ธปท.จ่อออกมาตรการใหม่ สกัดหนี้ครัวเรือน ช่วยแก้หนี้กลุ่มเปราะบาง

ธปท.จ่อออกมาตรการใหม่ สกัดหนี้ครัวเรือน ช่วยแก้หนี้กลุ่มเปราะบาง

ธปท.จ่อออกมาตรการใหม่ สกัดปัญหาหนี่กลุ่มเปราะบาง รายได้น้อย ผ่านการเพิ่มรายได้ -ลดปัญหาหนี้ครัวเรือนในระบบ

      นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอ

     โดยเฉพาะมาตรการที่เข้าไปดูแลเฉพาะกลุ่มเปราะบาง กุล่มผู้มีรายได้น้อยรายได้ปานกลาง เช่นพ่อค้าแม่ค้าจากปัญหารหนี้สินครัวเรือนที่สูงขึ้น ดังนั้นอาจต้องมีมาตรการอื่นๆเสริมเข้ามา

       ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เพื่อพิจารณามาตรการเพิ่มเติม ที่จะต้องร่วมแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งระบบ ทั้งวิธีการในการเพิ่มรายได้ให้ลูกหนี้กลุ่มนี้ รวมถึงการดูแลปัญหาหนี้สินที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบางเหล่านี้

     “การหารือการทำมาตรการดังกล่าวต้องหารือทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง มาตรการที่เราทำอยู่ที่ผ่านมา ธปท.ก็เดินเต็มที่ แต่การที่ตอบโจทย์วันนี้ก็ต้องมากขึ้น เพราะว่าเป็นปัญหาที่รอไม่ได้ เช่นผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว ซึ่งเราเห็นว่าจะเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์เพื่อทำให้ภาพรวมของลูกหนี้ดีขึ้น และต้องการเป็นเป็นรูปธรรม ส่วนมาตรการเหล่านี้จะเห็นได้เมื่อไหร่คงต้องหารือกัน”นายรณดล กล่าว

     อย่างไรก็ตามการทำมาตรการดังกล่าวอาจต้องกำหนดให้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เน้นไปที่กลุ่มที่มีความเปราะบาง และที่ธปท.มองว่า เป็นสิ่งเร่งด่วน คือการเจาะให้ถึงกลุ่มลูกหนี้และเข้าให้ถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้

       ที่ผ่านมาสถาบันการเงินไม่นิ่งนอนใจ พยายามจะเข้าไปดูและลูกหนี้มีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรหรือไม่ สำหรับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางนี้ที่ทั้งแบงก์และธปท.มีการเข้าไปติดตามต่อเนื่อง

       “มาตรการที่ทำอยู่หัวใจสำคัญคือทำอย่างไรให้ลูกหนี้ที่มีปัญหาชำระหนี้ได้ผ่านพ้นวิกฤติตรงนี้ไปได้บ้าง"

     ซึ่งลูกหนี้เหล่านี้สถาบันการเงินก็ต้องไปติดตามดูแลส่วนมาตรการที่เราทำอยู่เช่นการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาวการรวมหนี้การช่วยเหลือก็ต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องโดยการเพิ่มแรงจูงใจผ่านการผ่อนเกณฑ์การตั้งสำรองของแบงก์เพื่อเป็นแรงจูงใจในการช้่วยเหลือลูกหนี้”

5ด่านแก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน

    นายรณดล กล่าวว่า การแก้ไขหนี้ที่ธปท.ให้ความสำคัญมาตลอด มี 5 ด้านสำคัญ ได้แก่

     1.การให้ความรู้ทางการเงินหรือการให้วัคซีนให้ความรู้ทางการเงินให้ลูกหนี้ให้เข้าใจความเสี่ยงต่างๆ    

     2.สถาบันการเงินให้บริการทางการเงินบนความรับผิดชอบ เพราะหากจะปล่อยกู้ไม่เพียงดูแค่ความสามารถชำระหนี้เท่านั้นแต่ต้องดูด้วยว่าลูกหนี้เมื่อชำระหนี้แล้วจะมีเหลือเพียงพอในการใช้ดำรงชีพหรือไม่

      3.หน่วยงานกำกับในฐานะดูแลสถาบันการเงินต้องมีหน้าที่ในการให้ความแน่ใจเกี่ยวกับนโยบาย โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจทางการเงินเรื่องความรับผิดชอบ ที่ต้องกำหนดให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

      4.แม้จะมีความรู้ทางการเงิน แต่เมื่อลูกหนี้สะดุดก็ต้องมีแนวทางแก้ไขให้ลูกหนี้ ที่ผ่านมาธปท.และสถาบันการเงิน เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ว่าการปรับโครงสร้างหนี้ที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่สำคัญ คงไม่ใช่การพักหนี้ เพราะการพักหนี้เป็นเรื่องระยะชั่วคราว เมื่อครบกำหนดก็ต้องจ่ายหนี้ต่อ ดังนั้นจึงอยากเห็นการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตลอดจนการเข้าไปช่วยไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนที่นำไปสู่การฟ้องร้องตามมาในอนาคต

      สุดท้ายการมีข้อมูลลูกหนี้ในภาพรวมรวมศูนย์มากขึ้น เพราะปัจจุบันแม้จะมีข้อมูลลูกหนี้ที่รวบรวมอยู่บนศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ เพราะมีส่วนหนึ่งที่ยังไม่เข้าเครดิตบูโร เช่นสหกรณ์ หนี้นอกระบบ

     ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธปท.อยากเห็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้ภาพรวมเหล่านี้เป็นองค์รวมในการตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาหนี้ในระยะข้างหน้า 

      สำหรับ ภาพรวมสินเชื่อปัจจุบันเห็นแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่ปรับดีขึ้นขึ้นบ้าง ตามการเปิดประเทศที่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้

ส่วน คุณภาพหนี้หรือเอ็นพีแอลคงเห็นการเพิ่มขึ้นบ้าง แต่หนี้เสียจะไม่ก้าวกระโดดหรือทะยานขึ้นแรง เพราะแบงก์กำลังเร่งบริหารจัดการดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด