"ฟิวเจอร์คอมเพเทเร่” หวังเกณฑ์ utility tokenพร้อมใช้ ไม่ปิดกั้น Innovation
“ฟิวเจอร์คอมเพเทเร่” เผย เห็นด้วย เฮียริ่ง ยูลิลิตี้โทเคนพร้อมใช้ แต่มีบางข้อไม่เห็นด้วย “โทเคนที่ซับซ้อนไม่ลิสต์ต้องยื่นไฟลิ่ง-เสนอขายต้องผ่านไอซีโอพอร์ทัล -ต้องทำเอทีโอฯลฯ" หวังก.ล.ต.ไม่ปิดกั้นอินโนเวชั่น - เพิ่มภาระผู้ประกอบการ
นายเอก อัชวรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลยุทธ์ บริษัท ฟิวเจอร์ คอมเพเทเร่ จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็น (เฮียริ่ง) เรื่องแนวทางการกำกับดูแลโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้ (utility tokenพร้อมใช้) ว่า จากเฮียริ่งดังกล่าวส่วนตัวมีทั้งข้อที่เห็นด้วย และข้อที่ไม่เห็นด้วย
สำหรับข้อที่ไม่เห็นด้วย คือ 1.การออกเสนอขายutility token พร้อมใช้ ที่ไม่มีความประสงค์ที่จะเข้าจดทะเบียนในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ที่มีลักษณะซับซ้อน จะต้องขออนุญาตเสนอขายกับ ก.ล.ต. เพราะ มองว่าเป็นการปิดกั้นภาคธุรกิจไม่ให้สร้าง Business Model Innovation หรือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการประกอบธุรกิจ และยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ประกอบธุรกิจทั้งในเรื่องของ ขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จึงมองว่าควรได้รับการยกเว้นไม่ต้องอนุญาตออกเสนอขาย กับก.ล.ต.
2. การกำหนดให้utility tokenพร้อมใช้ จะต้องเสนอขายผ่าน ICO portal เพราะ มองว่าหน้าที่หลักของ ICO portal ควรที่จะเป็นการช่วยก.ล.ต. กลั่นกรอง utility tokenพร้อมใช้ ที่เหมาะสมในการนำเสนอขายในวงกว้าง แต่ในเรื่องการเสนอขายไม่ควรที่จะเสนอขายผ่าน ICO porta เพราะการเสนอขายนั้นเป็นกระบวนการปกติ ที่ทางผู้ออก โทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้กระทำอยู่แล้ว
3. ลักษณะของ utility tokenพร้อมใช้ ที่ขออนุญาตเสนอขายแบบง่าย (fast track) หรือไม่ซับซ้อน ที่ต้องกำหนดอายุการใช้สิทธิ (expiry date) เพราะ มองว่าอาจไม่เหมาะสมกับรูปแบบของโทเคนดิจิทัล เพื่อการใช้ประโยชน์ เพราะ กลไกของโทเคนดิจิทัลที่นำไปจดทะเบียนซื้อขาย บนตลาดรองไม่สามารถระบุ Lot ของการหมดอายุได้ และอาจทำให้ต้องมีการออกโทเคนหลายครั้ง และทำให้ต้นทุนกระบวนการเสนอขายเพิ่มขึ้น
4.การปรับปรุงหลักเกณฑ์ trading rule ของศูนย์ซื้อขายฯที่กำหนดให้โคเคนที่จะเข้ามาจดทะเบียนซื้อขายเป็นครั้งแรก และเมื่อกลับมาซื้อขายอีกครั้งหลังจากมีเหตุที่ต้องหยุดซื้อขาย จะต้องทำ pre -open session ในลักษณะ ATO เพราะ การซื้อขายของสินทรัพย์ดิจิทัลเปิดซื้อขาย 24 ชั่วโมงไม่มีการเปิดปิดการซื้อขาย และไม่มีศูนย์ซื้อขายที่ทำ ATO ซึ่งการพัฒนาระบบมีความซับซ้อน ใช้เวลานานและต้องเพิ่มต้นทุน อาจทำให้ไม่คุ้มค่า
5.รูปแบบของการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายที่เหมาะสมกับการนำ utility token พร้อมใช้ มาให้บริการ ควรมีลักษณะเช่นไร เพื่อไม่ให้เกิดการเก็งกำไรเกินสมควร เกินกว่ามูลค่าที่แท้จริงของสินค้า หรือบริการที่อ้างอิงของ utility token พร้อมใช้นั้น และควรมีแนวทางการกำกับดูแลอย่างไร ให้เหมาะสม เพราะ มองว่ารูปแบบการซื้อขายเดิมเหมาะสมอยู่แล้ว ไม่ควรจัดให้มีรูปแบบอื่น แต่อาจจะมีการเพิ่มมาตรการป้องกันความเสี่ยง เพื่อไม่ให้เกิดการเก็งกำไรฯลฯ
“ส่วนตัวมีข้อที่ไม่เห็นด้วยกับเฮียริ่งดังกล่าว เพราะมองว่าเป็นการปิดกั้น อินโนเวชันทั้งฝั่งผู้ออก และผู้บริโภคถูกปิดกั้นอินโนเวชัน เช่นกัน และยังเป็นการ overprotect และเป็นการเพิ่มภาระแก่ผู้ประกอบการ”