ธ.ก.ส.เร่งจ่ายเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตผู้ปลูกข้าวนาปี62/63 รอบแรกหมื่นล้านบาท
ธ.ก.ส. เร่งจ่ายเงินช่วยเหลือโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงแล้ว 1.77 ล้านครัวเรือน รอบแรกเป็นเงินกว่า 10,976 ล้านบาท พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือและลงพื้นที่เยี่ยมเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนเกษตรกรพร้อมมอบเงินช่วยเหลือตามโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต2562/63 มอบเงินค่าสินไหมแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต2562 และมอบถุงยังชีพแก่เกษตรกรที่ประสบอุทกภัยจำนวนกว่า1,000 ราย โดยมีนายอภิรมยสุขประเสริฐผู้จัดการธ.ก.ส. พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงานในสังกัดสำนักงานธ.ก.ส.จังหวัดขอนแก่นร่วมกิจกรรมณที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น
ทั้งนี้รัฐบาลมีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรที่ประสบภัยทั้งภัยแล้งและอุทกภัยที่ส่งผลกระทบต่อรายได้และเศรษฐกิจโดยรวมจึงได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือต่างๆผ่านธ.ก.ส. เช่นโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต2562/63 โดยมอบเงินช่วยเหลือค่าต้นทุนการผลิตในอัตราไร่ละ500 บาทตามพื้นที่ที่ปลูกข้าวจริงแต่ไม่เกินครัวเรือนละ20 ไร่วงเงิน24,810 ล้านบาทโดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์4.31 ล้านครัวเรือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้งและน้ำท่วมที่ส่งผลให้เกษตรกรมีภาระต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้นและยังเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอีกทั้งเพื่อให้เกษตรกรมีกำลังใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว
นอกจากนี้ในส่วนของเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติได้มอบหมายธ.ก.ส. พิจารณาให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่โดยเบื้องต้นได้จัดหาถุงยังชีพไปมอบให้ผู้ประสบภัยการเข้าไปสนับสนุนศูนย์อพยพหรือจุดรวมพลเพื่อเป็นศูนย์กลางในการช่วยเหลือและเมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติก็จะพิจารณามอบเงินช่วยเหลือทั้งในเรื่องของการซ่อมแซมบ้านของใช้จำเป็นในครัวเรือนการซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องจักรกลทางการเกษตรเป็นต้น
ด้านภาระหนี้สินที่มีอยู่กับธ.ก.ส. ก็ได้มีมาตรการขยายระยะเวลาชำระหนี้และพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่จำเป็นในครัวเรือนเพื่อป้องกันการก่อหนี้นอกระบบไม่เกินรายละ50,000 บาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ0 ในช่วง6 เดือนแรกและสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูการผลิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นค่าลงทุนสร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยโรงเรือนการเกษตรเครื่องมือเครื่องจักรกลที่จะนำมาใช้ในการฟื้นฟูอาชีพเป็นต้นไม่เกินรายละ500,000 บาทชำระคืนไม่เกิน15 ปีอัตราดอกเบี้ยMRR-2 หรือเท่ากับร้อยละ4.875 ต่อปีรวมวงเงินสินเชื่อเพื่อรองรับมาตรการต่างๆดังกล่าวจำนวน65,000 ล้านบาท
ด้านนายอภิรมย์ สุขประเสริฐผู้จัดการธ.ก.ส.กล่าวว่าธ.ก.ส. ได้เร่งโอนเงินตามโครงการแก่เกษตรกร ไปแล้วจำนวน1,773,549 ครัวเรือนเป็นเงินกว่า10,976 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ40 ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต2562/63 (รอบที่1) กับกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยอีกร้อยละ60 ทางกรมส่งเสริมการเกษตรจะทยอยส่งข้อมูลการเพาะปลูกให้ธ.ก.ส. เพื่อดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของโครงการฯและเตรียมจ่ายเงินต่อไปโดยมีระยะเวลาการจ่ายเงินตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่31 ธันวาคม2562 ยกเว้นภาคใต้ถึงวันที่30 เมษายน2563 ทั้งนี้การโอนเงินธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบรายชื่อและสถานะการโอนเงินได้ที่ลิ้งค์https://chongkho.inbaac.com และตรวจสอบจำนวนเงินที่โอนเข้าบัญชีผ่านธ.ก.ส. A-Mobile ตู้ATM ทุกธนาคารและเครื่องปรับสมุดเงินฝากอัตโนมัติของธ.ก.ส. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและสามารถเบิก-ถอนเงินจำนวนดังกล่าวได้ที่ธ.ก.ส. ทุกสาขาหรือใช้บริการผ่านตู้ATM ได้ทุกธนาคารรวมทั้งสามารถนำไปใช้จ่ายผ่านธ.ก.ส. A-Mobile ซึ่งคาดว่าเงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยให้เกษตรกรมีสภาพคล่องในการใช้จ่ายและกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยนายอภิรมย์กล่าวว่าธ.ก.ส. ได้มอบหมายให้พนักงานในพื้นที่ออกเยี่ยมเยียนและมอบถุงยังชีพจากกองทุนบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติจำนวนกว่า27,000 ถุงพร้อมสนับสนุนอาหารน้ำดื่มบริการสุขาเคลื่อนที่เต็นท์สนามที่ศูนย์อพยพหรือจุดรวมพลอีก13 จุดทั้งนี้ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินธ.ก.ส. จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามความหนักเบาของผู้ประสบภัยทุกรายและได้ดำเนินการจ่ายสินเชื่อฉุกเฉินให้เกษตรกรที่ประสบภัยทั้งภัยแล้งและอุทกภัยไปแล้วกว่า24,000 รายวงเงินประมาณ1,200 ล้านบาทและสินเชื่อสำหรับฟื้นฟูผู้ประสบภัยจำนวน2,073 รายวงเงินประมาณ400 ล้านบาท
ในส่วนของจังหวัดของแก่นมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีปีการผลิต2562/63 ได้รับเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตจำนวน192,675 ครัวเรือนเป็นเงิน1,025 ล้านบาทและได้จ่ายค่าสินไหมทดแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต2562 จำนวน13,100 รายพื้นที่การเกษตร161,793 ไร่เป็นเงิน218 ล้านบาททั้งนี้เกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยธรรมชาติหรือมีข้อสงสัยในมาตรการช่วยเหลือต่างๆสามารถติดต่อธ.ก.ส. ในพื้นที่หรือสอบถามข้อมูลได้ที่Call Center 02 555 0555
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ผู้ว่าอุบลฯประชุมด่วนกลางดึก รับมือสถานการณ์น้ำท่วมสูงรอบ 17 ปี
-นายกฯ ถามหา 'ส.ส.เพื่อไทย' ไม่มาช่วยชาวบ้านน้ำท่วมอุบลฯ
-ทำไม? ปีนี้น้ำท่วมเมืองอุบลราชธานี
-'หญิงหน่อย' ตอบ 'ประยุทธ์' 7ส.ส.อุบลฯ หายไปไหน