IDE Center สปริงบอร์ดนวัตกรรม
การสร้างนวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ช้า และเป็นกระบวนการที่คนอื่นมองไม่เห็น ทำให้ส่วนใหญ่ล้มเลิกไปในขั้นตอนนี้
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่หวังจะเห็น “S curve” เพื่อดันมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ทะยานไปกว่าที่เป็นอยู่ใน โดยคาดหวังถึงการผลักดันวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อน หนึ่งในนั้นมี “เอสเอ็มอี” และ “สตาร์ทอัพ” เป็นหนักรบแถวหน้า
“หลายคนนิยามสตาร์ทอัพแตกต่างกันไป ซึ่งจริงๆ ผมมองว่าจะเรียกเอสเอ็มอี หรือ สตาร์ทอัพก็ไม่ผิด ในแง่การวิจัยแล้วก็คือการเริ่มต้นธุรกิจ อยู่ที่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรเท่านั้น
การสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นต่างหากที่เป็นสิ่งที่อยากจะเห็น”ดร.ศักดิพล เจือศรีกุล ผู้อำนวยการศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center)กล่าว
IDE ย่อมาจาก Innovation-Driven Entrepreneurshipหรือ การประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรร โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองการขับเคลื่อนธุรกิจในไทยว่าต้องมีพร้อมทั้ง2ส่วน นั่นคือ “นวัตกรรม” และ “เชิงพาณิชย์”
ที่ผ่านมา คิดกันแค่ว่าจะสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น โดยลืมมองไปว่าสิ่งที่คิดมานั้นจะมีคนซื้อหรือไม่
“แนวคิดของIDEจึงมองให้ครบตั้งแต่ต้นทาง จากจุดเริ่มต้นถึงการลากเส้นไปสู่S curveซึ่งการจะเดินไปถึงจุดนั้นได้ต้องมีกระบวนการใดบ้าง”
IDE มีที่มาอย่างไร และทำงานด้านใดบ้าง?
“IDEเริ่มต้นมาจากรศ.ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมองว่าการพัฒนาเอสเอ็มอีในไทย แม้จะหลายภาคส่วนจะให้ความสำคัญและมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ แต่ก็พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก เพราะไทยก็ยังคงติดอยู่ในmiddle income trapอยู่เหมือนเดิม
อย่างไรก็ดี จากการได้มีโอกาสเดินทางไปMITเมื่อสองปีที่แล้วก็เป็นจุดเริ่มต้นของการนำแนวคิดIDEมาใช้”
โดยปกติแล้ว การเริ่มต้นธุรกิจส่วนใหญ่มักจะเป็นเส้นตรง หมายความว่า ทำธุรกิจ ขายได้ในระดับหนึ่ง แต่การที่จะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมต้องมีการลงทุนเพิ่ม อาทิ เพิ่มจำนวนโตะนั่งในร้านให้มากกว่าเดิม ขยายสาขา หรือ เพิ่มจำนวนคนซึ่ง เอสเอ็มอี ในไทยจะเน้นขยายตัวแบบเส้นตรงนี้
ในขณะที่แนวทางของ IDEบอกว่า ให้คิดก่อนว่าลูกค้าต้องการอะไร มากกว่าเริ่มต้นที่โปรดักท์หรือสินค้า
“ก่อนที่จะตั้งชื่อเป็นศูนย์ เราได้นำIDEเข้ามาใช้ในเรื่องการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยที่ต้องทำ 24 สเต็ปDisciplined Entrepreneurshipโดยทางคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้เรียนรู้กับ Professor Bill Aulet ผู้เขียนหนังสือ Disciplined Entrepreneurship: 24 steps to a Succesful Startup และเป็น Director ของ ศูนย์ The Martin Trust Center for MIT Entrepreneurshipมาแล้ว”
โดย “สมการทางนวัตกรรม” ในความหมายของMITคือ Innovation =Invention x Commercialization
“นวัตกรรม ไม่ใช่คุณต้องคิดสิ่งใหม่เท่านั้น ที่สำคัญต้องขายได้ด้วย คนจะยอมซื้อสินค้าก็ต่อเมื่อมองเห็นว่าคุณค่าที่จะได้รับนั้นสูงกว่าเงินที่จ่ายไป เค้าจะต้องได้อะไรบางอย่างกลับมา”
