"ประกันภัย (แผ่นดินไหว)" ตัวช่วยบรรเทา - ลดความเสียหาย "คอนโดมิเนียม"

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากเหตุการณ์เเผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ (28 มีนาคม 2568) ยังอาจมีภัยจากลมพายุ น้ำท่วม ไฟไหม้ น้ำท่วม ฯลฯ เป็นต้น
ภัยต่างๆ ดังกล่าว อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งเมื่อเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติดังกล่าวเเล้ว อาจมิใช่ความเสียหายด้านทรัพย์สินเเต่เพียงอย่างเดียว ยังอาจกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คน ผู้ประสบภัยตามมาอีกด้วย
การเกิดเเผ่นดินไหว ครั้งล่าสุดของไทย อันเป็นผลจากการขยับตัวของเเผ่นเปลือกโลก "สกาย" ซึ่งทอดยาวหลายพันกิโลเมตรในเเผ่นดินประเทศเมียนมา เเถบเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองหลวง เเหล่งเศรษฐกิจสำคัญของประเทศเมียนมา
ด้วยเเรงสั่นสะเทือนกว่า 8.2 ริคเตอร์ ห่างจากจังหวัดเเม่ฮ่องสอน อำเภอปางมะผ้าสามร้อยกว่ากิโลเมตร สร้างความเสียหายต่อชีวิต อาคาร ทรัพย์สิน บ้านเรือน ตลอดจนความเสียหายเเก่ประเทศเมียนมาดังกล่าว เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญ ได้เเก่ การมีผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติดังกล่าว
ณ วันที่ผู้เขียนนำเสนอบทความ เป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งพันคน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนรัฐบาลทหารเมียนมา มองว่า น่าจะมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งหมื่นคน ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้
อย่างไรก็ตาม หลายประเทศต่างระดมความช่วยเหลือเเก่ผู้ประสบภัย ทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ เครื่องไม้ เครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยชีวิตของผู้คนที่ติดอยู่ภายใต้อาคาร ตึกที่ถล่มให้รอดปลอดภัยโดยเร็วที่สุด
"ประเทศไทย" นับว่าเป็นภัยพิบัติที่อาจไม่ค่อยเกิดความเสียหายมากเช่นนี้มาก่อน ซึ่งเป็นเวลานานมากเเล้ว ที่เกิดเเผ่นดินไหวในลักษณะนี้
ข้อมูลล่าสุด จากการเปิดเผยของหน่วยงานภาครัฐ กรมทรัพยากรธรณีวิทยา เคยเกิดเเผ่นดินไหวที่มืผู้เสียชีวิตจำนวนมากเกินกว่าห้าร้อยรายในอดีต เมื่อห้าสิบ ไม่เกินเจ็ดสิบปี
"ข้อสังเกต" ได้เเก่ การเกิดเเผ่นดินไหวของประเทศไทย ครั้งนี้ จะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เเผ่นดินไหวที่สร้าง หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ใหญ่โต อีกครั้งเมื่อใด
หรือถ้าเกิดเหตุการณ์เเผ่นดินไหวในลักษณะเดียวกัน กับเเรงสั่นสะเทือนไม่น้อยกว่า 7 หรือ 8 ริคเตอร์ หรืออาจมากกว่านั้นในอนาคต
ประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐ เเละประชาชนจะรับมือกับภัยเเผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ ลดความเสียหาย หรือความเสียหายต่อประเทศ เเละผู้คน พลเมืองของประเทศได้อย่างไร ?
