บิ๊กคอร์ป ตบเท้าเคลื่อนองค์กร สู่เป้าหมาย ZERO CARBON

บิ๊กคอร์ป ตบเท้าเคลื่อนองค์กร  สู่เป้าหมาย ZERO CARBON

ภายในงานสัมมนา ZERO CARBON : วิกฤติ-โอกาสไทยในเวทีโลก จัดโดย ฐานเศรษฐกิจ เปิดเวทีให้ภาคเอกชนบิ๊กคอร์ปชั้นนำแชร์แนวคิดมุมมองยุทธศาสตร์ ลดคาร์บอน เพื่อช่วยให้โลกและธุรกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

ปตท.สผ.ประกาศพาองค์กร-ประเทศ มุ่งสู่หมุดมาย“เน็ต ซีโร่” ปี 2050ปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยที่สุด ควบคู่บริหารธุรกิจเดิมให้คุ้มค่า “TPIPP” แนะรัฐสนับสนุนตลาดคาร์บอนเครดิต“ซีพี” ระบุ กลุ่มเกษตรกระทบสูงสุดเกี่ยวกับปัญหาสภาพอากาศเร่งปรับตัว“สิงห์ เอสเตท” ตั้งเป้าลดคาร์บอน 10%ปี 2030 ขณะที่ สอท.เดินหน้าโยบาย BCG จริงจัง

นาถฤดี โฆสิตาภัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปตท.สผ. ถือเป็นบริษัทดูแลในเรื่องของการสำรวจผลิตปิโตรเลียมผลิตแก๊สธรรมชาติ และธรรมชาติเหลวในอ่าวไทยการผลิตแก๊สฯ ดังกล่าว บริษัทปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นบริษัทที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศค่อนข้างสูง

ทั้งนี้ โมเดลการทำธุรกิจต้องทำธุรกิจ เพื่อความยั่งยืนซึ่งตั้งเป้าเน็ต ซีโร่ สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับแนวทางบนเวที COP 26 เหมือนรัฐบาลไทยกำหนดการทำธุรกิจมุ่งสู่องค์กรคาร์บอนต่ำ เน้นลงทุนก๊าซธรรมชาติ นำปัจจัยการลงทุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต พร้อมเดินหน้ากระบวนการกักเก็บคาร์บอนด้วยการใช้เทคโนโลยี CCSในอ่าวไทย และมาเลเซียควบคู่กันช่วยลดได้ในปริมาณมาก พร้อมศึกษาโอกาสการนำคาร์บอนมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าเพื่ออนาคต

“จากนี้ไป ทุกอย่างที่ลงทุนต้องมีโครงการใหม่ ต้องปล่อยก๊าซคาร์บอนให้น้อยที่สุด ต้องบริหารจัดการธุรกิจที่มีอยู่ใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยี CCS ดักเก็บคาร์บอน พร้อมกับการช่วยผลิตแก๊สธรรมชาติ เพื่อสร้างความมั่นคงให้ประเทศ และการปลูกป่าบกและชายเลน หรือหญ้าทะเล ดูดซับก๊าซก๊าซคาร์บอนได้กว่า 2 ล้านคาร์บอนในปี 2050 นำองค์กรสู่เป้าเน็ต ซีโร่ ปี 2050”

สำหรับการลงทุนเทคโนโลยีดักเก็บคาร์บอน และนำกลับมาใช้ประโยชน์ ต้องบริหารจัดการให้สมดุลคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม ผู้ถือหุ้นเพราะการจะลดคาร์บอนต้องจัดหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ และยอมรับว่าตอนนี้มีราคาแพงมาก อีกหน่อยราคาจะลดลง ดังนั้นช่วงนี้ การขอสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐออกนโยบายคาร์บอนเครดิต และออกวิธีการต่างๆ จะช่วยได้มาก