สำหรับ Processของการได้มาซึ่งนวัตกรรมที่ขายได้นั้นมีอยู่24 steps
ซึ่งแต่ละ Steps ไม่ใช่ว่าผ่านแล้วผ่านเลย แต่อาจจะมีการย้อนไปย้อนมาเมื่อเจอปัญหา และนั่นเองคือ โมเดลที่เอามาใช้ที่ศูนย์ IDE
“อย่างไรก็ดี เราได้เพิ่มสเต็ป 0 ด้วย เพื่อหาว่าอะไรคือคุณค่าที่ลูกค้าต้องการจริงๆ ถ้ายังคิดไม่ได้ก็ไม่สามารถบอกได้ไอเดีย หรือนวัตกรรมที่คาดหวังจะทำขึ้นมานั้นจะเวิร์คจริงๆ หรือเปล่า
ต้องตอบให้ได้ว่าลูกค้าคุณคืออะไร ทดสอบลูกค้าแล้วหรือยัง เมื่อทำขึ้นมาแล้วลูกค้ายอมจ่ายมั้ย รวมถึงการจะได้มาซึ่งลูกค้านั้นทำอย่างไร จะเห็นว่าในกระบวนการของIDEจะพูดถึงแต่ลูกค้าๆๆ ไม่เคยพูดเรื่องสินค้าเลย”
จากกระบวนการที่ค่อนข้างยาวนาน หลายขั้นตอนกว่าจะได้มาซึ่งนวัตกรรมที่ลูกค้าพร้อมจะจ่ายดร.ศักดิพล บอกนี่ก็เป็นอีกด่านที่สำคัญที่มีผลให้ ผู้ประกอบการไม่กล้าที่จะลงทุนและเดินไปไม่ถึงไหน
“นวัตกรรมเป็นprocessที่ช้า และเป็นprocessที่คนอื่นมองไม่เห็น เพราะกว่าจะเห็นได้ก็ต่อเมื่อผลิตเป็นสินค้าหรือบริการออกมาแล้ว
ในขณะที่ตลอดการทำงานในprocessก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นดีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมของผู้ประกอบการไทย”
ภารกิจของศูนย์ IDEก็คือ การทำงานในส่วนที่เป็น “3 S”
Sตัวแรก Stakeholder การรวมกลุ่ม 5 ภาค ประกอบด้วยผู้ประกอบการ(Entrepreneurs),ภาครัฐ (Government),ภาคเอกชน (Corporate),ภาคเงินทุน (Risk Capital)และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา(University)ที่จะช่วยกันสร้างระบบนิเวศของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Ecosystem)ขึ้นมา
รวมถึงความตั้งใจที่จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานร่วมกับเครือข่ายประชารัฐ
Sตัวที่สอง System ประกอบด้วย Innovation capability กับEntrepreneur capability
“จากที่เราก็ทำแบบสอบถามผู้ประกอบการถึง มุมมองทั้งสองด้านว่าเป็นอย่างไร พบว่าขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทยต่ำมาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ
คนไทยเก่งค้าขาย เก่งธุรกิจ แต่สองขานี้ต้องเดินไปด้วยกัน ทำงานประสานกัน ทำอย่างไรให้สองส่วนนี้ต้องประสานกันและคุยกันรู้เรื่อง”
ในส่วนของ System เราทำได้คือ เอา I กับ E มาเจอกัน ตอนนี้เรารู้แล้วว่า I ต่ำ ดังนั้นควรจะเพิ่ม I ในวิธีใดบ้าง
ภาคการศึกษาได้เริ่มต้นไปแล้วกับการบูรณาการหลักสูตรระหว่างsocial scienceหรือmarketingเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้คนจากทั้งสองฝั่งได้มีโอกาสคุยกันมากขึ้น
เห็นได้ว่าทิศทางการพัฒนาหลักสูตรของ ม.หอการค้าไทยจะเป็นในแบบMulti disciplinary
“ทำอย่างไรให้สองคนนี้มาเจอกัน คลิกกันแล้วสร้างทีมแล้วพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมานี่คือSที่สองที่เราอยากสร้างขึ้น”
Sตัวที่สาม Strategyการผลักดันกลยุทธ์เข้าไปในระบบ
“ในไทยได้เริ่มทำกันแล้วอย่าง Dtac accelerate , Ais the startup รวมถึง ธนาคารก็เริ่มทำศูนย์บ่มเพาะ ขึ้นอยู่วัตถุประสงค์ของแต่ละที่ขณะที่ ทางมหาวิทยาลัยก็มองถึงการพัฒนานักศึกษา และผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จ การเปิดกว้างในลักษณะนี้ทำให้เราเปิดกว้าง ไม่จำเป็นต้องทำtechอย่างเดียว”
