น้ำมันราคาพุ่งฉุดยอดขายสับปะรดเมืองเลย

น้ำมันราคาพุ่งฉุดยอดขายสับปะรดเมืองเลย

พิษโควิด-น้ำมันแพงกระฉูดส่งผลสับปะรดไร่ม่วงยอดขายทรุด อ.เมืองเลย จ.เลย จากพิษเชื้อโควิดและราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงกระฉุด ส่งผลการขนส่งสับปะรดไร่ม่วงเมืองเลย ยอดขยายทรุดกว่า 50 %

ผู้สื่อข่าวเดินทางชมการผลิต การจำหน่ายผลไม้ที่”ตลาดผลไม้ไร่ม่วง” ถนนเลย-ด่านซ้าย บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมืองเลย จ.เลย อันเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายสับปะรดกินสดใหญ่ที่สุดของจังหวัดเลยรวมทั้งไร่สับปะรดของเกษตร อันเป็นช่วงฤดูสับปะรดออกสู่ตลาดมากที่สุดของปี คือในช่วงหน้าฝนเดือน พ.ค.-ก.ค.และอีกช่วงคือหน้าหนาวเดือน พ.ย. ธ.ค.  ของปี  เพราะด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสับปะรดไร่ม่วง “หอม หวาน ฉ่ำ กรอบ ไม่กัดลิ้น”   สร้างรายได้แก่เกษตรกรกว่า 30 ล้านบาท/ปี  โดย ต.น้ำหมาน มี 6 หมู่บ้าน ห่างจากตัวเมืองเลยเพียง 3 กม.พืชเศรษฐกิจคือสับปะรดไร่ม่วงและยางพารา  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ สับปะรดจึงมีความหวานติดตลาด  แต่ละปีจัดงานประชาสัมพันธ์ “สับปะรดไร่ม่วงเมืองเลย” ณ  บริเวณตลาดต้องชมบ้านไร่ม่วง  ภายใต้สโลแกน “สับปะรดไร่ม่วงเมืองเลยของแท้ หอม หวาน ฉ่ำ กรอบ ไม่กัดลิ้น” เพื่อกินสดหรือบริโภค ไม่ใช่สับปะรดโรงงาน  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตสับปะรดไร่ม่วงให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ด้านการส่งเสริมอาชีพการปลูกสับปะรดไร่ม่วงของเกษตรกรให้เป็นอาชีพหลักที่ยั่งยืน การแก้ไขปัญหาความยากจนในชุมชน ส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และปลูกฝังจิตสำนึกของเด็ก เยาวชน และประชาชน ในการรักษาอัตลักษณ์ของท้องถิ่น และเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สับปะรดไร่ม่วงให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็นต้น ซึ่งภายในบริเวณการงานมีกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น การประกวดการแข่งขันตำสับปะรดไร่ม่วงประกอบลีลา การแข่งขันขบวนซิ่งท้องถิ่นพอเพียง, การประกวดขวัญใจชาวสวนสับปะรดไร่ม่วงเมืองเลย, การประกวดแข่งขันสับปะรดไร่ม่วงของแท้ ผลโต รสชาติดี, การประกวดแข่งขันการแปรรูปผลิตภัณฑ์สับปะรดไร่ม่วง, การประกวดแข่งขันแต่งร้านสับปะรดไร่ม่วง เป็นต้น รวมทั้ง การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของหมู่บ้าน และตำบลต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองเลยและจังหวัดเลย และการแสดงนิทรรศการจากส่วนราชการต่างๆ อีกด้วย

