“แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก

“แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก

“แมลง”เทรนด์อาหารโลกที่มาแรง โอกาสส่งออกแมลงไทยสู่ตลาดโลก ชี้ ไทยได้เปรียบจากสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นสามารถเพาะเลี้ยงแมลงได้ดี ด้าน พาณิชย์ ชี้เป้า เจาะตลาดสหรัฐ หลังผู้บริโภคนิยมบริโภคเพิ่มขึ้น

“แมลง” ถูกพูดถึงมากขึ้น ในฐานะของโปรตีนทดแทนเนื้อสัตว์ใหญ่  ซึ่งเป็นไปตามเทรนด์ของผู้บริโภคที่ต้องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะโปรตีนจากแมลงถือเป็นโปรตีนทางเลือกที่ไม่ใช่การบริโภคเนื้อสัตว์โดยตรง ทำให้”แมลง”กลายเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมบริโภคมากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแมลงเติบโตขึ้นปีละ 20%

ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้บริโภคแมลงอยู่แล้วกว่า 2,000 ล้านคน มีแมลงมากถึง 1,900 สายพันธุ์ที่ถูกบันทึกว่ามีการบริโภค เช่น แมลงปีกแข็ง ตัวบุ้ง ด้วง ผึ้ง ตัวต่อ มด ตั๊กแตน จิ้งหรีด จักจั่น แมลงปอ ปลวก เพลี้ยหอย เพลี้ยเกล็ดและเพลี้ยกระโดด  เป็นต้น แมลงเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเขตร้อนชื้น ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการบริโภคแมลงมายาวนาน และยังเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายในท้องตลาด และเป็นอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกไปยัง

อาหารจากแมลงมีการเติบโตและขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยพบว่ามีมูลค่าตลาดรวมทั่วโลกถึง 340 ล้านเดอลลาร์หรือ 1.15 หมื่นล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25%  โดยไทยเป็นตลาดส่งออกสินค้าแมลงมีชีวิตอันดับที่ 17 ของโลก มีการส่งออกแมลงราว 500-600 ตันต่อปี มูลค่า 2,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30% ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปวัตถุดิบ เช่น แช่แข็ง แป้ง ส่วนการแปรรูปจะอยู่ในรูปแมลงกระป๋อง

“แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า สหรัฐเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยสำหรับสินค้าแมลง โปรตีนจากแมลง และอาหารจากแมลง โดยเทรนด์การเติบโตของตลาดการบริโภคแมลงในตลาดสหรัฐฯ ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและน่าจับตามอง

ทั้งนี้ ทูตพาณิชย์ได้รายงานว่า บริษัทวิจัยตลาด Meticulous Market Research Inc. ของสหรัฐฯ ได้ให้ข้อมูลว่า ช่วงปี 2565–2573 ตลาดแมลงที่รับประทานได้จะมีอัตราการเติบโต 28.3% มีมูลค่า 9,600 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นประมาณ 3,139,035 ตัน เติบโต 31.1 %เนื่องจากเป็นโปรตีนทางเลือกที่อุดมไปด้วยสารอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ โดยรูปแบบที่บริโภค จะมีทั้งแบบผง แป้ง ผลิตภัณฑ์ในรูปมืออาหาร น้ำมัน และการรับประทานเป็นตัว ส่วนแมลงที่นิยมนำไปผลิตเป็นโปรตีนทางเลือก ได้แก่ จิ้งหรีด หนอน แมลงวันลาย หนอนนก หนอนควาย ตั้กแตน มด หนอนไหม จั้กจั่น

โดยโปรตีนทางเลือก จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนตลาดมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ รองลงมา คือ อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ สัตว์น้ำ หรือสัตว์เลี้ยง ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์ผง แป้ง โปรตีนบาร์ และ Shake ขนมขบเคี้ยว ขนมอบ ลูกกวาด แมลงทั้งตัวแปรรูป เครื่องดื่ม โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ในรูปผงจะขยายตัวมากกว่ากลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพราะการออกกำลังกายมีมากขึ้น ทำให้ต้องการโปรตีนแบบผง ซึ่งผลิตภัณฑ์จากจิ้งหรีดจะมีสัดส่วนมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ

“แมลง “อาหารอนาคต โอกาสส่งออกไทยสู่ตลาดโลก

ดังนั้นสินค้าจากแมลงจึงเป็นอาหารแนวใหม่ที่เป็นเทรนด์สำคัญของโลกโดยเฉพาะสถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความกังวลในเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร สินค้า”แมลง”จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการบริโภคแหล่งโปรตีนทดแทนอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงทางอาหารในอนาคต และเกิดธุรกิจใหม่ที่ได้มีการนำแมลงมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เช่น เป็นวัตถุดิบอาหารเสริม ใช้เป็นส่วนผสมของอาหาร พิซซ่า ซอส เส้นพลาสต้า อาหารกระป๋องจากแมลงชนิดต่างๆ เป็นต้น

ไทยเป็นประเทศที่มีความได้เปรียบกว่าประเทศคู่แข่ง เพราะ ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นที่เหมาะสมสำหรับทำฟาร์มเพาะเลี้ยงแมลงเพื่อส่งออก และยังมีวัตถุดิบเพียงพอในการทำโรงงานผลิตแมลงแปรรูปได้อีก โดยแมลงยอดนิยม มีอาทิ จิ้งหรีด, ตั๊กแตน, แมงป่อง, ดักแด้, หนอนรถด่วน และด้วย จึงเป็นโอกาสสำคัญทางเศรษฐกิจไทยในการส่งออกแมลงที่เป็นสินค้าส่งออกที่มีอนาคตสดใส ในการสร้างรายได้ให้ประเทศ