ทีพีไอฯแนะรัฐหนุนคาร์บอนเครดิต

ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบสายบัญชีและการเงิน บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)หรือTPIPP กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีโรงไฟฟ้ารวม 8 โรง มีกำลังผลิตรวม 440 เมกะวัตต์ โดย 50% หรือ 220 เมกะวัตต์มาจากการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิล โดยปี 2566 จะเพิ่มโรงไฟฟ้าโรงที่ 7 เป็นพลังงานจากขยะ กำลังการผลิต 70 เมกะวัตต์ ส่งผลให้สัดส่วนพลังงานจากฟอสซิลเหลือ 32% โรงไฟฟ้าที่ 8 กำลังผลิต 150 เมกะวัตต์

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า 1 และ 2 เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ในขณะที่โรงไฟฟ้าที่ 7 ไม่ค่อยได้มีการผลิต ในขณะที่ โรงไฟฟ้าที่ 8 ยังปล่อยคาร์บอนปีที่ผ่านมาที่ 1.5 ล้านตัน ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า 3-6 เป็นโรงผลิตไฟฟ้าจากขยะจึงไม่มีการปล่อยคาร์บอนเลย

ทั้งนี้ ปัจจุบัน TPIPP ได้รับขยะเฉลี่ยต่อวัน 8,630 ตัน หรือคิดเป็น 2.85 ล้านตันต่อปี ซึ่งช่วยลดคาร์บอนจากการฝังกลบได้ 6.6 ล้านตันต่อปี และภายในปี 2569 คาดว่า จะขยายการรับขยะเฉลี่ยต่อวันเพิ่มเป็น 16,200 ตัน หรือคิดเป็น 5.32 ล้านตันต่อปีช่วยลดคาร์บอนจากการฝังกลบได้ 12.4 ล้านตันต่อปี และลดก๊าซมีเทนที่เกิดจากขยะที่ส่งผลต่อภาวะเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่ง

ดังนั้น อนาคตโรงผลิตไฟฟ้า 7 จะต้องเป็นผลิตจากยขยะ จะใช้เงินลงทุนรวมกว่า 3,000 ล้านบาท และเมื่อทั้งโรงไฟฟ้าที่ 7-8 ต้องใช้ขยะเยอะที่จะเพิ่มโรงอีก 4,500 ตันต่อวัน จะลงทุนอีก 1,000 ล้านบาท

“ปัจจัยสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ประกาศบนเวที COP26 สิ่งที่รัฐบาลช่วยได้ คือ สนับสนุนตลาดคาร์บอน ซึ่งยุโรปได้กำหนดราคาเกือบ 90 ยูโรต่อตันคาร์บอน จีน 7 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอน ซึ่งจะเห็นว่าตลาดคาร์บอนไม่ใหม่ ทั่วโลกมีแล้วไทยควรจะมีไม่น่ารอช้า”

‘ซีพี’ปรับตัวกระทบเกษตร

สมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาล และสื่อสารองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่าการตั้งเป้าลดคาร์บอนต้องทำทั้งกลุ่มกระจายตัวหลายประเทศทั่วโลกเพื่อให้ก้าวสู่เน็ต ซีโร่ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ระดับต้นน้ำยันปลายน้ำทั้งเครือทั่วโลก

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสำคัญธุรกิจเกษตรได้รับผลกระทบสูงกว่าธุรกิจอื่นจากจะเกิดการผันผวนของวัตถุดิบ ปริมาณของการผลิต ทั้งปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้งส่งผลกระทบต่อราคาและคุณภาพเครือบริษัทฯ ที่มีอยู่หลายประเทศต้องดูว่าแต่ละประเทศตั้งเป้าหมายเน็ต ซีโร่ไว้อย่างไรรวมกว่า 120 ประเทศ ที่ตั้งเป้าอยู่ในกฎหมายแล้ว ซึ่งบริษัทฯ ได้กระจายอยู่ในประเทศเหล่านี้ ดังนั้น บริษัทฯ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสอดคล้องกับกฎหมาย เช่น โปรแลนด์มีการเก็บภาษีคาร์บอนไม่ถึง 1 ยูโรต่อตันคาร์บอน