 
นางบุญถนอม ภูผาสิทธิ์ อายุ 58 ปี เลขที่ 29 หมู่ 6 บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมืองเลย เจ้าของร้าน”สวนป้าปุ้ย” ตลอดผลไม้ไร่ม่วง  เปิดเผยว่า   ก่แอนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ปี 2563 และก่อนจะเกิดวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิงแพง ใช่รายได้สู่ชาวไร่ม่วงไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท/ปี แต่มาถึงวันนี้ปี 2565 แม้จะเป็นช่วงหน้าฝนช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมากอีกทั้งดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตสมบูรณ์ผลโตและรักษาความหวานได้อย่างดี  จากเหตุราคาน้ำมันแพงดังกล่าว ส่งผลกระทบหนักคือ พ่อค้าคนกลางจากภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ อุบลราชธานี รวมทั้งตลาดสี่มุมเมือง ตลาดไทที่ส่วนกลาง ที่เคยมีออเดอร์มารับบรรทุกรถยนต์แต่ละวัน 1,000 กก./เที่ยว หดหายยกเลิก เมื่อเราถามไปก็บอกว่า”ไปรับไม่ไหวราค่าน้ำมันสูงเกิน ไม่คุ้มทุน” ค่าใช้จ่ายที่สูงต่อเนื่อง เกษตรต้องเสียค่าเช่าร้านที่ตลาดแห่งนี้เสียค่าน้ำค้าไฟเองเฉลี่ย 1,000 บาท/เดือน    หลายร่ายต้อนำมาจากไร่มาขายตามแผง ร้านริมถนนลดค่าใช้จ่าย   ต่างดิ้นรนทนอดทนสู้กับภาวะราคาสินค้าสูง ส่วนยอดผลิตปีนี้นับว่ามากกว่าทุกปี เนื่องจากปีที่ก่อนแล ิ้งและปลกนับว่ามากกว่าทุกปี เนื่ยน และจะมีเงาะตามมาอีก   ้นรนทนกับภภาวะราคาสินค้าสแล้วเกษตรกรไถทิ้งและปลูกใหม่  ทำให้ยอดขายและลูกค้าปีนี้ลดลงมากกว่า 50 %   ส่วนราคาจากสวน  5-6 บาท/กกขึ้นอยู่กับขนาดของผล  และมาวางขาย  8 -10 กก./100  บาท  ส่วนนอกฤดู 12-13 บาท/กก.  อีกทั้งผลไม้เมืองเลยออกสู่ตลาดกันมากช่วงเดียวกันทั้งมะม่วง ทุเรียน และจะมีเงาะตามมาอีก   ต้องแก้ด้วยการลดราคาน้ำมันลงเท่านั้น
นางประดับ  แก้มอุ่น 57/1 บ้านไร่ม่วง ต.น้ำหมาน อ.เมืองเลย เกษตรกรชาวไร่สับปะรด เปิดเผยว่า ตนเป็นเกษตรกรปลูกสับปะรดมากว่า 10 ปีด้วยเนื้อที่ 10 ไร่  จำนวน 200,000  ต้น ปลูกมาตลอดไม่หยุด    วางขายริมถนนภายในหมู่บ้าน โดยใช้แรงงานคนในครอบครัวเท่านั้น เมื่อปีนี้ปู๋ยและสารเคมีราคาแพงก็งดการใช้ปุ๋ย มาบำรุงรักษาดายหญ้าถางและตัดแทนการใช้ยาฆ่าหญ้าเพราะจะเกิดสารพิษทำลายมลภาวะสิ่งแวดล้อม  ใช้ยาช่วงเดียวคือช่วงสับปะรดเป็นสาวหรือวัยรุ่นเท่านั้น  ก่อนโควิดนั้นขายดีมากในช่วงเทศกาลและนักท่องเที่ยวเข้ามามาก  ผลิตปีนี้ดีมากผลโตรสหวาน ราคา 10-13 บาท/กก.ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตและขนาดผลสับปะรดด้วย     ปีนี้แม้ว่าจะหนักกับโควิดจะรับภาระหนักกับราคาสินค้าและราคาน้ำมันแพงมาก ลูกค้าที่เคยมารับถึงที่หดหายไปมาก แต่ก็ยังพอมีลูกค้าประจำจาก จ.มหาสารคาม มาช่วยมารับไปขายต่อบ้างรวมกับการขายที่แผงที่ร้านภายในหมู่บ้านริมถนนด้วยก็พออยู่ได้เพราะเราไม่จ้างแรงงาน