CPF โชว์แผนลดคาร์บอน เร่งพลังงานแสงอาทิตย์ ดึงบล็อกเชนช่วยตรวจสอบย้อนกลับ

CPF โชว์แผนลดคาร์บอน เร่งพลังงานแสงอาทิตย์ ดึงบล็อกเชนช่วยตรวจสอบย้อนกลับ

CPF ร่วมเวทีโลก “UNGC Leaders Summit 2022” โชว์วิสัยทัศน์สร้างสมดุลธุรกิจควบคู่ดูแลสิ่งแวดล้อมยั่งยืน  เร่งลดปล่อยก๊าซ ลุยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ดึงบล็อกเชนช่วยตรวจสอบย้อนกลับ

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand : GCNT) จับมือ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UN ESCAP) และ สหประชาชาติในประเทศไทย (UN in Thailand) ร่วมเป็นเจ้าภาพเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ขับเคลื่อนความยั่งยืน ในเวทีโลก “UNGC Leaders Summit 2022”

ทั้งนี้ เป็นการประชุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์พร้อมกันทั่วโลก เมื่อ 1-2 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีภาคธุรกิจ ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม จากทั่วโลกกว่า 10,000 คนเข้าร่วมงาน และเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุม

นายพีรพงศ์ กรินชัย รองกรรมการผูู้จัดการบริหาร ด้านวิศวกรรมกลาง  บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)  หรือ ซีพีเอฟ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดำเนินธุุรกิจ ในประเด็น Climate & Biodiversity โดยระบุว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจและดูแลสิ่งแวดล้อม ให้ไปด้วยกันได้อย่างสมดุลบนเป้าหมายความยั่งยืน มีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าตลอดห่วงโซ่คุณค่า 

CPF โชว์แผนลดคาร์บอน เร่งพลังงานแสงอาทิตย์ ดึงบล็อกเชนช่วยตรวจสอบย้อนกลับ

และมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net-Zero) บรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) 

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการมูลสัตว์และน้ำเสีย มีการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในการบำบัดมูลสัตว์และน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงสุกรและไก่ไข่ และนำก๊าซมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากระบบก๊าซชีวภาพไปผลิตกระแสไฟฟ้าและนำกลับมาใช้ในฟาร์ม      
 
นอกจากนี้  ได้ส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา บนพื้น และแบบลอยน้ำ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมแล้วสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 575,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่  27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด        
 

ซีพีเอฟ ยังได้พัฒนามาตรฐานการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีการกำหนดเป้าหมาย ปี 2573 ในการจัดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรหลักที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง และปลาป่น 100% จากการจัดหาทั่วโลกของซีพีเอฟจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้และมาจากพื้นที่ที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าและไม่ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ    
     
บริษัท ฯ ได้พิจารณายกระดับการจัดการข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลแบบบล็อกเชน (Blockchain Technology) เพื่อทำให้การตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบมีความรวดเร็วและแม่นยำ