สำหรับประเทศไทย พบว่ามีหลายจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยเเผ่นดินไหว หลายจังหวัดทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเเละภาคใต้โดยเฉพาะ "กรุงเทพมหานคร" ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
เหตุเพราะมีอาคารสูง ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า โรงเเรม ขนาดใหญ่ เป็นจำนวนมาก ทั้งผนังอาคารเกิดการเเตกร้าว คานรับน้ำหนักทรุดตัว อาคารที่ก่อสร้างก่อนปี 2550
ตลอดจนโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เเละอาคารส่วนราชการอีกหลายเเห่งในปัจจุบัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม พื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร เเละปริมณฑล สามจังหวัด นับได้ว่าเป็นพื้นที่แหล่งศูนย์รวมเศรษฐกิจ ความเจริญอันดับต้นๆ ของไทยที่มีอาคารสูงของทั้งภาครัฐ เเละเอกชนเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งตามรายงานสภาพภูมิศาสตร์พบว่า เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่ม ดินอ่อน ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการทรุดตัวของอาคาร บ้านเรือนเเล้ว ยังอาจต้องรับความเสี่ยงอันเกิดจากภัยเเผ่นดินไหวที่มีโอกาสเกิดความเสียหายมากกว่าหลายจังหวัดของไทยอีกด้วย
จังหวัดกรุงเทพมหานครเเละปริมณฑลดังกล่าว เมื่อตรวจนับจำนวนโครงการคอนโดมิเนียมมีจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ รองลงมา ได้เเก่ ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี เเละภูเก็ต ตามลำดับ
หรือเมื่อเกิดภัยเเผ่นดินไหวคราวต่อไป โครงการ นิติบุคคลอาคารชุด เเละเจ้าของร่วม ผู้ซื้อจะรับมือ หรือมีมาตรการใดรองรับ เพื่อลด หรือบรรเทาความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว
"ประกันภัย" อาจเป็น "คำตอบ" ที่สามารถบรรเทา ลดความสูญเสีย เสียหาย หรือความเดือดร้อนจากภัยเเผ่นดินไหวได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษา ตรวจสอบความตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติอาคารชุดทั้งสาม สี่ฉบับ กลับไม่พบ หรือมีการบัญญัติบังคับให้อาคารชุด คอนโดมิเนียมจัดทำประกันภัย (ทรัพย์ส่วนกลาง) เเต่อย่างใด
ประกอบกับข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดตามมาตรา 32 ซึ่งกำหนดให้ต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อย จำนวน 8 - 9 ข้อ ก็ไม่พบ หรือบังคับให้โครงการ นิติบุคคลอาคารชุดต้องทำประกันภัยไว้เเต่อย่างใดด้วยเช่นกัน
หมายความว่าโครงการ นิติบุคคลอาคารชุดที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุดจะทำหรือไม่ทำประกันภัยทรัพย์ส่วนกลางก็ได้
เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดไม่ทำประกันภัย ย่อมต้องเเบกรับความเสี่ยงอันเป็นความเสียหายต่อภัยพิบัติตามธรรมชาติทั้งเเผ่นดินไหว ลมพายุ หรือน้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น
เเต่หากนิติบุคคลอาคารชุดจัดทำประกันภัยความเสียหายจากภัยพิบัติดังกล่าว เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บริษัทประกันภัย (ผู้ให้ประกัน) มีหน้าที่ชำระค่าสินไหมอันเกิดจากความเสียหายดังกล่าวให้เเก่นิติบุคคลอาคารชุด (ผู้เอาประกัน) ตามกรมธรรม์ที่ทำไว้
ทัศนะผู้เขียนเห็นว่าภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรตรวจสอบอาคารชุดทุกเเห่ง อีกทั้งหน่วยงานด้านประกันภัยควรให้ความรู้ ความเข้าใจเเก่โครงการ นิติบุคคลอาคารชุด เเละเจ้าของ ร่วมพิจารณาจัดทำประกันภัยกับบริษัทประกันภัยที่มีความน่าเชื่อถือ มีระบบการเงินที่มั่นคงเเข็งเเรงรองรับ หรือภาครัฐ กรมที่ดิน ซึ่งเป็นฝ่ายกำกับ ดูเเลระบบอาคารชุด ควรปรับปรุง เเก้ไข
หรือเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอาคารชุด หรือพิจารณาออกเป็น "กฎกระทรวง" เกี่ยวกับการจัดทำประกันภัยทรัพย์ส่วนกลางดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อป้องกัน ลดความสูญเสีย หรือเสียหายจากภัยพิบัติเเผ่นดินไหว ดีกว่าไม่ (คิด) ทำอะไร สุดท้าย อาจเข้าสุภาษิต "วัวหายล้อมคอก".