IDE จะไม่ใช่ "บ่มเพาะ (Incubate)" แต่ใช่คำว่า "เร่งรัด (Accelerate)" ซึ่งแตกต่างกัน
“เรามี บูทแคมป์ ที่เป็น Acceleration programและBusiness plan competitionเป็นสองเวทีที่ร่วมกับ 2 พาร์ทเนอร์จากทั้งMITและ เบิร์คลีย์”
Business plan competitionแบ่งออกเป็น2เวที
โปรแกรมที่ทำร่วมกับ MITจะเปิดเวที MIT Enterprise Forum หรือ MITEF สำหรับCLMV+Thaiแข่งขันเป็นภาษาอังกฤษ โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นHubในการสร้างIDEขึ้นในภูมิภาคนี้
อีกเวทีเป็นโปรแกรมแข่งขันที่จัดร่วมกับทางเบิร์คลีย์ ซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างการประกอบการที่มี “Impact” ต่อสังคม หรือที่เรียกว่า Global Sovial Venture Competition (GSVC)
ขณะที่Acceleration programที่จะเกิดขึ้นมีหลายกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้ส่วนนี้ ได้แก่ “กะเทาะเปลือก”กาบ่มเพาะจะเป็นภาษาไทยสำหรับคนที่ผ่านEgg projectมาก่อนฃ
“คนที่เข้าโครงการ Egg projectซึ่งม.หอการค้าไทยทำมาต่อเนื่อง จะใช้เวลาเวลา 4 เดือนในการเร่งรัด โดยให้นักศึกษาเขียนแผน โมเดลธุรกิจใครที่โดดเด่น แล้วนำเสนอให้นักลงทุนจนผ่านในขั้นต้น เราจะให้เงินเดือน เพื่อให้ทุกคนอยู่ได้
จากนั้นก็เข้าสู่แข่งกะเทาะเปลือก ซึ่งในกระบวนการนี้ผู้เข้าโครงการจะเข้าสู่process 24 stepsที่ทาง MIT ได้สร้างขึ้นทุกอย่างจะพัฒนาไปตามขั้นตอนจนกว่าไอเดียนั้นจะนิ่ง แล้วพอจะมองเห็นได้ว่า MVP ที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร แล้วนำไอเดียนั้นไปทดสอบกับนักลงทุนก่อนที่จะลงมือทำจริง”
นอกจากนี้ การ “ผลิตโค้ช” ยังเป็นอีกหนึ่งแผนงานของศูนย์IDE
“เราจะสร้างโค้ช ผ่านหลักสูตรMITโดยเรียกว่าIDE Coachซึ่งจะโฟกัสไปที่การผลิตCoach Entrepreneurshipเพื่อให้เกิดการต่อยอด และนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ
ผู้ที่เข้าอบรมการเป็นโค้ช จะมาจากอาจารย์และบุคคลภายนอกคัดสรรมา ทั้งหมด 20 คน”
“MIT REAP”ย่อมาจากRegionalentrepreneurship Acceleration programเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่ศูนย์IDEขับเคลื่อน
“ทำอย่างไรที่จะสร้างผู้ประกอบการ และสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้ประกอบการเติบโตขึ้นมาได้”
MIT REAP ประกอบด้วย committeeที่ตั้งขึ้นมาจากส่วนของ Sตัวแรกนั่นคือ Stakeholdersมี 5 ส่วนด้วยกัน
“ซึ่งการจะเข้าไปอยู่ใน committee นี้ได้ ทางไทยต้องส่งโปรไฟล์เข้าไปให้ MITพิจารณาว่าสามารถเข้าเรียนในโปรแกรมนี้ได้หรือไม่ ที่ในตอนนี้คอร์สเรียนนี้ได้ผ่านระยะทางมา1ปีครึ่งแล้ว อีกไม่นานก็จบ แล้วจะได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาต่อยอดและขยายผลต่อไป”
จากการได้ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก MIT ผู้อำนวยการศูนย์ IDE บอก เรามาถูกทางแล้วเรื่อง Startup แต่ที่อยากให้เน้นคือ คลัสเตอร์อะไรของไทยที่เป็นุจดเด่นและจุดแข็งของไทยบ้างควรเริ่มต้นจากจุดนี้
ตัวอย่างเช่น ทางด้าน food ,hospitality ที่ผ่านมาเรามีservice innovationทางด้านนี้มากน้อยแค่ไหน รวมถึง ด้านagriculturalที่ไทยคิดอยู่เสมอว่าเก่ง จริงๆ แล้วเราเก่งจริงหรือไม่
โดย MIT มองเรื่องการเริ่มต้นจากcompetitive advantageเป็นสำคัญ
ซึ่งจากหลายๆ ส่วนที่ศูนย์IDEจะเน้นเป็นอย่างมากในปีนี้ คือ เราพยายามสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในไทย