4 วิธีป้องกันการถูกแฮกข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม

เหล่ามิจฉาชีพ เร่งหากลวิธีใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยมากขึ้น เพื่อเข้าไปล้วงลูกข้อมูล ATM หรือโจรกรรมข้อมูล และเงินจำนวนมหาศาลของระบบการเงินทั่วโลก
จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ส่งผลให้เหล่ามิจฉาชีพ เร่งหากลวิธีใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยมากขึ้น เพื่อเข้าไปล้วงลูกข้อมูล หรือโจรกรรมข้อมูล และเงินจำนวนมหาศาลของระบบการเงินทั่วโลก รวมถึงไทย อย่างกรณีสดๆ ร้อนๆ ธนาคารออมสิน ถูกแฮกเกอร์ต่างชาติโจรกรรมเงินผ่านตู้ ATM ถึง 12 ล้านบาท ใน 6 จังหวัด ดังนั้น ธนาคาร จึงต้องเร่งหยุดความเสียหาย ด้วยการสั่งปิดให้บริการตู้เอทีเอ็ม 3,000 ตู้
การถูกโจรกรรมครั้งนี้ แม้ความเสียหายจะเกิดขึ้นกับตัวธนาคารออมสินไม่ใช่ลูกค้า แต่กลับมีแรงกระเพื่อมสร้างความตื่นกลัว และสร้าวความปั่นป่วนให้กับบรรดาลูกค้าแบงก์อย่างเรา เริ่มวิกตกกังวลเงินในบัตรเอทีเอ็มอาจถูกมิจฉาชีพฉกฉวยไปได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
ดังนั้น ท่านลูกค้าธนาคารทั้งระบบ ในฐานะผู้บริโภค ก็ต้องควรติดตามข้อมูลข่าวสื่อ และต้องรู้เท่าทันกลวิธีของมิจฉาชีพตลอดเวลา โดย ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริหารทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอแนะกลวิธีผู้บริโภครู้เท่าทันมิจฉาชีพ ด้วย 4 วิธีป้องกันการถูกแฮกข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม
1. ก่อนใช้ตู้เอทีเอ็มทุกครั้ง ผู้บริโภค ควรสังเกตช่องสอดบัตร และแป้นกดตัวเลขว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ หากสงสัยก็ไม่ควรใช้เครื่อง และรีบแจ้งให้ธนาคารทราบทันที
2. สังเกตความผิดปกติบริเวณตู้เอทีเอ็ม เช่น กล่องใส่โบรชัวร์ เพราะอาจเป็นที่ซ่อนกล้องรูเข็มเพื่อแอบดูการกดรหัส
3. ควรใช้มือบังแป้นกดตัวเลขขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้กล้องที่มิจฉาชีพแอบติดตั้งไว้ หรือคนที่อยู่ด้านหลังเห็นรหัสผ่าน
4. ควรเปลี่ยนรหัสบัตรอยู่เสมอ และรีบเปลี่ยนรหัสทันที เมื่อสงสัยว่า บุคคลอื่นรู้รหัสเรา