"งานวิจัยฯ" ไม่ขึ้นหิ้ง ปตท.สผ. ยึด "EECi" ฐานปั้นงานวิจัยนำไปใช้เชิงพาณิชย์
โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ที่เป็นหัวเรือใหญ่ ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักวิจัยและนักลงทุน
โครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ของ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ PTT ที่เป็นหัวเรือใหญ่ ในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักวิจัยและนักลงทุนทั่วโลกให้เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ผลักดันงานวิจัยและพัฒนา(R&D) ให้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจตามนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” นั้น
บริษัทในเครือ ปตท.ต่างทยอยเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าว เพื่อหวังต่อยอดงานวิจัยฯต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อการเติบโตทางธุรกิจ โดยเมื่อช่วงกลางปีนี้(ปี2562) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้ลงนามสัญญากับ ปตท.เพื่อเช่าที่ดินวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง ของ ปตท. รวม 44.3 ไร่ เป็นระยะเวลา 30 ปี มูลค่าสัญญา 840 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (PTTEP Technology and Innovation Centre : PTIC) ในการสนับสนุนธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม(E&P) รวมถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) หุ่นยนต์(Robotic) และธุรกิจด้านพลังงานใหม่
กล่าวว่า ขณะนี้ ศูนย์วิจัยฯ PTIC ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถเริ่มการก่อสร้างได้ในปีหน้า ใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี หรือแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2563 โดยหากศูนย์วิจัยฯ PTIC เสร็จสมบูรณ์แล้ว ปตท.สผ.จะย้ายศูนย์วิจัยตัวอย่างหิน (PTTEP Core Research Center หรือ PCRC) ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ไปอยู่ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเชื่อมโยงการทำงานด้านR&D กับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) กระตุ้นให้โครงการ EECi เกิดการเติบโตมากขึ้น
ขณะเดียวกันจะให้ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. ที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ เข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆด้วย
“พื้นที่ EECi พอมี สวทช. เข้าไปตั้งแหล่งวิจัยและพัฒนาในพื้นที่ มีกลุ่ม Synchrotron เข้าไป และภาคเอกชนต่างๆเริ่มเข้าไปกระตุ้น ก็ทำให้วันนี้ ภาพของการใช้ประโยชน์ในพื้นที่น่าสนใจขึ้น มีพันธมิตรและนักวิจัยต่างชาติที่เข้าไปรวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนงานวิจัยฯจะเริ่มชัดเจนมากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ปตท.สผ. มุ่งให้ความสำคัญกับ “เออาร์วี” ค่อนข้างมาก และจะพยายามผลักดันให้การเติบโตของธุรกิจขยายตัวเร็วขึ้น ซึ่งธุรกิจของปตท.สผ.เองก็เป็นธุรกิจที่มีมาร์จินเติบโตอยู่แล้ว และมีกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ฉะนั้น มองว่า “เออาร์วี” ควรจะมาโฟกัสที่การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจขุดเจาะและสำรวจปิโตรเลียมของ ปตท.สผ.น่าจะเป็นทิศทางที่ถูกต้อง
เบื้องต้น “เออาร์วี” มีงานวิจัยฯ ที่ร่วมมือกับสตาร์อัพ คองส์เบิร์ก เฟอร์โรเทค (Kongsberg Ferrotech) ประเทศนอร์เวย์ พัฒนาหุ่นยนต์ซ่อมบำรุงท่อใต้น้ำ (Subsea Flowline Control and Repair Robot – SFCR) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลสำหรับใช้ในการตรวจสอบ และซ่อมบำรุงท่อส่งปิโตรเลียมใต้น้ำ ตัวแรกของโลก ที่จะช่วยลดต้นทุนลงได้กว่า 50% จากการเรียก เรือมาจากสิงคโปร์ พร้อมทีมชุดดำน้ำ ที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก คาดว่า จะสามารถให้บริการเชิงธุรกิจได้ไตรมาส 3 ปีหน้า
เมื่อเร็วๆนี้ ปตท.สผ.ยังได้เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน Abu Dhabi International Petroleum Exhibition & Conference (ADIPEC 2019) ณ กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ซึ่งเป็นงานนิทรรศการและการประชุมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่สุดระดับโลก ได้นำผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆไปจัดแสดง
ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป เออาร์วี กล่าวว่า หุ่นยนต์ หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย(IAUV) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบอุปกรณ์ใต้ทะเล ไม่จำเป็นต้องใช้เรือขนาดใหญ่ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 50% และยังช่วยลดความเสี่ยงในการทำงาน
โดย IAUV เป็นการพัฒนาระหว่าง “เออาร์วี” กับกลุ่มพันธมิตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และบริษัทเอกชน ขณะนี้อยู่ในขั้นการทดสอบการใช้งาน ซึ่งมีแผนจะนำไปให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ที่แหล่งบงกช ของ ปตท.สผ. ภายในปี 2563
ทั้งนี้ เออาร์วี ยังมองหาโอกาสการเติบโตนอกอุตสาหกรรม E&P เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ(โดรน) ที่นำไปใช้พัฒนาสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้กับแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อเสริมความสามารถของโดรน
“เออาร์วี ตั้งเป้าหมายในปี2563 จะมีรายได้เติบโตก้าวกระโดด จากปีนี้ คาดว่า จะมีรายได้ 5.29 ล้านดอลลาร์ ภายใต้งบประมาณที่บริษัทแม่ให้มา 3 ปีแรก(ปี2562-2564)ราว 1,600 ล้านบาท ขณะนี้ใช้ไปแล้วราว 20 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 600 ล้านบาท เพื่อผลักดันแผนงานสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
อย่างไรก็ตาม คาดว่า IAUV จะสามารถทำรายได้พอสมควร เนื่องจากการวางท่อฯในประเทศมีระยะทางที่ยาว และจะใช้กิจการของ ปตท.สผ.เป็นตลาดหลัก ก่อนขยายการเติบโตออกไปยังลูกค้ารายอื่น ขณะที่การจัดทำแอพพลิเคชั่นกับไทยคม ก็จะเริ่มมีรายได้เข้ามาในอนาคตด้วย
ธัชชัย เกษมวราพัชร นักวิเคราะห์ ปตท.สผ กล่าวว่า นวัตกรรมSampling PIG เป็นเทคโนโลยีการเก็บตัวอย่างพื้นผิวภายในของท่อส่งปิโตรเลียม โดยไม่ต้องอาศัยเรือสนับสนุน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 3 เท่า โดยSampling PIG ปตท.สผ.ได้พัฒนาร่วมกับบริษัท ดาคอน อินสเป็คชั่น เซอร์วิสเซส คาดว่าจะสามารถนำไปให้บริการเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทยได้ในปี 2564
ส่วนเทคโนโลยีElectromagnetics เป็นกระบวนการหนึ่งในการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ปตท.สผ. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผล ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งานในแหล่งผลิตปิโตรเลียมบนบก ที่แหล่งสิริกิตติ์ และมีแผนจะใช้กับแหล่งสินภูฮ่อม ในปีหน้า
พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ วิศวกร Technology Incubation แผนกเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่น ปตท.สผ. กล่าวว่า อุปกรณ์ดูดซับสารประกอบในคอนเดนเสท(ทูสแลม) ปตท.สผ.เป็นผู้พัฒนาเอง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถเปลี่ยนตัวดูดซับที่ใช้งานแล้วได้อย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องหยุดกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้ช่วยประหยัดเวลาและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน