ธปท.ถก‘นอนแบงก์-นาโนไฟแนนซ์'คุมภาระหนี้ต่อรายได้

ธปท.ถก‘นอนแบงก์-นาโนไฟแนนซ์'คุมภาระหนี้ต่อรายได้

ธปท.เดินสายคุยนอนแบงก์-ธุรกิจสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ขอความร่วมมือใช้เกณฑ์ภาระหนี้ต่อรายได้ปล่อยกู้ หวังคุมหนี้เสียนาโนไฟแนนซ์

นายธาริฑธิ์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะทยอยหารือกับผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)เพื่อขอความร่วมมือในการปล่อยสินเชื่อประเภทสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ให้พิจารณาเรื่องภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR)ประกอบด้วย เหมือนกับอดีตที่เคยขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการสินเชื่อเช่าซื้อ(ลิสซิ่ง)

"หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)นาโนไฟแนนซ์เป็นธรรมชาติที่จะสูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่น อย่างไรก็ตามการเข้าไปดูแล อาจต้องเข้าไปดูผ่านดีเอสอาร์ให้อยู่ในกรอบที่บริหารจัดการได้ธปท.ได้พูดคุยกับธนาคารพาณิชย์ไปแล้วระยะถัดไปจะทยอยคุยเพิ่มเติมกับนอนแบงก์บางรายได้เริ่มพูดคุยไปบ้างการเข้าไปดูแลสินเชื่อประเภทนี้อาจต้องขอดูสินเชื่อ ดูสถานการณ์ และดูตัวเลขจริงเพราะหากยังไม่เห็นตัวเลขจริง การกำกับอาจทำไม่ได้รอบคอบ”

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงาน ดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ของกรุงศรีคอนซูเมอร์ ภายใต้แบรนด์ “สินเชื่อเถ้าแก่ทันใจ” บริษัทได้หยุดการปล่อยกู้ใหม่แล้วอยู่ระหว่างการทำแผนเพื่อกลับมาเดินหน้าภายในต้นปี 2563เป็นการปล่อยกู้บนฐานข้อมูลหรือInformation based Lendingเช่น การจับมือกับพันธมิตรอย่างโฮมโปร เมกะโฮม ผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในมือค่อนข้างมาก และใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพ

โมเดลทางธุรกิจใหม่ จะทำให้สามารถเห็นความเสี่ยงจากการทำธุรกิจทำให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ดีขึ้นช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการลงได้มาก หากเทียบกับโมเดลเดิม ที่เน้นปล่อยกู้พ่อค้าแม่ค้าเป็นหลัก และใช้คนจำนวนมากในการติดตามธุรกิจ ยอดขาย การเก็บหนี้ทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง

หากเอ็นพีแอลของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ปัจจุบันยังอยู่ระดับสูง ราว 6-7% เนื่องจากบริษัทได้หยุดการปล่อยกู้ใหม่กับลูกค้าใหม่ไปแล้ว ทำให้เอ็นพีแอลปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสินเชื่อที่ลดลง ดังนั้นเชื่อว่า หากบริษัทเริ่มกลับมาปล่อยสินเชื่อเอ็นพีแอลจะลดลงตามธรรมชาติได้ และด้วยวิธีการปล่อยกู้ และวิธีการเข้าถึงลูกค้ารูปแบบใหม่ จะทำให้บริษัทสามารถคุมเอ็นพีแอลได้ดีขึ้นโดยในปี 2563 บริษัทอยากเห็นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าของพันธมิตรแต่ละราย 100-200 ล้านบาทหรือคิดเป็นยอดการปล่อยสินเชื่อรวมราว 300-500 ล้านบาท

นายธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด กล่าวว่า ในระยะข้างหน้า บริษัทมีแผนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย หรือนาโนไฟแนนซ์ด้วย ผ่านช่องทางไลน์ หลังจากได้ขออนุญาตจากธปท.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทไม่ได้กลัวความเสี่ยง ในการเข้าไปปล่อยกู้ในสินเชื่อประเภทนี้เบื้องต้นก่อนเข้าไปปล่อยกู้จะใช้ AIเรียนรู้ลูกค้าแต่ละกลุ่มก่อน เพื่อให้บริษัทเห็นความเสี่ยง เห็นความต้องการลูกค้า เพื่อให้สามารถจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างแม่นยำ

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงาน ดิจิทัลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ของกรุงศรีคอนซูเมอร์ ภายใต้แบรนด์ “สินเชื่อเถ้าแก่ทันใจ” บริษัทได้หยุดการปล่อยกู้ใหม่แล้วอยู่ระหว่างการทำแผนเพื่อกลับมาเดินหน้าภายในต้นปี 2563เป็นการปล่อยกู้บนฐานข้อมูลหรือInformation based Lendingเช่น การจับมือกับพันธมิตรอย่างโฮมโปร เมกะโฮม ผู้ประกอบการรายย่อยอื่นๆ ที่มีฐานลูกค้าอยู่ในมือค่อนข้างมาก และใช้ฐานข้อมูลเหล่านี้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการรายย่อยที่มีศักยภาพ

โมเดลทางธุรกิจใหม่ จะทำให้สามารถเห็นความเสี่ยงจากการทำธุรกิจทำให้สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ดีขึ้นช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการลงได้มาก หากเทียบกับโมเดลเดิม ที่เน้นปล่อยกู้พ่อค้าแม่ค้าเป็นหลัก และใช้คนจำนวนมากในการติดตามธุรกิจ ยอดขาย การเก็บหนี้ทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง

หากเอ็นพีแอลของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ปัจจุบันยังอยู่ระดับสูง ราว 6-7% เนื่องจากบริษัทได้หยุดการปล่อยกู้ใหม่กับลูกค้าใหม่ไปแล้ว ทำให้เอ็นพีแอลปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสินเชื่อที่ลดลง ดังนั้นเชื่อว่า หากบริษัทเริ่มกลับมาปล่อยสินเชื่อเอ็นพีแอลจะลดลงตามธรรมชาติได้ และด้วยวิธีการปล่อยกู้ และวิธีการเข้าถึงลูกค้ารูปแบบใหม่ จะทำให้บริษัทสามารถคุมเอ็นพีแอลได้ดีขึ้นโดยในปี 2563 บริษัทอยากเห็นการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าของพันธมิตรแต่ละราย 100-200 ล้านบาทหรือคิดเป็นยอดการปล่อยสินเชื่อรวมราว 300-500 ล้านบาท

นายธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด กล่าวว่า ในระยะข้างหน้า บริษัทมีแผนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายย่อย หรือนาโนไฟแนนซ์ด้วย ผ่านช่องทางไลน์ หลังจากได้ขออนุญาตจากธปท.เรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทไม่ได้กลัวความเสี่ยง ในการเข้าไปปล่อยกู้ในสินเชื่อประเภทนี้เบื้องต้นก่อนเข้าไปปล่อยกู้จะใช้ AIเรียนรู้ลูกค้าแต่ละกลุ่มก่อน เพื่อให้บริษัทเห็นความเสี่ยง เห็นความต้องการลูกค้า เพื่อให้สามารถจับพฤติกรรมของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างแม่นยำ