่สามารถสนับสนุนเศรษฐกิจเทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศที่เกิดขึ้นใหม่ ไทยได้เสนอวีซ่าระยะยาว 10 ปี และอัตราภาษีเงินได้ที่ร้อยละ 17 โดยหวังว่าจะดึงดูดชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงได้หนึ่งล้านคนในอีกห้าปีข้างหน้า

อีกตัวอย่างคือซาอุดิอาระเบีย ภายหลังการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูต อย่างเต็มรูปแบบในเดือนก.พ. ประกาศจะลงทุน 8,500 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 จุดเน้นคือระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย

การลงทุนของซาอุดีอาระเบียมีตั้งแต่อาหารและการแปรรูปอาหาร ไปจนถึงบริการทางการแพทย์ พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน EEC ความร่วมมือด้านพลังงาน การจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดีอาระเบีย-ไทย และการส่งเสริมการท่องเที่ยว 

นอกเหนือจากนั้นชาติอื่นๆก็ขอลงทุนของไทยระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน พุ่งขึ้น 70% จากปีก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนในภาคส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร และยานยนต์

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 การสมัครมีมูลค่ารวม 10,370 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 141% เมื่อเทียบเป็นรายปี

จีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่าโครงการ 1,900 ล้านดอลลาร์  ขณะที่สิงคโปร์และญี่ปุ่นตามมาด้วยที 1,840 ล้านดอลลาร์ และ 1,100 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ

ย้อนหลังดูการลงทุนจากต่างประเทศในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่าเกือบ 50,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ 64,500 ล้านดอลลาร์ ที่ไหลเข้าสู่ธนาคารไทยจากนักลงทุนต่างชาติในปี 2564 ถึงกระนั้น ก็ยังห่างไกลจากทุนที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศจำนวน 92,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2556

นักลงทุนจากต่างประเทศในโครงการใหญ่กำลังเปรียบเทียบไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในความมั่นคงทางการเมืองก่อนจะตัดสินใจลงทุน หากการเมืองไทยนิ่งเร็วเท่าไหร่ก็จะได้เปรียบ

ประเทศในภูมิภาคของเราก็มีปัญหาการเมืองที่ต้องปรับปรุงเช่นกันเช่น

ผู้นำของเวียดนามอยู่ในภาวะสับสนหลังการลาออกของประธานาธิบดีเมื่อต้นปีนี้ ฟิลิปปินส์และมาเลเซียออกกำลังปรับตัวเข้ากับรัฐบาลชุดใหม่

อินโดนีเซียยังไม่มีผู้สืบทอดตำแหน่งที่ชัดเจนที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ซึ่งต้องออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญในปี 2567 

การเมืองไทยถึงแม้ประชาธิปไตยจะไม่เต็มใบในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา แต่หลายบริษัทก็ลงทุนในเมืองไทยได้เพราะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย และเทียบกับประเทศอื่นแล้วไทยยังได้เปรียบอยู่ เมื่อทุกประเทศกำลังปรับปรุงความมั่นคงและเสนอผลประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุน ไทยก็ควรจะหาทางสรุปการเมืองในประเทศโดยสันติวิธี ให้ทันเวลา เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้ครับ