แนวโน้มการลงทุนโลกไตรมาส 4 เน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

แนวโน้มการลงทุนโลกไตรมาส 4 เน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

ความแข็งแกร่งในตลาดแรงงานสหรัฐอาจเป็นสาเหตุที่ Recession ยังมาไม่ถึง ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งมาจากการขาดสมดุลของ Supply-Demand หลังเกิด COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐยังเดินหน้าต่อไปได้และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็นประมาณ 70% ของ GDP สหรัฐ

โดยในช่วง COVID-19 การจับจ่ายซื้อสินค้า เช่น คอมพิวเตอร์หรือเฟอร์นิเจอร์ เติบโตขึ้นอย่างมาก และกำลังกลับสู่ภาวะปกติในช่วงก่อนเกิดโรคระบาดแล้วแต่ภาคบริการยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคอยากใช้เงินเพื่อซื้อประสบการณ์ที่พวกเขาโหยหาตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือซื้อตั๋วคอนเสิร์ต

แนวโน้มการลงทุนโลกไตรมาส 4 เน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ Demand ที่แข็งแกร่งในภาคบริการเกิดขึ้นในช่วงเดียวกับที่สหรัฐกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่วนหนึ่งเกิดจากการสับเปลี่ยนตำแหน่งงานในช่วง COVID-19 รวมถึงแรงงานวัย Baby Boomer ที่เกษียณเร็วขึ้นในช่วงโรคระบาด ทำให้ Labour Force Participation (อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงาน) ปรับตัวลดลง

 

โดยจำนวนแรงงานหายไปเกือบ 2 ล้านคนเมื่อเทียบกับช่วงก่อน COVID-19 ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าจ้างแรงงานและค่าบริการเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกับบริษัทที่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นไปให้ผู้บริโภค ทั้งนี้ เงินเฟ้อในภาคบริการนั้น เป็นสาเหตุหลักของอัตราเงินเฟ้อโดยรวม ในท้ายที่สุด เราเชื่อว่าผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ จะเริ่มลดลงเมื่อตลาดแรงงานกลับสู่จุดสมดุล อย่างไรก็ดี ความแข็งแกร่งของตลาดแรงงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาจทำให้ Recession เกิดขึ้นช้าลง

แนวโน้มการลงทุนโลกไตรมาส 4 เน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

 สถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ Fed ต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงนานขึ้น เพื่อลดความร้อนแรงในตลาดแรงงานและหลีกเลี่ยง Wage-price Spiral ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อค่าจ้างแรงงานและราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นวัฏจักร

จนนำไปสู่ปัญหาเรื้อรังที่เป็นสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อยืดเยื้อในช่วงปี 1970-80 ทำให้เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นจะชะลอตัวทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม การที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงกว่า 5% ก็เป็นสาเหตุว่าทำไม Recession ยังน่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปมากกว่านี้

สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตทั้งแง่บวกและลบ

แง่ลบ: อาจเกิดขึ้นหากราคาพลังงานหรือสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอีกอย่างรวดเร็วจากสาเหตุเช่น จีนออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจหรือเกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้อัตราเงินเฟ้ออาจกลับขึ้นมาสูงอีกครั้งจน Fed ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

แง่บวก: Soft Landing หรือการหลีกเลี่ยง Recession ก็อาจเกิดขึ้นได้ หาก Fed ใช้นโยบายทางการเงินได้อย่างเหมาะสมในขณะที่ตลาดแรงงานค่อยๆ ลดความร้อนแรง ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐไม่เข้าสู่ Recession แต่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่นี้ Soft Landing จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ Fed ออกนโยบายดังกล่าวได้ในเวลาที่ถูกต้อง

Great Reset หลังการปรับตัวลงครั้งใหญ่ในตลาดตราสารหนี้

หลัง Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วเพื่อต่อสู่กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลงมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ โดยตลาดตราสารหนี้สหรัฐปรับตัวลดลงถึง 13% ในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ด้วย Yield ที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับช่วงต้นทศวรรษ 2010 ทำให้เกิดการ Reset ครั้งใหญ่ในตลาดตราสารหนี้ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นการสร้าง Runway ให้ตราสารหนี้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ไปอีก 10 ปี หาก Yield ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในระยะข้างหน้า ซึ่งโดยปกติราคาของตราสารหนี้จะสวนทางกับ Yield

แนวโน้มการลงทุนโลกไตรมาส 4 เน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

จีนกำลังชะลอตัวอย่างรุนแรง แต่ไม่ถึงวิกฤติครั้งใหญ่ ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังสดใส

ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนไม่ได้กำลังเข้าสู่วิกฤติครั้งใหญ่ เห็นได้จากมาตรวัดที่แสดง Demand และ Supply ของตลาดอย่างราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งมักแส8ดงให้เห็นแนวโน้มในระยะข้างหน้า ยังไม่ส่งสัญญาณวิกฤติใดๆ

จนถึงขณะนี้ และแม้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จะแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง แต่ตัวเลขก็ไม่ได้บ่งบอกว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ส่วนธนาคารจีนยังมีสภาพคล่องที่มากพอ ดังนั้น หากสถานการณ์ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ย่ำแย่ไปมากกว่านี้ ความเสี่ยงต่อระบบการเงินของจีนก็อาจยังมีจำกัด

