Carbon Tax ระดับประเทศ สู่ท้องถิ่นและครัวเรือน
"ภาษีคาร์บอน" ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เป็นนโยบายแนวตามหลักเศรษฐศาสตร์ แต่ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2540 คือ ข้อตกลงพิธีสารเกียวโต Kyoto Protocol มี 38 ประเทศอุตสาหกรรมร่วมลงชื่อ เพื่อเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้จะดูเป็นเรื่องใหญ่แต่ก็เกี่ยวข้องกับครัวเรือน
ในส่วนของประเทศไทย นั้น ได้ลงนามรับรองพิธีสารเกียวโตเมื่อปี 2542 และพล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2608 โดยจะแบ่งนโยบายออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 40% ภายในปี 2573 ช่วงที่ 2 ภายในปี 2593 จะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน และช่วงที่ 3 คือปี 2608 ถึงแม้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สำหรับประเทศไทย นั้น นโยบายด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมยังไม่มีการถกประเด็นดังกล่าวนี้มากนัก
ดังนั้น มาตรการการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เพียงนโยบายที่จะเก็บภาษีจากภาคอุตสหกรรมเข้าสู่รัฐบาล แต่ควรเพิ่มนโยบายเป็นมาตรการการเก็บภาษีที่เป็นสัดส่วน และจะต้องจ่ายให้กับองค์กรท้องถิ่น
นโยบายการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น นั้น จะส่งผลกระทบในเชิงบวกให้กับประเทศและประชาชนในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การมีนโยบายภาษีคาร์บอน นั้น อาจจะถูกมองว่าเป็นการสร้างการกีดกันทางการค้า ลดความสามารถให้การแข่งขัน เป็นแนวคิดที่ซ้ำเติมภาคอุตสาหกรรมและประชาชน โดยเฉพาะสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การออกแบบนโยบายที่ดีและตรงจุด จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นและสร้างรายให้กับองค์กรท้องถิ่นจากมาตรการภาษีคาร์บอนส่วนท้องถิ่น
ทั้งนี้ มาตรการภาษีสิ่งแวดล้อมจากประชาชนท้องถิ่นไม่ใช่เรื่องแปลกในหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสหรัฐขอเล่าถึงมาตรการการเก็บขยะและการเก็บขยะรีไซเคิลของเมืองหนึ่งในมลรัฐเวอร์จิเนีย ในเมืองนี้จะกำหนดให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บ้าน ต้องมีส่วนร่วมในการรีไซเคิลขยะ การเก็บขยะนั้นจะแบ่งเป็นขยะเป็น 2 ประเภท ขยะเปียกจะทำการเก็บทุกสัปดาห์ และขยะรีไซเคิลจะทำการเก็บทุกๆ สองสัปดาห์
นั้นหมายถึงประชาชนต้องมีการแยกขยะ ซึ่งจะมีขยะ 2 ถัง (ขยะเปียกและขยะรีไซเคิล) ทำให้มีการแยกขยะทั้ง 2 ประเภท อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการแบ่งหน่วยงานในการเก็บขยะอย่างชัดเจน
ประเด็นที่น่าสนใจมี 2 อย่าง คือ 1. หากบ้านไหนที่ไม่มีขยะรีไซเคิลในวันที่ถูกกำหนดเก็บขยะ จะถูกปรับเงิน 2. การเก็บขยะรีไซเคิลนั้น ยังไม่ถูกกำหนดใช้สำหรับผู้ที่อาศัยในรูปแบบอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งจุดนี้ เป็นประเด็นสำคัญและน่าสนใจอย่างยิ่งต่อปริมาณขยะรีไซเคิล นี่เป็นตัวอย่างแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่ง 2 จุดนี้ สามารถนำมาพัฒนาเพื่อออกแบบนโยบายที่ตอบโจทย์ได้มากขึ้น เมื่อพูดถึงสิ่งที่แตกต่างระหว่างไทยและต่างประเทศ คือ ประชาชนได้แยกขยะ ทั้งขยะเปียกและขยะรีไซเคิล แต่หน่วยงานที่เก็บขยะเอาขยะทั้งสองมารวมกันในที่เดียวกัน
การมีนโยบายภาษีคาร์บอนนั้นอาจจะเป็นอีกหนึ่งเครืองมือที่ไม่ใช่เพียงการสร้างการรับรู้และการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม แต่จะเป็นนโยบายที่ผลักดันให้เกิดการลดคาร์บอนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน การพิจารณาเริ่มที่มีนโยบานแบบนี้ที่เขตพัฒนาพิเศษหรืออีอีซี นั้น จะมีผลในเชิงบวกหลายอย่าง หนึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยสร้างความยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นเครื่องมือที่คัดกรองผู้ลงทุนในบางกลุ่ม เพราะนโยบายนี้อาจจะเป็นการลดความน่าสนใจจากภาคอุตสหกรรมที่ยังไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
การมีนโยบายภาษีคาร์บอนส่วนท้องถิ่น นั้น จะช่วยสร้างทั้งจิตสำนึกในการรักษาท้องถิ่นของตัวเองด้วยการมีส่วนร่วมรับผิดชอบ อีกทั้ง ยังสามารถออกแบบนโยบายที่สร้างรายได้เข้าส่วนท้องถิ่นอีกด้วย และสิ่งที่สำคัญประเทศเราจะมีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งนโยบายการเก็บภาษีเพิ่มนั้นจะส่งผลกระทบให้เชิงบวกกับประเทศและประชาชนในระยะยาว แต่จะเกิดประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบระยะสั่นต่อบางกลุ่มนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบนโยบาย ซึ่งจะเป็นอีกโจทย์ที่สำคัญหากอีอีซีสามารถเป็นต้นแบบความเสร็จให้กับประเทศเราได้