2 ปีรัฐอัด 'คนละครึ่ง' 5 เฟส 2.3 แสนล้าน หนุนกำลังซื้อ – พยุงเศรษฐกิจ

2 ปีรัฐอัด 'คนละครึ่ง' 5 เฟส  2.3 แสนล้าน  หนุนกำลังซื้อ – พยุงเศรษฐกิจ

เปิดข้อมูล 2 ปี 2563 - 2565 รัฐใช้มาตรการโครงการคนละครึ่ง 5 เฟส วงเงินรวม 2.3 แสนล้านบาท รวม ครม.อนุมัติคนละครึ่งเฟส 5 วงเงิน 2.1 หมื่นล้าน จ่ายคนละ 800 บาท นายกฯ ชี้รัฐบาลอัดมาตรการช่วยเหลือประชาชนแล้วกว่า 8.5 แสนล้าน “อาคม” คาดเงินหมุนเวียนศก. 4.8 หมื่นล้านบาท จีดีพีโต 0.13%

รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อรับมือวิกฤติโควิด-19 ในช่วงปี 2563-2565 รวมวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท โดยงบประมาณจำนวนหนึ่งถูกนำมาใช้เยียวยาผลกระทบให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ

สำหรับ มาตรการสำคัญที่รัฐบาลนำมาใช้ลดผลกระทบด้านกำลังซื้อคือ “มาตรการคนละครึ่ง” ซึ่งเริ่มใช้มาตั้งแต่ ต.ค.2563 ถึง ต.ค.2565 รวม 5 เฟส ใช้วงเงินรวม 234,500 ล้านบาท แบ่งเป็น 5 เฟส ดังนี้ 1.เดือน ต.ค.-ธ.ค.2565 วงเงิน 30,000 ล้านบาท

2.เดือน ม.ค.-มี.ค.2564 วงเงิน 22,500 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย 15 ล้านคน 3.เดือน พ.ย.-ธ.ค.2564 อนุมัติวงเงิน 84,000 ล้านบาท

อนุมัติเพิ่มวงเงินอีก 42,000 ล้านบาท รวม 126,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย 28 ล้านคน

4.เดือน ก.พ.-เม.ย.2565 อนุมัติวงเงิน 34,800 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย 29 ล้านคน 5.เดือน ก.ย.-ต.ค.2565 อนุมัติวงเงิน 21,200 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมาย 26.5 ล้านคน

ในขณะที่ มาตรการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีการนำมาใช้รวม 5 เฟส รวมวงเงิน 86,090 ล้านบาท

 

2 ปีรัฐอัด \'คนละครึ่ง\' 5 เฟส  2.3 แสนล้าน  หนุนกำลังซื้อ – พยุงเศรษฐกิจ

 

อนุมัติคนละครึ่งเฟส 5 


นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้โควิด-19 ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ.2564 โดยอนุมัติให้จ่ายเงินจากเงินกู้ วงเงิน 27,427 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินการใน 3 โครงการ ได้แก่

 1.คนละครึ่ง ระยะที่ 5 มีผู้ได้รับสิทธิ 26.5 ล้านคน จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยภาครัฐช่วยจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้า และบริการที่กำหนด ในอัตรา 50% ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 800 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.-31 ต.ค.2565 ใช้เงินทั้งสิ้น 21,200 ล้านบาท

2.เพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 5 จำนวนไม่เกิน 13.34 ล้านคน โดยช่วยเหลือ 200 บาทต่อคน เป็นเวลา 2 เดือน รวมเป็น 400 บาทต่อคน ใช้เงินทั้งสิ้น 5,336 ล้านบาท

3.เพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ระยะที่ 3 จำนวนไม่เกิน 2.22 ล้านคน ช่วยเหลือ 200 บาทต่อคน เป็นเวลา 2 เดือน รวมเป็น 400 บาทต่อคน ใช้เงินทั้งสิ้น 890 ล้านบาท

เยียวยาประชาชน8.5แสนล้าน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.ได้พิจารณาการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการขับเคลื่อนประเทศท่ามกลางวิกฤตที่ยังคงอยู่ในโลก

ทั้งนี้ ที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการในการช่วยเหลือเพิ่มเติมได้แก่ มาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าใช้ครองชีพให้กับพี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นการใช้เงินกู้ในปี 2564 ต่อเนื่องมา 2 ปีกว่า จนถึงปัจจุบัน โดยที่ผ่านมารัฐบาลได้ช่วยเหลือเยียวยาด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชน ผู้มีรายได้น้อย แรงงาน ประกันสังคม ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ กว่า 45 ล้านคน วงเงิน 8.54 แสนล้านบาท รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงาน วงเงิน 2.8 แสนล้านบาท

รวมทั้ง ครม.เห็นชอบการเติมเงินช่วยเหลือแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ไม่สามารถใช้งานแอปพลิเคชันเป๋าตัง ผู้ไม่มีสมาร์ทโฟนและผู้มีภาวะพึ่งพิงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นระยะเวลา 2 เดือน วงเงิน 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมเป็น 400 บาท ตั้งแต่เดือน ก.ย.-ต.ค.นี้ และเห็นชอบโครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ให้ใช้สิทธิ 2 เดือนวงเงิน 800 บาทต่อคน โดยใช้ได้ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน โดยทั้ง 2 โครงการ จะเริ่มใช้สิทธิได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้

ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยให้มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ เศรษฐกิจจะได้ไม่ติดขัด เกิดเงินหมุนเวียนในระบบขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง

"อาคม”คาดหนุนจีดีพี0.13%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงสาเหตุที่รัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจว่า ขณะนี้ เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว แม้จะเจอปัญหาเงินก็ตาม แต่สถานการณ์โควิด ก็ยังมีการติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น ในแง่กำลังซื้อของประชาชนอาจจะไม่เพียงพอบวกกับราคาสินค้ายังแพง ขณะที่ พ่อค้าแม่ขายก็ยังไม่สามารถขายของได้ ฉะนั้น เมื่อใดที่มีมาตรการออกมา โดยเฉพาะมาตรการคนละครึ่ง การค้าขายก็จะคึกคักขึ้น

ทั้งนี้ การที่เราให้วงเงินต่อรายที่ 800 บาท ก็เป็นการดูตามความจำเป็น เพราะช่วงที่ผ่านมา เราได้ใช้เงินไปมาก เพราะเป็นช่วงที่ประชาชนขาดรายได้ ทางรัฐบาลก็จำเป็นต้องเอาเงินไปสนับสนุน แต่ตอนนี้ ประชาชนเริ่มกลับเข้ามาทำงานและมีรายได้เพิ่ม ฉะนั้น วงเงินที่ให้ก็ถือว่า ช่วยตามความจำเป็น

โดยรัฐบาลจะใช้เม็ดเงินสำหรับมาตรการรักษาระดับการบริโภคในประเทศจากพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท จำนวน 2.74 หมื่นล้านบาท ทำให้เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายรวมในวงเงินประมาณ 4.86 หมื่นล้านบาท ช่วยสนับสนุนจีดีพีได้ประมาณ 0.13% ทั้งนี้ เมื่อเราใช้เงินจากพ.ร.ก.เงินกู้จำนวนดังกล่าวแล้ว จะเหลือว