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนกำลังชะลอตัวอย่างรุนแรง โดยปัญหาในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 25-30% ของ GDP กำลังฉุดรั้งการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภค ขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นอีกแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญปัญหาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายลดหนี้สาธารณะของทางการจีน อาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้รัฐบาลน่าจะออกมาตรการช่วยเหลือแค่เฉพาะกลุ่ม ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่อย่างในปี 2008

นอกจากนี้ จีนยังมีกลุ่มธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนอย่าง นโยบายช่วยเหลือของรัฐบาล ความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิต EV จีนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเทรนด์ระยะยาวของโลกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจนี้อาจยังมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะช่วยการเติบโตในระยะสั้น แต่เราก็ควรพิจารณาถึงโอกาสในระยะยาว

ขณะที่ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศมหาอำนาจที่เศรษฐกิจอยู่ในจุดที่ดี เห็นได้จากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงผลักดันนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย เพราะมีเป้าหมายรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับ 2% อย่างต่อเนื่อง จากที่เคยอยู่ในระดับต่ำมากตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ แม้ว่าโอกาสในระยะสั้นของนักลงทุนจะมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากแล้วตั้งแต่ต้นปี แต่การที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มผลกำไรให้ภาคเอกชน จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้เติบโตต่อไปได้ในระยะยาว

ERAA™ ระบุว่าเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะ Stagflation และยังเน้นรับมือความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

การจับสัญญาณครั้งล่าสุดของ ERAA™ แสดงให้เห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงหดตัว และแม้ว่าเงินเฟ้อได้ปรับตัวลดลง แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและน้ำมันยังคงยืดเยื้อ นอกจากนี้ เมื่อยังมีความไม่แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อจะเป็นอย่างไรในระยะสั้น เท่ากับว่าการตั้งรับยังเป็นการรับมือที่ดีที่สุด ดังนั้น เรายังคงรักษา Asset Allocation ของพอร์ตให้ Defensive

  • ตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงน่าสนใจด้วย Yield ที่ค่อนข้างสูงและความเสี่ยงที่ต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะสั้นที่ปัจจุบันให้ Yield ที่ 5.4% ต่อปี (ขึ้นจาก 4.5% เมื่อช่วงต้นปี) ทั้งนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ซึ่งจะทำให้ Yield อาจขึ้นไปได้อีกเช่นกันในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะยาวจะได้รับประโยชน์เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว และเมื่อวงจรดอกเบี้ยขาขึ้นใกล้ถึงจุดจบ
  • การเติบโตทางเศรษฐกิจยังน่าจะชะลอตัวลงอีกในระยะข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทต่างๆ จึงทำให้สินทรัพย์ Defensive มีแนวโน้มทำผลตอบแทนได้ดีในสภาวะเช่นนี้ นอกจากนี้ เรายังคงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนา AI
  • เมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ การกระจายการลงทุนไปยังตลาดหุ้นนอกสหรัฐยังมีโอกาสที่ดี โดยเฉพาะในตลาดหุ้นญี่ปุ่นซึ่งนักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจตามที่กล่าวมาข้างต้น
  • ในระยะยาว เรามองว่าการกระจายการลงทุนไปที่จีนยังสมเหตุสมผล โดยลงทุนในสัดส่วนที่เทียบเท่ากับสัดส่วนระหว่างมูลค่าตลาดหุ้นจีนกับตลาดหุ้นโลก โดยพอร์ต General Investing ของเราที่บริหารโดย ERAA™ ได้จัดสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างหุ้นจีนและหุ้นทั่วโลกไว้แล้ว โดยลงทุนในจีนผ่าน ETF ดัชนีตลาดเกิดใหม่และดัชนีตลาดโลกโดยรวม
  • ‘ทองคำ’ ยังถือเป็นสินทรัพย์สำคัญในพอร์ตของเรา เนื่องจากมีค่า Correlation หรือความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ค่อนข้างต่ำ ซึ่งช่วยปกป้องพอร์ตในช่วงตลาดผันผวนได้ เห็นได้จากช่วงครึ่งปีแรกที่ทองคำสามารถทำผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากนักลงทุนต้องการหลบภัยท่ามกลางความวุ่นวายในกลุ่มธุรกิจธนาคาร

การ ‘จับจังหวะซื้อ-ขาย’ เป็นเรื่องยากมาก แม้กระทั่งนักลงทุนมืออาชีพที่มีประสบการณ์สูงยังไม่สามารถทำได้ถูกต้องทุกครั้ง StashAway เชื่อมั่นในการลงทุนแบบ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging ซึ่งเป็นการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอโดยไม่คำนึงถึงภาวะตลาด เพราะการ Stay Invested และการลงทุนอย่างสม่ำเสมอยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวและบรรลุเป้าหมายทางการเงินของคุณ ให้ลองนึกว่าคุณเป็นกัปตันเรือที่แล่นอยู่ในมหาสมุทร แม้ลมเปลี่ยนทิศจะทำให้เรือออกนอกเส้นทางไปบ้าง แต่จุดหมายสุดท้าย คือ สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณควรยึดเอาไว้ให้มั่น

การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน; อัตราผลตอบแทนอ้างอิงจากผู้จัดการกองทุน ETF ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคตและอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามภาวะตลาดและอัตราแลกเปลี่ยน โดยอัตราผลตอบแทนล่าสุด ณ 31 ส.ค. 2023