เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน RMF พร้อมอัปเดตกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2567

เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน RMF พร้อมอัปเดตกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2567

การซื้อ RMF เพิ่มเติมหลังจากได้ขาย RMF ในส่วนที่ครบเงื่อนไขไปแล้วไม่ว่าขายทั้งหมดหรือบางส่วน การนับระยะเวลาการลงทุน RMF ทั้งหมดจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ทำให้ผู้ลงทุนต้องรออีกอย่างน้อย 5 ปีเต็มถึงจะขาย RMF กองที่ยังถืออยู่ได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้แล้วเราสามารถเลือกขาย RMF ออกมาทั้งหมดหรือทยอยขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี

เมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงปลายปีหลายคนก็อาจกำลังเริ่มมองหาตัวช่วยในการลดหย่อนภาษีโดยวางแผนค่าลดหย่อนต่างๆตามสิทธิลดหย่อนที่ตัวเองมี สำหรับหนึ่งในตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด ได้แก่ กองทุนลดหย่อนภาษี RMF/SSF และตอนนี้เรายังมีกองทุน Thai ESG ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นกองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน RMF พร้อมอัปเดตกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2567 โดยบทความนี้จะขอสรุปแนวทางในการลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีว่าเราควรวางแผนกันอย่างไรเพื่อได้ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด สำหรับการซื้อ SSF อาจไม่ค่อยมีประเด็นในด้านเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีเท่าไหร่นักเนื่องจากมีเงื่อนไขที่ไม่ซับซ้อน ในขณะที่ RMF แม้จะเป็นกองทุนที่มีมาหลายปีแล้วแต่อาจมีเงื่อนไขทางภาษีบางประการที่พบว่าผู้เสียภาษีมักเข้าใจผิดหรือยังเป็นที่สับสนกันอยู่ เนื่องจาก RMF มีเงื่อนไขในเรื่องระยะเวลาการถือครองที่ค่อนข้างนานที่จะต้องรอจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์และยังมีเงื่อนไขที่ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี จึงอยากหยิบยกประเด็นที่พบบ่อยเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการลงทุนใน RMF อย่างถูกต้องและได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วนรวมทั้งอัปเดตกองทุนลดหย่อนภาษีของปี 2567 ด้วย

เรื่องต้องรู้ก่อนลงทุน RMF พร้อมอัปเดตกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2567 ประเด็นต้องรู้ก่อนลงทุน RMF:

  • ซื้อเกินสิทธิ เราสามารถซื้อ RMF เพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินและเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท จึงต้องระวังเรื่องการลงทุนเกินเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งกำไรในส่วนที่ซื้อเกินจะไม่ได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีและยังจะต้องนำกำไรในส่วนที่ซื้อเกินไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย 
  • การนับระยะเวลาการถือครองครบ 5 ปี ต้องลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปีนับแบบวันชนวันแต่สามารถเว้นการลงทุนได้ไม่เกิน 1 ปีติดต่อกัน (ซื้อปีเว้นปีได้) วิธีนับอายุของ RMF จะนับจากกองทุน RMF กองแรกที่เราซื้อ หลังจากนั้นจะทยอยซื้อ RMF กองเดิมหรือกองใหม่ก็ได้ ทั้งนี้ หากอายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์จะไม่สามารถขายคืนได้หรือหากอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แต่ระยะเวลาถือครองไม่ครบ 5 ปีก็จะต้องถือต่อให้ครบ ตัวอย่างวิธีนับ สมมติว่าเริ่มซื้อ RMF วันที่ 5 ม.ค. 2567 และซื้อต่อเนื่องมาทุกปี ทุกกองที่ซื้อจะถือว่าครบกำหนดตามเงื่อนไขในวันที่ 5 ม.ค. 2572 และสามารถขายหน่วยลงทุนทั้งหมดโดยไม่ผิดเงื่อนไขการถือครองในวันที่ 6 ม.ค. 2572 แต่ในกรณีที่เราไม่ได้ลงทุนต่อเนื่อง เช่น ลงทุนแบบปีเว้นปีก็จะต้องถือครองเกือบ 10 ปี เพราะการนับระยะเวลาของ RMF จะนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น

การขายคืนเมื่อครบกำหนด หากมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และได้มีการลงทุนต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปีเต็มแล้ว แต่ยังมีรายได้อย่างต่อเนื่องและต้องการใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษีอยู่ก็สามารถถือครองต่อไปได้ไม่จำเป็นต้องขายคืน เพราะหากมีการซื้อ RMF เพิ่มเติมหลังจากได้ขาย RMF ในส่วนที่ครบเงื่อนไขไปแล้วไม่ว่าขายทั้งหมดหรือบางส่วน การนับระยะเวลาการลงทุน RMF ทั้งหมดจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ทำให้ผู้ลงทุนต้องรออีกอย่างน้อย 5 ปีเต็มถึงจะขาย RMF กองที่ยังถืออยู่ได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี แต่ถ้าไม่มีรายได้แล้วเราสามารถเลือกขาย RMF ออกมาทั้งหมดหรือทยอยขายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขทางภาษี