'การุณยฆาต' สิทธิเลือกตายของมนุษย์
การการุณยฆาต หรือการกระทำที่จงใจยุติชีวิตของบุคคล เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวดของบุคคลผู้นั้น ผ่านการช่วยเหลือทางการแพทย์ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเฉพาะในสังคมตะวันตก
ซึ่งการการุณยฆาตแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การการุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) กระทำโดยให้สารหรือวัตถุใดๆ ที่เร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย เป็นวิธีที่มีข้อถกเถียงกันอย่างมาก และการการุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia)กระทำโดยการยุติการรักษาแก่ผู้ป่วย เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและโรงพยาบาลหลายแห่งใช้อยู่
แต่การการุณยฆาต ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและเป็นความผิดอาญาในบางประเทศ เพราะมีผู้คนจำนวนมากไม่เห็นด้วย มองว่าเป็นการกระทำที่เป็นบาป รวมถึงประเทศไทยที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองเรื่องการทำการุณยฆาต ที่ถือเป็นการเร่งการตาย
โดยปัจจุบัน มี10 ประเทศเท่านั้นที่มีกฎหมายมารองรับการทำการุณยฆาต แถมบางประเทศอย่างออสเตรเลีย มีเพียงรัฐวิคทอเรียรัฐเดียวที่มีกฎหมายรับรอง ส่วนในสหรัฐมีเพียง 5 รัฐเท่านั้นที่ทำได้
ในอนาคตน่าจะมีหลายประเทศมากกว่านี้ที่มีกฎหมายรองรับการการุณยฆาต อย่างน้อยที่สุดก็เป็นการช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานแก่บุคคลนั้นๆตามสิทธิที่พึงมีพึงได้