เปิด 5 อันดับ ‘กองทุนยั่งยืน’ ขนาดใหญ่ที่สุดในไทย
"มอร์นิ่งสตาร์" เผย "การลงทุนอย่างยั่งยืน" รอบ 5 ปี Sustainability Index มีผลตอบแทนที่ 7.7% สูงกว่า Global Markets Index ที่ 7.4% และ 5 อันกับกองทุนยั่งยืนขนาดใหญ่สุดในไทย ครึ่งปีแรก 65 พบ กองทุน KPSCGEQ นำโด่ง AUM ที่ 10,143 ล้านบาท ชูผลคอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง 18.82%
ในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา "การลงทุนอย่างยั่งยืน" มีผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกันกับ "ตลาดหุ้นทั่วโลก" โดย มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) พบว่า "Morningstar Global Markets Sustainability Index" มีผลตอบแทนสะสมตั้งแต่ต้นปี -21.1% เทียบกับ Morningstar Global Markets Large-Mid Index -20.1%
ทั้งนี้ Sustainability Index มีผลตอบแทนที่แย่กว่าเล็กน้อยนั้นมีเหตุผลจาก มีส่วนของการลงทุนในหุ้นเติบโตมากกว่า และส่วนของหุ้น value ที่น้อยกว่า Global Markets Index นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม "การลงทุนอย่างยั่งยืน" ในรอบ 5 ปี ต้องถือว่า " Morningstar Global Markets Sustainability Index" มีผลตอบแทนที่ 7.7% สูงกว่าการลงทุนแบบ Morningstar Global Markets Large-Mid Index ที่ 7.4%
แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการลงทุนยั่งยืนที่นอกจากช่วยลดความเสี่ยง ESG แล้วยังสร้างผลตอบแทนได้ใกล้เคียงหรือดีกว่าการลงทุนโดยทั่วไปได้
ลองมาดูกันว่าปัจจุบัน "กองทุนยั่งยืนขนาดใหญ่สุดในไทย" 5 อันดับแรก จะเป็นใคร? และมีคะแนนความยั่งยืน (Morningstar Sustainability Rating) มากน้อยแค่ไหน?
ข้อมูลจาก " มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย)" ตั้งแต่ต้นปีจนถึง ณ 30 มิ.ย. 2565 พบดังนี้
1. กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน-A ชนิดสะสมมูลค่า (KPSCGEQ) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม (AUM) 10,143 ล้านบาท
มีคะแนนความยั่งยืน : 3 ลูกโลก ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง : 18.82%
2. กองทุนเปิดธนชาต อีสท์สปริง Global Green Energy (T-ES-GGREEN) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม7,567 ล้านบาท
มีคะแนนความยั่งยืน : 5 ลูกโลก ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง : - 8.99%
3. กองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืน (B-SIP) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 4,198 ล้านบาท
มีคะแนนความยั่งยืน : 5 ลูกโลก ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง : -1.81%
4. กองทุนเปิดเค พอสซิทีฟ เชนจ์ หุ้นทุน ชนิดเพื่อการออม (K-CHANGE-SSF) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3,114 ล้านบาท
มีคะแนนความยั่งยืน : 3 ลูกโลก ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง : 27.89%
5. กองทุนเปิดเค Climate Transition (K-CLIMATE) มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 2,328 ล้านบาท
มีคะแนนความยั่งยืน : 3 ลูกโลก ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้ง : 11.18%
สำหรับภาพรวม "กองทุนยั่งยืน" ในช่วงครึ่งปีแรก 2565 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 5.4 หมื่นล้านบาท หดตัวลง 24.4% จากสิ้นปี 2564 และมีเงินไหลออกสุทธิเพียง 900 ล้านบาท
ขณะที่ "กองทุนยั่งยืน" ที่ลงทุนในประเทศยังเป็นสัดส่วนที่น้อย ซึ่งเป็นกองทุนที่อยู่ในกลุ่มหุ้นไทยทั้งกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่และกลุ่มหุ้นขนาดกลาง-เล็ก คิดเป็นสัดส่วนเกือบราว 4% ส่วนใหญ่ 96% เป็นกลุ่มหุ้นโลก
เม็ดเงินไหลออก จากกองทุนยั่งยืนในปีนี้ถือว่ามีทิศทางเดียวกันกับในต่างประเทศที่มีเงินไหลเข้าชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่นในสหรัฐมีเงินไหลเข้าที่ชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีเงินไหลออกในเดือนถัดมา ในขณะที่กลุ่มยุโรปที่เป็นตลาดใหญ่ที่สุดในด้านการลงทุนอย่างยั่งยืนก็สะท้อนภาพเดียวกันคือมีเม็ดเงินชะลอตัวลงในรอบครึ่งแรกของปี
นายนาวิน กล่าวว่า แม้ตลาดการลงทุนจะมีความผันผวนมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมานี้ ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะขายหุ้นกลุ่มนี้ออกมาก่อนเพื่อทำกำไร ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลงและผลการดำเนินงานของกองทุนในช่วงที่ผ่านมาต่ำกว่าดัชนีชี้วัด
ผู้จัดการกองทุนหลัก ยังคงเชื่อมั่นในศักยภาพของหุ้นทุกตัวในพอร์ตและไม่มีการปรับสัดส่วนใดๆ พร้อมให้ความเห็นว่า ความผันผวนดังกล่าวไม่มีผลต่อการดำเนินงานของกองทุนในระยะยาว เนื่องจากบริษัทที่เลือกลงทุนล้วนมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถปรับตัวได้ตามภาวะเศรษฐกิจ
แนะนำว่า กองทุน K-CHANGE และ K-CLIMATE ยังสามารถถือต่อไปได้ โดยมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ในระยะสั้นอาจปรับตัวลง และจะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป
สำหรับผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง สามารถหาจังหวะทยอยเข้าลงทุนเพิ่มได้ในช่วงที่ NAV ปรับตัวลงเช่นนี้ เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จากกก่อนหน้านี้ ราคาหุ้นในกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกมากนัก