“จุรินทร์”ถกกรอพาณิชย์ใต้ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
“จุรินทร์” ยกทัพลงใต้ ถก กรอ.พาณิชย์ ลุยแก้ปัญหากระจายผลไม้ ส่งเสริมสมุนไพรดันชายแดนใต้เป็นฮับอาหารฮาลาลและเมืองปศุสัตว์พร้อมแก้ไขอุปสรรคค้าชายแดน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์) ภาคใต้ ว่า วันนี้เป็นการประชุม กรอ.พาณิชย์ ภาคใต้ ถือเป็นการประชุมในส่วนภูมิภาคเป็นครั้งแรก จากนี้จะมีการประชุมในส่วนของภาคกลางที่จังหวัดระยอง ภาคเหนือที่พิษณุโลก และภาคอีสานที่อุบลราชธานีหรือนครราชสีมาต่อไป เพื่อลงลึกการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงพาณิชย์ที่ส่วนราชการอื่นและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดและลงลึกถึงการแก้ปัญหาในระดับภาคมากขึ้น
โดยประเด็นสำคัญที่หารือ คือ การกระจายผลไม้ภาคใต้ในฤดูกาลผลิตที่จะมาถึง กำลังจะออกสู่ตลาด 2-3 เดือนที่จะถึงนี้ สำหรับตลาดในประเทศจะเพิ่มพื้นที่ระบายผลไม้ในปั๊มน้ำมันทั่วประเทศ เช่น ปั๊มปตท. ปั๊มเชลล์ บางจากและพีที เป็นต้น และประสานงานกับห้างสรรพสินค้าต่างๆจัดพื้นที่ระบายพลไม้ภาคใต้ มอบหมายให้แต่ละจังหวัดดำเนินการจัดพื้นที่จำหน่ายผลไม้ สำหรับการเปิดตลาดต่างประเทศเร่งรัดการส่งออกผลไม้ไปประเทศจีนในกลุ่มอาเซียนและตลาดใหม่อย่างตะวันออกกลางและอินเดียเป็นต้น
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การส่งเสริมสนับสนุนให้จังหวัดใช้แดนใต้ เป็นครัวโลกด้านอาหารฮาลาลในอนาคตนั้นจะมีการคัดสินค้าที่มีศักยภาพจังหวัดละ 20 รายการ และจะเพิ่มให้เป็น 200 รายการต่อไปในส่วนของอาหารดำเนินการให้จังหวัดชายแดนใต้เป็นฮับอาหารฮาลาลในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศต่อไป และส่งเสริมตลาดสมุนไพรไทย ซึ่งที่ประชุมเสนอว่า ประเทศคู่ค้าที่ควรพุ่งเป้าควรเป็นภูฏาน ตนรับจะไปหารือกับรัฐมนตรีพาณิชย์ของภูฏานในวันที่ 29 เม.ย.ที่จะถึงนี้ ที่จังหวัดภูเก็ตที่จะมีการประชุม JTC ไทย-ภูฏาน (การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือ Joint Trade Committee)ให้ภูฏานเป็นช่องทางการตลาดอีกตลาดหนึ่งสำหรับสินค้าสมุนไพรไทย
ส่วนในเรื่องอื่นๆเช่น สมาพันธ์เอสเอ็มอีต้องการให้การค้าออนไลน์ของผู้ค้ารายย่อยลดต้นทุนการขนส่ง โดยเฉพาะค่าไปรษณีย์ ตนขอไปหารือกับที่ประชุม กรอ.พาณิชย์ ส่วนกลางกับผู้บริหารบริษัทโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องต่อไป และจะเดินหน้าจัดกิจกรรมกระบี่สตรีทฟู้ดเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาแล้วพร้อมทั้งการโปรโมทสินค้าที่เป็นแบรนด์ของจังหวัดพังงาด้วย รวมทั้งเดินหน้าขับเคลื่อนการค้าชายแดนโดยเฉพาะด่านสะเดากับฝั่งมาเลเชียอีกช่องทางหนึ่งนอกจากด่านที่มีในปัจจุบัน มีอุปสรรคในการหาจุดทำถนนเชื่อมระหว่าง 2 ประเทศขณะนี้ฝ่ายไทยมีข้อยุติว่าจะใช้จุดไหน ศอ.บต.เตรียมการเสนองบประมาณ 251 ล้านบาท เข้า ครม.เพื่อของบกลางในปี 65 จัดทำถนน 850 เมตร ไปฝั่งมาเลเซียเสร็จปลายปี 66 ในส่วนของมาเลเซียเดือนสิงหาคมจะได้ข้อสรุปว่าจุดที่บรรจบจุดไหน จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างกันได้เป็นจำนวนมหาศาล
ขณะที่ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้( ศอ.บต.) ต้องการเดินหน้าทำใน 3 เรื่อง 1.ต้องการให้จังหวัดชายแดนใต้เป็นเมืองปศุสัตว์ ซึ่งได้กำหนดช่วงเวลาปี 65-69 ใช้งบประมาณ 700 ล้านบาท กำลังทำแผนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป