เผยอัตราว่างงานเพิ่มขึ้น 0.94% ไตรมาส1/58
"สภาพัฒน์" เผย อัตราว่างงานไตรมาส 1/59 อยู่ที่ 3.7 แสนคน เพิ่มขึ้น 0.94% จากไตรมาส 1/58 ชี้แนวโน้มหนี้ครัวเรือนปีนี้ยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานเฉลี่ยในไตรมาส 1/59 อยู่ที่ 0.97% หรือมีจำนวน 3.7 แสน คน เพิ่มขึ้นจาก 0.94% ในไตรมาส 1/58 ทั้งนี้ โดยปกติ ไตรมาส 1 อัตราการว่างงานจะสูงที่สุด อย่างนี้ทุกปี และจะลดลงในไตรมาส 2 ไตรมาส 3 และ 4 โดยการจ้างงานภาคเกษตร ลดลง 2.7% จากผลกระทบของภาวะภัยแล้งใน ช่วงที่ผ่านมา แต่การจ้างงานนอกภาคเษตรเพิ่มขึ้น 1.5% ตามการขยายตัวของ เศรษฐกิจในด้านการผลิตอุตสาหกรรม ก่อสร้าง ขนส่ง และบริการท่องเที่ยว
ผลการสำรวจของสภาพัฒน์ ยังพบว่า ในปี 58 ภาคครัวเรือนมีหนี้ลดลง โดย มีมูลหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 1.57 แสนบาท ลดลง 1.96% จาก มาตรการแก้ปัญหาหนี้สิน และการเข้มงวดการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน เมื่อเทียบกับ ที่เพิ่มขึ้น 10.0% ในปี 56 โดยหนี้ในระบบ ลดลง 2% มาอยู่ที่ 1.53 แสนบาท แต่หนี้นอกระบบ เพิ่มขึ้น 1.1% มาที่ 3.35 พันบาท ขณะที่สัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นหนี้ ลดลงมา อยู่ที่ 49.1% จาก 53.8% ในปี 56
สำหรับแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในปี 59 ยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง เห็นได้จากข้อมูลยอดคงค้างการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคาร พาณิชย์ ในไตรมาส 1/59 เพิ่มขึ้น 5.7% ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้น 6.3% ในปี 58 เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อการจ้างงานและ รายได้แรงงาน ได้แก่ สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงในช่วงที่ผ่านมา โดยแรงงานภาคเกษตร ยังเป็นกลุ่มที่มี ความเปราะบางมากที่สุด เนื่องจากมีสัดส่วนคนจนมากที่สุด และแรงงาน เกษตร 69% มี อายุ 40 ปีขึ้นไป อีกทั้งกว่า 70% ของแรงงานภาคเกษตร มีการศึกษาในระดับประถมและต่ำกว่า รวมทั้งได้รับค่าจ้างต่ำกว่าสาขาอื่น 2.5 เท่า โดยมีรายได้ เฉลี่ย 5,582 บาท/ เดือน ทำให้มีข้อจำกัดในการรับมือกับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งจะซ้ำเติม ต่อปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ ยังเป็นไปแบบช้าๆ และการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านและประเทศจีน ที่เป็น ตลาดส่งออก สำคัญของไทย ซึ่งขณะนี้ภาคธุรกิจยังไม่ได้มีการปลดพนักงาน แต่ใช้วิธี ปรับลดชั่วโมงการทำงานลง
ขณะเดียวกัน การจ้างงานและรายได้แรงงงาน ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาการกีดกันทางการค้า จากการทำประมงผิดกฎหมาย และปัญหาแรงงานบังคับที่ส่งผลต่อการส่งออกของธุรกิจประมง และธุรกิจแปรรูปสัตว์น้ำ
ทั้งนี้ แม้ยังไม่พบความรุนแรงในการเลิกจ้างแรงงานในสาขาประมง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการ ขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรลุเป้าหมาย การส่งเสริมการ ทำประมง ที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป