How Tokenization Can Be Climate Solutions
นอกเหนือจากความแปรปรวนของตลาดหุ้นและตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ความแปรปรวนของสภาพอากาศโลก ณ ขณะนี้ ก็หนักหน่วงไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ Polar Vortex ที่ทำให้ประเทศไทยหนาวเย็นอย่างขนลุกในเดือนเมษายน หรือจะเป็นคลื่นความร้อนที่ปกคลุมสเปน
รวมถึงน้ำท่วมฉับพลันที่อุทยานเยลโลว์สโตนของสหรัฐในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เหตุการณ์แปลกประหลาดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลมาจากสภาวะโลกร้อน จึงไม่น่าแปลกใจที่สภาวะโลกร้อนจะกลายเป็นวาระแห่งชาติของหลายๆประเทศ รวมถึงประเทศไทยเองด้วย หนึ่งในหัวข้อภายใต้สภาวะโลกร้อนที่หลายๆประเทศพูดถึงกันคือ “คาร์บอนเครดิต”
คาร์บอนเครดิต หรือ ผลการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ที่มาจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินการ โดยคาร์บอนเครดิตที่ว่านี้สามารถนำมาซื้อขายได้ โดยการซื้อขายทำกันผ่านตลาด ที่ปัจจุบันแบ่งเป็น 2 รูปแบบได้แก่ 1. ตลาดภาคบังคับ (Mandatory Carbon Market) 2. ตลาดภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Market)
แม้ว่าคาร์บอนเครดิตจะถูกมองเป็นความหวังของสังคมว่า จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ ภายใต้กลไกการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ที่ให้รางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอน แต่ทว่าในตลาดคาร์บอนเครดิตในตลาดแบบภาคสมัครใจนั้น อาจจะพูดไม่ได้อย่างเต็มปากว่า สามารถแสดงศักยภาพในการช่วยแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจนั้น เกิดจากความร่วมมือของผู้ประกอบการหรือองค์กรที่จะลดก๊าซเรือนกระจกโดยไม่ได้มีกฎหมายใดใดมาบังคับ เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละองค์กรนั้นไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ต่างจากภาคบังคับที่เป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นมีผลผูกพันทางกฏหมายโดยตรง
จึงส่งผลให้ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจส่วนใหญ่จึงขาดสภาพคล่องในฝั่งผู้ซื้อ และในส่วนของราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจนั้นก็มีราคาต่ำกว่าคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนภาคบังคับมาก เนื่องจากการซื้อขายเกิดขึ้นได้ ก็ต้องหวังพึ่งความร่วมมือจากผู้ซื้อที่มีความมุ่งมั่นที่จะลดก๊าซเรือนกระจก นั่นเอง และตรงนี้นี่เองที่อาจจะเป็นโอกาสให้เทคโนโลยีบล็อกเชนสามารถเข้ามาช่วยแก้ไขและเพิ่มประสิทธิภาพ กลไกตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจได้
ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า มีหลายๆโครงการที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับคาร์บอนเครดิตในตลาดแบบภาคสมัครใจ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของ The World Bank’s International Finance Corporation ที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้ในการขึ้นทะเบียนโครงการการลดก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้อยู่ในรูปแบบโทเคนดิจิทัล หรือ สตาร์ทอัพ Toucan ที่มีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ยกระดับตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ
โดยเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีคาร์บอนเครดิตที่มาจากโครงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน VERRA (“Verra registry”) สามารถนำคาร์บอนเครดิตที่มีเข้าสู่ระบบบล็อกเชน ด้วยการวิธีการ Tokenization ผ่าน The Toucan Carbon Bridge ที่เชื่อมต่อระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตกับระบบทะเบียนของ Toucan (“Toucan Registry”) ที่รันบน Polygon network หรือ โครงการ MOSS Carbon (MCO2) Token ที่ออก MCO2 (“Moss Carbon Credit”) ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัล บน Ethereum network ที่เป็นตัวแทนความเป็นเจ้าของใน 1 ตันคาร์บอนเครดิตที่มาจากโครงการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับโลก (เช่น VERRA หรือ Gold Standard)
จากโครงการที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า หลายโครงการได้นำการ Tokenization มาใช้ในตลาดคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ เนื่องจากวิสัยทัศน์ที่มองว่าการทำ Tokenization ทำให้สังคมเข้าถึงตลาดคาร์บอนเครดิตได้ง่ายขึ้น ฐานผู้ซื้อขยายตัวจากเพียงแค่บริษัทที่มีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่มีทั้งบริษัท นักลงทุนรายใหญ่ และรายย่อย การเปลี่ยนมือ หรือโอนกรรมสิทธิ์ของคาร์บอนเครดิตเป็นไปอย่างรวดเร็ว ง่ายดาย โปร่งใส ปลอดภัยและตรวจสอบได้
โดยสามารถดูข้อมูลของการทำธุรกรรมได้ว่า ใครเป็นผู้ซื้อสินทรัพย์และใครเป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือผู้ขาย ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติของโทเคนดิจิทัลที่สามารถนำสินทรัพย์มาแตกหน่วยการลงทุนย่อยได้ (Fractionalize) และคุณสมบัติของโทเคนดิจิทัลที่สามารถเขียน Smart Contract (Programmability) ก็ให้การประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆกับคาร์บอนเครดิตเป็นไปได้อย่างง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดคาร์บอนเครดิต ปรับราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจนั้นให้เพิ่มตัวสูงขึ้นจากความต้องการที่มากขึ้น ส่งผลให้กลไกการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ภายใต้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดแบบภาคสมัครใจนั้นทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม แม้การ Tokenization เป็นทางเลือกนึงที่จะช่วยผลักดันคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคม Net Zero (สังคมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์) คาร์บอนเครดิต หรือการ Tokenization คาร์บอนเครดิต อาจจะเป็นเพียงวิธีเสริม สำหรับทางแก้สภาวะโลกร้อนที่ต้องมาจากการสนับสนุนจากภาครัฐที่ผลักดันสังคมให้ลดก๊าซเรือนกระจก การปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมเช่น การลดการใช้พลาสติก การใช้การคมนาคมสาธารณะ เพื่อจะทำให้โลกของเราเข้าสู่สังคม net zero ได้อย่างตั้งเป้าหมายไว้
ขอบเขตการให้บริการ TKX Chain, ColleX และโซลูชันด้านเทคโนโลยีต่างๆ ของ Token X เป็นการให้บริการในฐานะการเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายบล็อกเชน (Blockchain Network Provider) และผู้พัฒนาเทคโนโลยี (Technology Provider) ซึ่งอยู่นอกเหนือต่างหากจากการประกอบธุรกิจ ICO Portal
สำหรับผู้ที่สนใจการออก Digital Token ก็สามารถเลือกใช้บริการกับทาง Token X ได้เช่นกัน เพราะ Token X พร้อมให้บริการ Tokenization แบบครบวงจรที่นอกจากจะมีบริการให้คำปรึกษา เชื่อมต่อ และพัฒนาเกี่ยวกับ Tokenization อย่างครบวงจรแล้วยังมีบล็อกเชนที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเองอย่าง TKX Chain และโซลูชันพร้อมใช้อย่าง TKX API และ TKX Enterprise Portal ที่จะช่วยให้การออก Digital Token กลายเป็นเรื่องง่ายการเลือกใช้โทเคนดิจิทัลอย่างถูกจุด และตรงตามจุดประสงค์ล้วนแต่จะสร้างโอกาสและการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้เกินกว่าที่คิดไว้เสมอ สามารถติดต่อ Token X ได้ที่อีเมล [email protected]