เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน

เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน

กรมส่งเสริมการเกษตร เผยผลดำเนินงานช่วยเกษตรกรจำหน่ายสินค้าช่วงระบาดของโรคโควิด 19 ระบาด ปี 2564-2565 เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบกว่า 2,410 ล้านบาท พร้อมประสานบริษัทขนส่งลดค่าบริการ ให้เกษตรกร และเดินหน้าขยายตลาดออนไลน์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้เกษตรกร

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า มาตรการและผลการดำเนินงานช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศ ในการจำหน่ายและกระจายสินค้าการเกษตร ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้านต่างๆ ในช่วงการระบาดของโรคโควิด19 ระลอกใหม่ ที่ส่งผลกระทบหลายอย่างกับห่วงโซ่การผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร
เน้นการส่งเสริมการเกษตรโดยยึดหลักตลาดนำการผลิต

 

เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน

โดยใช้เกษตรสมัยใหม่เชื่อมโยงกับกลไกตลาด เพื่อให้เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร มีการวางแผนการผลิตให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลิตได้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการสินค้าของตลาดอย่างสมดุลกัน เพื่อไม่ให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ผลจากการช่วยเหลือเกษตรกรในการกระจายสินค้าด้านการเกษตร ช่วงการระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่ ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบผ่านกิจกรรมส่งเสริมทางด้านการตลาดต่างๆ จำนวนมาก โดยในปี 2564 - 2565 มีมูลค่ารวมกว่า 2,410 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. ตลาดภายในพื้นที่ ทั้งตลาดสด ผู้ค้าส่ง ล้ง ลาน โรงสี โรงงาน และตลาดเกษตรกร 77 จังหวัด ซึ่งเป็นตลาดภายในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมการเกษตร มีมูลค่าการจำหน่ายรวมกว่า 390 ล้านบาท

2. ตลาด Modern trade เป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกับบริษัท Lotus, Big C และ Makro เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับเกษตรกร แต่สินค้าทุกชนิดต้องผ่านมาตรฐาน GAP เกษตรอินทรีย์ หรือมาตรฐานตามที่ Modern trade กำหนด มีมูลค่าการจำหน่ายรวมกว่า 17 ล้านบาท

 

เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน เกษตร ลุยเพิ่มช่องทางขายพบเงินสะพัดกลไกตลาด ปี 64-65 กว่า 2,410 ล้าน

3. ตลาดกลางค้าส่งขนาดใหญ่ เช่น ตลาดไท ทำให้เกษตรกรได้นำผัก ผลไม้ และพืชสมุนไพรเข้าไปขายจำนวนมาก มีมูลค่าการจำหน่ายรวม 1,670 ล้านบาท

4. ตลาดเฉพาะกิจ เป็นกิจกรรมความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ รวมถึงภาคเอกชน เช่น บริษัทสุขสยาม The mall และบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรได้พบผู้บริโภคที่หลากหลาย และปรับรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เช่น จำหน่ายสินค้าในรูปแบบค้าส่งร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด มีมูลค่ารวมทั้งหมดกว่า 12 ล้านบาท

5.การส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ โดยร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท LAZADA Thailand และบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด โดยได้วางแผนอบรมเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 600 ราย

นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมและแนะนำให้เกษตรกรจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตรผ่านทาง social media เช่น Facebook, Line, Line official, Instagram และกรมส่งเสริมการเกษตรได้พัฒนาเว็บไซต์ ตลาดเกษตรกรออนไลน์ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเกษตรกรที่จำหน่ายผลผลิตการเกษตร
มีผลประกอบการรวมมูลค่า 317 ล้านบาท

และ6. ตลาดช่องทางอื่นๆ เป็นการเพิ่มพื้นที่จำหน่ายให้กับเกษตรกร เช่น พื้นที่ตลาดนัดกรมส่งเสริมการเกษตร พื้นที่ตลาดนัดกรมวิชาการเกษตร พื้นที่โรงอาหารของศาลอาญารัชดา และการขายแบบ Preorder ในช่วงผลผลิตล้นตลาด เพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับต่างๆ มีมูลค่าการจำหน่าย
รวมกว่า 3 ล้านบาท

 นอกจากเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าแล้ว ทางกรมส่งเสริมการเกษตร ยังได้สนับสนุนด้านการตลาดให้เกษตรกรหลายช่องทาง ได้แก่ การพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ตลาดเกษตรกรออนไลน์ เพื่อให้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์การจำหน่ายสินค้าออนไลน์ของเกษตรกร และส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ สมัครเข้าจำหน่ายสินค้าออนไลน์
ผ่าน แพลตฟอร์มต่างๆ

 การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาคีต่าง ๆ ที่มีการลงนามความร่วมมือระหว่างกัน ประสานความร่วมมือกับบริษัทขนส่ง เช่น บริษัท Kerry Express บริษัทขนส่ง Por Lor Express และบริษัท Grab เพื่อสนับสนุนเกษตรกรที่จำหน่ายสินค้าออนไลน์ เพื่อได้รับค่าขนส่งที่ถูกลงกว่าปกติ

และพัฒนาแพลตฟอร์มการจำหน่ายสินค้าการเกษตร ตามนโยบาย เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพไม่น้อยกว่า 200 แปลง ในการใช้และพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าว