บล.กสิกรไทย คาดตลาดหุ้นจะเริ่มฟื้นในไตรมาส 4 นี้ หลังมองเงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด

บล.กสิกรไทย คาดตลาดหุ้นจะเริ่มฟื้นในไตรมาส 4 นี้ หลังมองเงินเฟ้อใกล้ผ่านจุดสูงสุด

บล.กสิกรไทย ตลาดหุ้นครึ่งเดือนแรกของเดือนก.ค. ยังผันผวน รอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิ.ย. ของสหรัฐ คาดยังสูงที่ 8.8% ทั้งนี้ ประเมินตลาดหุ้นจะถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 3 นี้ และเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 4 แนะนำหุ้นน่าลงทุน ได้แก่ กลุ่มเปิดเมือง, Anti commodity และหุ้น Growth stock

บล.กสิกรไทย ประเมินครึ่งเดือนแรกของเดือน ก.ค. ตลาดหุ้นจะผันผวนสูงรอติดตามรายงานเงินเฟ้อของสหรัฐ โดย Consensus ประเมินว่าเงินเฟ้อสหรัฐเดือน มิ.ย. ที่จะประกาศ ในวันที่ 13 ก.ค.อยู่ที่ 8.8% YoY เพิ่มขึ้นจาก 8.6% YoY ในเดือน พ.ค. โดยเงินเฟ้อน่าจะถึงจุด Peak ในช่วง 3Q22 นี้

และประเมินว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยแรง 0.75% จะเป็นการประชุมรอบเดือน ก.ค. เป็นรอบสุดท้าย แต่การประชุมที่เหลือตั้งแต่รอบ ก.ย.เป็นต้นไป จะขึ้นได้ดอกเบี้ยได้น้อยลง 0.25-0.50% จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้ ประเมินว่าตลาดหุ้นจะ Bottom ในช่วง 3Q22 และจะเริ่มขยับขึ้นในงวด  4Q22     

 

KS ประเมินว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีโอกาสผันผวนสูงเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เห็นการเหวี่ยงขึ้นแรงและลงแรงรายวัน ดังนั้น มุมมองต่อหุ้นกลุ่มพลังงานจึงแนะนำเพียง Trading ระมัดระวังการลงทุนในกลุ่มพลังงาน, ปิโตรเคมี จากประเด็น Recession ที่ยังเป็นปัจจัยกดดันในระยะกลาง  

กลยุทธการลงทุนระยะสั้นแนะนำเก็งกำไร

1.) กลุ่มเปิดเมือง Reopen มองว่าราคาหุ้นปรับฐานลงมารอบนี้จากประเด็น Covid หาจังหวะทยอยสะสม อาทิ BEM, CPN กลุ่มท่องเที่ยวโรงแรม อาทิ CENTEL, SHR   

2.) กลุ่ม Anti commodity แนะนำ CBG, SCGP โรงไฟฟ้า CKP, BGRIM,GPSC

3.) กลุ่ม Growth แนะนำ BBIK, BE8, IIG

Top pick   

- CKP (ราคาพื้นฐาน 6.00 บาท) หุ้นโรงไฟฟ้าถือเป็นกลุ่ม Defensive ในช่วงที่ตลาดกังวลเศรษฐกิจถดถอย โดย CKP มีสถานะการเงินที่แข็งแกร่งด้วย FCF เชิงบวกและสัดส่วนหนี้สินต่อทุนระดับต่ำ การขยายกำลังการผลิตจะเป็นปัจจัยหนุนการเติบโตระยะยาวที่สำคัญ โดยระยะสั้นค่าเงินบาทที่อ่อนค่าจะบวกกับ CKP  เนื่องจากรายได้ราว 50% ของโรงไฟฟ้าที่ลาวรับเงินเป็นสกุลดอลลาร์    

- BBL (ราคาพื้นฐาน 151.00 บาท) จากการเติบโตของกำไรที่แข็งแกร่งในปี 2565 คุณภาพสินทรัพย์ที่ปลอดภัยจากความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มบริการและกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่ม SME ที่ลดลง ประกอบกับทิศทางดอกเบี้ยไทยที่เริ่มเป็นขาขึ้นหลังจากเงินเฟ้อ ล่าสุดทรงตัวสูง 

โดยคาดปีนี้จะเห็น กนง. ขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในการประชุมที่เหลือของปีนี้   KS ประเมินว่าทุกๆ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จะเป็น upsides ต่อกำไรปี 2566 ของ BBL ราวๆ +7% ซึ่งจะได้ Benefit จากดอกเบี้ยที่ขึ้นมากกว่าธนาคารขนาดเล็ก   

ขณะที่มูลค่าหุ้นที่ไม่แพง โดยซื้อขายอิงตาม PBV ปี 2565 ที่ 0.49 เท่า หรือคิดเป็น 1.7SD  ต่ำกว่า PBV เฉลี่ยในอดีต   

- PTG (ราคาพื้นฐาน 17.00 บาท) คาดกำไรงวด 2Q22 อยู่ที่ 400 ล้านบาท เติบโตสูง 150%QoQ แรงหนุนจาก GPM/litter ที่สูงและวอลุ่มขายน้ำมันที่สูงคาด 7%QoQ หนุน SG&A/liter ปรับลง 

และประเมินกำไร 2H22 จะเติบโตดีกว่าช่วงครึ่งปีแรก จากการเดินหน้าเปิดเมืองในประเทศ ส่วนราคาหุ้น PTG ปัจจุบัน Valuation ค่อนข้างถูกสะท้อนจาก PBV ปี 2566 อยู่ที่ 2.29x ต่ำกว่า -1SD สวนทางผลประกอบการที่กลับมาในระดับภาวะปกติ

ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม

-11 ก.ค. : ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานจากสถาบัน CB เดือน มิ.ย.

-12 ก.ค. : ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจจากสถาบัน ZEW เดือน ก.ค., รายงานประจำเดือนของ OPEC 

-13 ก.ค. : รายงานการส่งสินค้าออกของจีน (ปีต่อปี) เดือน (มิ.ย.) ตลาดคาด 8%YoY จาก 16.9%, ผลผลิตอุตสาหกรรม (เดือนต่อเดือน) เดือน พ.ค., อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 30 ปีจากสมาคม MBA, ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) (เดือนต่อเดือน) (มิ.ย.) คาด 0.5%MoM, ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) (ปีต่อปี) (มิ.ย.) คาด 5.9%YoY

-14 ก.ค. : รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book), ดุลงบประมาณธนาคารกลางสหรัฐ (มิ.ย.), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ(เดือนต่อเดือน) (มิ.ย.) คาด 10.9%YoY และ 0.8%MoM

-15 ก.ค. : การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ของจีน (Fixed Asset Investment) (ปีต่อปี) (มิ.ย.) คาด 6%YoY, ดัชนีจีดีพี (GDP) ของจีน (ปีต่อปี) (ไตรมาส 2) ตลาดคาด 4.4%YoY จาก 4.8%YoY ในไตรมาส 1