“ถ้าเราทำได้ตามเป้าหมายจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นเป็นโอกาส จึงต้องเร่งปรับตัว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารเราที่มีเอสเอ็มอีหลายรายที่ต้องผลักดันให้ก้าวไปพร้อมกันตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำปรับการปฏิบัติงานให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้พลังงานหมุนเวียน รวมไปถึงนำนวัตกรรม เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยสำคัญรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการและนักธุรกิจจะต้องปรับตัวร่วมกัน วัตถุดิบหลักๆ เป็นสินค้าเกษตร ทั่วโลกเห็นร่วมกันว่าเกษตรกรรมปรับตัวยากสุด หลักๆ ที่มาจากเกษตร และได้ขยับเป้าเน็ตซีโร่ กลุ่มนี้ไว้เกินกว่าปี 2070 ดังนั้น กลุ่มบริษัท จึงเริ่มทบทวนนโยบายที่บริหารจัดการ ทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกปรับวิธีการเพาะปลูกเพื่อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สิงห์เอสเตทลดคาร์บอน10%ปี2030

ฐิติมา รุ่งขวัญศิริโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าบริษัทตั้งเป้าลดการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในแต่ละยูนิตให้ได้ 10% ภายในปี 2030 ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม อาคารสำนักงาน ที่อยู่อาศัย นิคมอุตสาหกรรม ปักธงจากปี 2022 ซึ่งที่ผ่านมาบางโรงแรมได้รับใบรับรองด้านนี้แล้ว

โดยบริษัทจะมองครบทุกมิติทั้งซัพพลายเชนเข้าไปให้การสนับสนุนผู้ให้บริการและขายสินค้าให้บริษัทด้วยการให้ความรู้ให้โอกาสเขาในการยกระดับมาตรฐาน กระบวนการ หนึ่งเป้าหมายความยั่งยืนของบริษัท คือการลด Climate Change ในทุกๆ รูปแบบเริ่มตั้งแต่แนวคิด การออกแบบ ก่อสร้าง กระบวนการทำงาน

“ในวิกฤติสามารถเปลี่ยนเป็นโอกาสได้แต่ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้ดีจะกลายเป็นวิกฤติจริงๆ คลื่นลูกใหญ่กำลังจะมาหนึ่งในโอกาสของเรา คือ การเริ่มทำนิคมฯ ที่เป็น ฟู้ด วัลเลย์ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็กโดยกำลังที่พัฒนาโครงการนี้ให้เป็นกรีน อินดัสทรี”

ส่วนกระแสกรีน หรือ ZERO CARBONสิงห์ เอสเตทกำลังเปิดอาคารสำนักงานออฟฟิศเกรดเอ “เอส โอเอซิส” ถนนวิภาวดี บริษัทข้ามชาติที่สนใจเข้ามาเช่าขอรายละเอียดเกี่ยวกับกรีนคอนเทนต์ของอาคาร ก่อนที่ตัดสินใจเช่า

สอท.เดินหน้าแผน BCG

เกรียงไกร เธียรนุกูล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่าสอท.ได้ประกาศเป้าหมายชัดเจนส่งเสริมอุตสาหกรรมไบโอชีวภาพ (Bio Circular Economy) ที่นำไปส่งเสริมอุตสาหกรรมจำนวนมากที่มีความหลากหลายเช่น การผลิตปุ๋ยชีวภาพ ไบโอพลาสติก ที่สอดคล้องกับเทรนด์สินค้าและบริการในโลก ซึ่งเป็นแนวทางที่ สอท.ให้การส่งเสริม

โดย สอท.กำลังเดินหน้านโยบาย 1 จังหวัด 1 อุตสาหกรรมที่ทำนโยบาย BCG จริงจังเพื่อส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะโดยเอาตลาดเป็นตัวตั้ง ซึ่งทำในเรื่องเกษตรที่เป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของตลาด (On demand) โดยโครงการแรกจะนำร่องใน กทม.เพื่อทำให้เกิดต้นแบบแสดงในช่วงที่เป็นเจ้าภาพ APEC โดยส่งเสริมการทำ plant based ให้มีการทำตั้งแต่ต้นทางตั้งแต่การปลูกพืช การแปรรูป มีการเก็บข้อมูลเรื่องการจัดทำคาร์บอนเครดิต และขยายผลไปทุกภาค ก่อนที่จะขยายไปทุกๆจังหวัดทั่วประเทศ