มิตซูบิชิพร้อมปักหลักลงทุนรถยนต์อีวีภายในปี 63

มิตซูบิชิพร้อมปักหลักลงทุนรถยนต์อีวีภายในปี 63

“สุริยะ” ชง ครม.โชว์ผลงานเยือนญี่ปุ่น ชี้ มิตซูบิชิพร้อมปักหลักลงทุนรถยนต์อีวีภายในปี 63 “โตโยต้า” พร้อมลงทุนหุ่นยนต์พร้อม ดันไทยศูนย์กลางอาร์แอนด์ดี “เมติ” เตรียมนำทัพบุกไทย รุกลงทุนอีอีซี

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (7 ต.ค.) รับทราบผลการดำเนินโครงการเจรจาความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมของประเทศไทยและการพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย (เอสเอ็มอี) ของประเทศไทย เพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมรายงาน

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้รายงานผลการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ ที่เดินทางเยือนญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 24–26 ก.ย.ที่ผ่านมา ณ จังหวัดโทยามะ และกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น โดยผลการหารือกับผู้บริหารของบริษัทต่างๆที่เป็นผู้นำในอุตสาหที่สำคัญซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ไทยต้องการให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยโดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ใน 2 อุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่

1.การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะได้หารือกับประธานกรรมการบริหาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย

ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น มีแผนที่จะขยายการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลักอินไฮบริด (plug in Hybrid Electric Vehice: PHEV ในประเทศไทยช่วงปลายปี 2563 นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจากตัวรถยนต์เพื่อจ่ายกระแสไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะเดินทาง หรือใช้ในยามเกิดภัยพิบัติได้ด้วย

โตโยต้าสนลงทุนหุ่นยนต์

2.การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ประธานของ Japan-Thailand Economic Cooperation Society (JTECS) และ ประธานของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ส จำกัด เพื่อร่วมกันผลักดันความร่วมมือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics) ในประเทศไทย

นอกจากนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตร์ส จำกัด ได้พิจารณาเลือกประเทศไทยเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนา (R&D) ในภูมิภาคเอเชียแปชิฟิก รวมถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้กับโรงงานผลิตในประเทศไทยด้วย

สำหรับความร่วมมือในการพัฒนาแรงงานและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย ปัจจุบันญี่ปุ่นมีกิจการและธุรกิจที่มาลงทุนในไทยมากถึง ​6,000 กิจการ และมีการผลิตสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมากการลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมีแผนที่จะศึกษาภาพรวมและนำโมเดลการพัฒนาอีอีซี ไปใช้กับภูมิภาคอื่น

รวมทั้งเชื่อมโยงเอสเอ็มอีกับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในด้านการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนการผลิตในประเทศให้พิ่มมากขึ้น และเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั้งในภาคการผลิตและบริการของไทยให้สามารถแข่งขันได้ อันจะเป็นแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ของไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ซึ่งได้มีการหารือกับหน่วยงานต่างๆของญี่ปุ่นในการให้ความช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอีของไทย ซึ่งจะส่งผลดีในภาพรวมต่อการพัฒนาการผลิตในซัพพายเชนของญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน

ส่วนการประชุมหารือร่วมกับประธานองค์การสนับสนุนเอสเอ็มอี แห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือในการพัฒนากับ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินโครงการ T - GoodTech เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเชื่อมโยงธุรกิจกับผู้ประกอบการญี่ปุ่น ในลักษณะ B2B ด้วยระบบ

รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงธุรกิจ (Business Matching) โดยจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนจากการจับคู่ธุรกิจกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานยื่นยันที่จะพัฒนาความร่วมมือเพื่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างกันเพิ่มขึ้นจากเดิม 2 เท่า

ขณะที่การประชุมหารือกับรัฐบลท้องถิ่น จังหวัดโกยามะ โดยได้หารือร่วมกับนายอิซิอิ ทากากาซุ ผู้ว่าราชการจังหวัดโกยามะ ประเทศญี่ปุ่น โดยจังหวัดโทยามเป็นหนึ่งในรัฐบาลท้องถิ่ที่มีกรลงนามMOU กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการประชุมหารือในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาความร่วมมือด้าน SMEในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น เครื่องจักร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์หุ่นยนต์

รวมทั้งมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายอุตสาหกรรมของรัฐบาลไทยแก่นักลงทุนของจังหวัดโกยามะ และชิญชวนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยได้วางเป้าหมายให้เพิ่มขึ้นเป็น 100 บริษัท ภายในระยะเวลา 2 ปี จากเดิมมีจำนวน 60 บริษัท

ส่วนประเด็นอื่นที่คณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการประชุมหารือร่วมกับสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren Japan Business Federation) โดยมีผู้แทนจากภาคเอกชนจำนวน 43 ราย จาก 33 บริษัท เข้าร่วมการประชุมหารือเพื่อรับฟัง การดำเนินนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยใน 3ด้าน ได้แก่ การขับเคลื่อนประเทศตามแนวทางประเทศไทย 4.0 และการยกระดับอุตสาหกรรมเดิมและการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-curve

2.การดำเนินโครงการอีอีซีซึ่งมีการดำเนินงานตามแผนงานและรัฐบาลได้มีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด และการชี้แจงแนวทางการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนในลักษณะ Taylor-made โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน เพื่อนำมาปรับปรุงและกำหนดสิทธิประโยชน์ให้ตรงกับความต้องการของนักลงทุนมากที่สุด

ส่วนการประชุมหารือร่วมกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (New Energy and Industrial Technology Development Organization: NEDO) เพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการสาธิตการรีไซเคิลซากรถยนต์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมดัดแยกและรีไซเคิลวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และโครงการสาธิตการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์จากชากชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของกระทรวงอุตสาหกรรม