BPP วันคืนที่ดียังมาไม่ถึง (26 ก.ค. 65)
Flagship ในธุรกิจไฟฟ้าของ Banpu เราจัด BPP เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าประเภท conventional ซึ่งใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก (74% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่ม) รองลงมาคือก๊าซ (14%) และพลังงานหมุนเวียน (RE) (12%) ทั้งนี้ บริษัทมีกิจการที่มั่นคงใน 7ประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน ลาว และประเทศไทย โดยโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีกลไกการส่งผ่านต้นทุนเชื้อเพลิงผ่าน PPAs ภายใต้โครงสร้างของ IPP และตลาดซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้ บริษัทมีกำลังการผลิตรวม 3,264MWe ใน 1Q65 และมีกำลังการผลิตใหม่เล็กน้อยที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ปี 2566-2567F
ผลประกอบการขึ้นกับการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า และราคาถ่านหินเป็นหลัก
เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 2565F จะเพิ่มถึง 52% YoY เพราะบริษัทจะมีกำไรจากการขายการลงทุน ในขณะที่กำไรจากธุรกิจหลักจะดีดตัวขึ้น 11% YoY จากการรับรู้ผลการดำเนินงานเต็มปีของโครงการ Temple I & Nakoso และรับรู้ผลขาดทุนจาก Banpu NEXT ลดลง เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลักในปี 2566-67F จะเพิ่มขึ้น 18% YoY / 9% YoY เนื่องจากผลการดำเนินงาน และ margin ที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นของ CHPs และ SLG โดยเราคาดว่า ROE จะเพิ่มขึ้นเป็น 9.1% ก่อนที่จะกลับลงมาเหลือ 5.8-6.2% ซึ่งต่ำกว่าในอดีต ทั้งนี้ ตัวแปรสำคัญคือการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าในการรับมือกับราคาถ่านหิน และการซ่อมบำรุง
กลยุทธ์หลัก คือ Greener and smarter
BPP ตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 5.3GWh ภายในปี 2568 (จาก 3.3GWh) ซึ่งหมายความว่าบริษัทจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีกอย่างน้อย 500MWe ต่อปีเพื่อให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งในการเข้าซื้อกิจการอื่นบริษัทจะเน้นไปที่โครงการที่มีประสิทธิภาพสูงแต่ผลิต carbon ต่ำ และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในตลาดที่บริษัทมีกิจการที่มั่นคงอยู่แล้ว เราเชื่อว่า Banpu NEXT (JV ที่ BPP และ BANPU (BANPU.BK/BANPU.TB) ถือหุ้นคนละครึ่ง) จะเป็นกลไกสำคัญของกลุ่ม Banpu ในการดำเนินกลยุทธ์ Greener and Smarter โดยคาดว่ากำไรจาก JV แห่งนี้จะคิดเป็นสัดส่วนถึง >50% ของ EBITDA ของ
BANPU ในปี 2568 ทั้งนี้ สัดส่วน net IBD/E อยู่ที่ 0.22x ใน 1Q65 ซึ่งยังต่ำกว่า covenant และเป้าของบริษัทอย่างมาก และเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนหนี้ที่ยังต่ำทำให้เราคิดว่า BPP ค่อนข้างจะอนุรักษ์นิยมมากกว่าหุ้นอื่นในกลุ่มเมื่อดูจากข้อมูลในอดีตที่ใช้เวลาดำเนินการค่อนข้างช้า
Valuation and action
เรากลับมาศึกษาหุ้น BPP โดยแนะนำถือ และประเมินราคาเป้าหมาย DCF ที่ 15.80 บาท เราเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ PBV 0.9x ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยห้าปี ย้อนหลัง -2 S.D. สะท้อนปัจจัยลบต่าง ๆ ไปเรียบร้อยแล้ว (เช่น การใช้เชื้อเพลิงถ่านหินมากกว่ากลุ่ม, การเติบโตที่เชื่องช้า) เรามองว่านักลงทุนส่วนใหญ่ under-own หุ้น BPP เพราะกระแส ESG แต่มองว่ามีโอกาสให้เข้าเก็งกำไรในระยะสั้นได้ จากแนวโน้มกำไรที่ดีขึ้นจากหลายๆ โครงการ ในขณะที่เรายังไม่เห็นปัจจัยกระตุ้นระยะกลางถึงยาวที่จะมีน้ำหนักมากพอให้เราปรับเพิ่มคำแนะนำ เว้นแต่จะมีโครงการใหม่ ๆ ที่มีขนาดใหญ่ หรือกำไรจาก CHPs ดีขึ้นทั้งนี้ ในการประเมินมูลค่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เราหัก discount 25% เพื่อสะท้อนถึงกระแส ESG
Risks
การปิดซ่อมบำรุงนอกแผน, ปัญหา cost overrun, ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ย